โรคเบาหวาน การที่ร่างกายของเรานั้นมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติอย่างต่อเนื่องอย่างเรื้อรัง เพราะว่าร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่รับมาออกมาใช้เป็นพลังงานได้ปกติ นี่เลยเป็นสาเหตุที่ทำให้ระดับน้ำตาลสูงนั่นเอง สำหรับใครที่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคเบาหวาน และกำลังศึกษาเรื่องโปรตีนหรือแหล่งอาหารที่ควรเลี่ยงอยู่ สามารถอ่านตามข้อมูลด้านล่างนี้ได้เลย
2HEALTHY ครบทุกเรื่องสุขภาพ
สารบัญ
- ตรวจเช็คเบาหวานด้วยตัวเองเบื้องต้น
- 2 กลุ่มอาหารของคนเป็นเบาหวานที่ต้องรู้
- -กลุ่ม อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อเป็นเบาหวาน
- -กลุ่มอาหารที่เหมาะสมผู้ป่วยเบาหวาน
- ประโยชน์ของการรู้จัก อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อเป็นเบาหวาน
ตรวจเช็คเบาหวานด้วยตัวเองเบื้องต้น
- หิวน้ำบ่อย เหมือนดื่มเท่าไหร่ก็ปัสสาวะออกมาหมด
- ช่วงกลางคืนต้องลุกไปปัสสาวะบ่อย จนผิดปกติ
- รู้สึกเหนื่อยง่าย ร่างกายอ่อนเพลีย
- สำหรับผู้หญิงจะมีอาการคันบริเวณช่องคลอดหรือขาหนีบ รวมด้วยกับอาการอื่น
- นัดตรวจเลือดกับทางคลินิกใกล้บ้าน ได้ผลสรุปที่ชัดเจนและแน่นอนกว่า (ก่อนเข้ารับการเจาะเลือด ต้องทำการงดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง )
การทานอาหารเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากสำหรับทุกคน แต่เนื่องจากโรคเบาหวานทำให้หลายคนเองต้องปรับพฤติกรรมการกิน ควรเชื่อฟังคำแนะนำจากทางแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้การรักษาคงที่และดีมากขึ้น ไม่ควรหยุดยาเอง พยายามทานยาให้ตรงเวลาที่สุด ในกรณีที่ลืมทานยา ให้ทานทันทีหลังจากที่นึกออก งดการเพิ่มปริมาณยาในรอบถัดไป
2 กลุ่มอาหารของคนเป็นเบาหวานที่ต้องรู้
เนื้อจากอาหารที่เราทานมีส่วนผสมที่ค่อนข้างหลากหลาย เลยถูกแบ่งแยกประเภทออกมาเพื่อทำให้แบ่งกลุ่มที่ควรทานกับไม่ทานได้ง่ายขึ้น หรือแม้แต่กลุ่มที่ทานได้ แต่ต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมก็มี
1.กลุ่ม อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อเป็นเบาหวาน
ส่วนใหญ่จะเป็นพวกที่ทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้น
1.1.แป้งที่ผ่านการแปรรูปมาแล้วทุกชนิด
สามารถทานได้นิดหน่อยแค่หายอยาก แต่จะให้ทานเป็นมื้อหลักไม่ขอแนะนำ
- ข้าวขาว
- ขนมปังขาว
- พาสต้าสีขาว
- ซีเรียลบางอย่าง
- แครกเกอร์บ้าง
- ขนมอบมากมาย
1.2.น้ำตาล อาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ
ถึงจะทำให้รสชาติอาหารหรือเครื่องดื่มกลมกล่อมมากขึ้น แต่ก็ได้รับคุณค่าทางโภชนาการน้อยมาก อาจทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นได้ อาหารที่มักมีน้ำตาลสูง ได้แก่ ขนมอบ เช่น โดนัท ครัวซองต์ เค้ก และคุกกี้ รวมทั้งแป้งพิซซ่า แหล่งน้ำตาลอื่นๆ ที่ควรงด
- ซอสและเครื่องปรุงรสที่มีส่วนผสมของน้ำตาล
- น้ำหวานและสารให้ความหวานอื่น ๆ
