อยากวางแผนครอบครัว ต้องติดต่อโรงพยาบาลรัฐอย่างไร

การ ‘วางแผนครอบครัว’ หลายคนมักเข้าใจผิดว่าหมายถึงการคุมกำเนิด แต่ความจริงแล้วความหมายของคำนี้นั้นกว้างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความพร้อมในการมีลูก อยากมีลูกกี่คน อายุห่างกันเท่าไร การวางแผนคุมกำเนิด รวมถึงการทำแท้งก็รวมอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน เพื่อให้ทุกครอบครัวมีความพร้อมในการดูแลสมาชิกตัวน้อย ช่วยให้ครอบครัวมีความพร้อมในการดูแล อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่สามารถอบรมและแชร์เรื่องการศึกษา เพื่อให้ลูกน้อยร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีสุขภาพจิตที่ดี การวางแผนครอบครัวนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งกับตัวคุณพ่อและคุณแม่เอง

หน่วยวางแผนครอบครัว โรงพยาบาลรัฐ ให้บริการอะไรบ้าง

  1.  ให้บริการวิธีคุมกำเนิดชั่วคราว
  2. ให้บริการวิธีคุมกำเนิดถาวร
  3. ให้บริการคุมกำเนินแก่สตรีกลุ่มเสี่ยง

หากใครที่ต้องการเข้ามารับคำปรึกษา สามารถเข้ามารับการวางแผนครอบครัวได้ในเวลาข้าราชการตั้งแต่  วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา ระหว่าง 08.30 ถึง 16.30 น. ของวันทำการยกเว้น วันหยุดราชการ”

หน่วยวางแผนครอบครัว โรงพยาบาลรัฐ ให้บริการอะไรบ้าง

หน่วยวางแผนครอบครัวถูกแบ่งออกมาเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ นั่นก็คือ




1. ให้บริการวิธีคุมกำเนิดชั่วคราว

โดยจะถูกแบ่งออกมาดังนี้ คือ

  • แบบใช้ฮอร์โมน ได้แก่ ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน, ยาฉีดคุมกำเนิด, ยาคุมแผ่นแปะ, ยาฝังคุมกำเนิด
  • แบบไม่ใช้ฮอร์โมน ได้แก่ ถุงยางอนามัย, ห่วงคุมกำเนิด

ซึ่งการเลือกใช้งานก็ขึ้นอยู่กับตัวเราเองด้วยเช่นเดียวกันว่าต้องการเข้ารับการคุมกำเนินในรูปแบบไหน ผลดีและเสียของทั้งสองวิธีก็แตกต่างกันออกไปตามรายบุคคล บางคนเองก็มีอาการแพ้ ต้องเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการคุมกำเนินแบบชั่วคราวให้เหมาะสมกับร่างกาย

2. ให้บริการวิธีคุมกำเนิดถาวร ที่เราเรียกกันว่าการทำหมัน

กรณีที่ต้องการคุมกำเนินในรูปแบบนี้ต้องมีปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง อาจจะเป็นเรื่องของการมีบุตร ในกรณีที่ยังไม่มีบุตรมาก่อน จะเป็นการแนะนำการคุมกำเนิดที่เหมาะสม และการวางแผนครอบครัวในอนาคต การทำหมันเหมาะสำหรับบุคคลที่เคยมีบุตรมาก่อนหน้านี้แล้ว บางครั้งการทำหมันผู้หญิงอาจเกิดจากกรณีฉุกเฉินที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ยกตัวอย่างเช่น ตกเลือดหลังคลอดบุตรและไม่สามารถควบคุมให้เลือดหยุดได้ด้วยวิธีอื่น, มดลูกหย่อน, เนื้องอกของรังไข่, เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่, โรคของมดลูก เป็นต้น




3. ให้บริการคุมกำเนิดแก่สตรีกลุ่มเสี่ยง

กรณีพิเศษสำหรับกลุ่มที่ไม่เหมาะแก่การตั้งครรภ์ เช่น ผู้มีโรคประจำตัว มีโรคเรื้อรัง ไม่สามารถมีบุตรได้ ยกตัวอย่าง โรคหัวใจ, โรคลมบ้าหมูหรือลมชัก, โรคไต, โรคเบาหวาน, โรคหัดเยอรมัน, โรคซิฟิลิส, โรคเอดส์, ภูมิแพ้ หอบหืด, โรคธาลัสซีเมีย และไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น

หากใครที่อยู่ในกลุ่มโรคเสี่ยงเหล่านี้ หากต้องการตั้งครรภ์ หรือบังเอิญตั้งครรภ์ขึ้นมาต้องเข้ามาปรึกษาแพทย์อย่างเคร่งครัด พยายามมาให้เร็วมากที่สุดเมื่อรู้ตัวเองตั้งครรภ์อยู่ เพื่อเลือกวางแผนตามความเหมาะสมให้ปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูกน้อย การวางแผนยังช่วยเพิ่มโอกาสให้ลูกน้อยคลอดออกมาได้สมบูรณ์แข็งแรงมากขึ้น แถมในช่วงนี้ยังสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ได้อีกด้วย




กลับไปที่หัวข้อ

ดูบทความที่เกี่ยวข้อง

This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.