- น้ำตาลอ้อย น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลก้อน น้ำผึ้ง
- น้ำเชื่อมเมเปิ้ลและน้ำเชื่อมอื่นๆ
- ลูกอม
- โยเกิร์ตรสผลไม้สำเร็จรูป
- เครื่องดื่มที่มีรสหวาน นมหวาน น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำผลไม้ผสมน้ำตาล เครื่องดื่มชูกำลัง รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ผลไม้เชื่อม กวน ดอง แช่อิ่ม ตากแห้ง อบน้ำผึ้ง รวมทั้งผลไม้กระป๋อง
1.3. กลุ่มอาหาร ผลไม้แปรรูป
มีรสชาติที่ค่อนข้างจัด ไม่หนักไปทางหวานก็ออกไปทางเค็ม น้ำตาลสูงมาก ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน
- อาหารตากแห้ง
- อาหารรสเค็มจัด
- อาหารบรรจุกระป๋องหรือถุง เช่น เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ ปลาร้า ผักดอง
นอกจากนี้แล้วสำหรับคนที่เป็นโรค เบาหวานห้ามกินผลไม้อะไร นั้นก็มีดังนี้ องุ่น แตงโม สัปปะรด ทุเรียน หล้วย มะม่วง ขนุน ลำไย รวมถึงผลไม้อื่นๆ ที่มีรสหวานจัดด้วย
2.กลุ่มอาหารที่เหมาะสมผู้ป่วยเบาหวาน
ส่วนใหญ่นั้นจะอยู่ในหมวดอาหารที่มีสารอาหารดีต่อสุขภาพ ไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ที่สำคัญควรทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่ทานจุกจิก เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสวิงบ่อยเกินไปในช่วงระหว่างวันมากเกิน
2.1 กลุ่มผลไม้ (ปริมาณที่เหมาะสมคือ 3–4 ส่วน/วัน)
จะเป็นกลุ่มที่มีน้ำตาลน้อยอย่าง ฝรั่ง แอปเปิ้ล ส้มเขียวหวาน ส้มโอ ชมพู่ มะละกอ เป็นต้น จัดอยู่ในกลุ่มที่ให้ความหวานน้อย แต่ให้กากใยสูง
2.2 กลุ่มพืชผักต่างๆ
จัดอยู่ในกลุ่มที่ให้ความหวานน้อยแต่มีกากใยสูง ผักที่แนะนำคือ ผักกาด ผักตระกูลถั่ว ผักบุ้ง ผักคะน้า เป็นต้น
2.3 กลุ่มนม (ปริมาณที่เหมาะสมคือ 1–2 แก้ว/วัน (ปริมาณ 250 ซีซี)
สามารถดื่มได้ทุกอย่างแต่ต้องแบบที่ไม่มีน้ำตาล ไม่ว่าจะเป็น นมขาดมันเนย นมถั่วเหลือง นมรสจืด นมพร่องมันเนย
2.4 กลุ่มเนื้อสัตว์ต่างๆ (ปริมาณที่เหมาะสมคือ 12 ช้อนโต๊ะ/วัน )
จะเป็นกลุ่มเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน เนื้อปลา เนื้อไก่ ไม่หนัง เป็นต้น
2.5 กลุ่มข้าว แป้ง และธัญพืช (ปริมาณที่เหมาะสมคือ 8–9 ทัพพี/วัน)
งดการรับประทานข้าวขาว ให้เปลี่ยนมาทานข้าวกล่อง หรือพวกธัญพืช ที่ไม่ผ่านการขัดสีแทน
2.6 กลุ่มไขมัน (ปริมาณที่เหมาะสมคือไม่เกิน 6-7 ช้อนชา/วัน)
สามารถเลือกทานอาหารที่ทำมาจากกลุ่มน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด หรือน้ำมันรำข้าวได้
ประโยชน์ของการรู้จัก อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อเป็นเบาหวาน
การที่เราเป็นเบาหวานใช่ว่าจะไม่สามารถทานอาหารที่ชอบได้เลย เพียงแค่เป็นการปรับเปลี่ยนวิธีการทานเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนของหวานที่ชอบทานก็ยังสามารถทานได้อยู่ เพียงทานให้น้อยลง ไม่ทานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การรักษาออกมาดีที่สุด การออกกำลังกายเบาๆ ในช่วงเช้า ก็สามารถช่วยลดอาการแทรกซ้อนอย่างโรคอ้วน โรคหัวใจ ได้เช่นเดียวกัน