เมื่อเจ็บป่วยย่อมต้องมีการลางานเป็นธรรมดา ซึ่งการลาป่วยถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ตัวลูกจ้างเองต้องได้รับอยู่แล้ว ถ้าหากคุณแค่ลาป่วยไม่เกิน 3 วันนั้นไม่จำเป็นต้องใช้ใบรับรองแพทย์ก็ได้ แต่ถ้าหากใครที่ลาป่วยเกินนี้จะต้องมีใบรับรองแพทย์ลาป่วยพร้อมเพื่อแจ้งแก่หัวหน้างานนะ ใบรับรองแพทย์ลาป่วยนอกจากโรงพยาบาลแล้ว คลินิกก็ออกให้ได้เช่นกัน แต่ไม่ว่าคุณจะขอใบรับรองแพทย์จากที่ไหนก็ควรให้แพทย์ตรงตามจริง
ไม่สบาย รักษาคลินิกสะดวกยังไง
สารบัญ
- ใบรับรองแพทย์ลาป่วย ขอที่ไหนได้บ้าง
- ใบรับรองแพทย์ลาป่วย ซื้อได้ไหม
- ใบรับรองแพทย์ลาป่วย ใช้ได้กี่วัน
- ใบรับรองแพทย์ลาป่วยที่ถูกต้อง
- ถ้าไม่มีใบรับรองแพทย์ลาป่วย ลูกจ้างจะถูกหักเงินหรือไม่
ใบรับรองแพทย์ลาป่วย ขอที่ไหนได้บ้าง
การขอใบรับรองแพทย์ลาป่วยสามารถขอได้จากหลายที่ โดยสถานที่ๆทำการออกใบรับรองแพทย์ลาป่วยนั้นจะต้องเป็นสถานพยาบาล เช่น คลินิก โรงพยาบาล โดยการออกใบรับรองแพทย์จะต้องมีแพทย์เป็นผู้รับรอง แต่ก็มีบางกรณีที่คุณไปขอใบรับรองแพทย์ลาป่วยที่หน่วยงานรัฐ บางครั้งผู้รับรองอาจเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขเป็นผู้รับรองให้แทน
ใบรับรองแพทย์ลาป่วย ซื้อได้ไหม
โดยปกติใบรับรองแพทย์ลาป่วยสามารถซื้อได้ โดยคุณจะได้รับเมื่อคุณไปพบแพทย์และการเข้ารับการตรวจกับแพทย์ที่สถานพยาบาล โดยหลังรับการตรวจเสร็จคุณจะสามารถขอใบรับรองแพทย์สถานพยาบาลที่เข้าตรวจได้ โดยที่เอกสารใบรับรองแพทย์นั้นจะต้องมีแพทย์เป็นผู้รับรอง แต่หากคุณไม่ได้ป่วยจริงแต่ซื้อใบรับรองแพทย์เพื่อลาป่วย หากนายจ้างตรวจพบคุรมีสิทธิเลิกจ้างได้ด้วยนะ ใครที่จะซื้อใบรับรองแพทย์ลาป่วยคิดดีๆก่อนนะ อาจได้ลาไปนั่งตบยุงที่บ้านแทน
ใบรับรองแพทย์ลาป่วย ใช้ได้กี่วัน
ระยะเวลาของใบรับรองแพทย์ลาป่วยไม่มีระยะเวลาที่ตายตัว สามารถใช้ส่งย้อนหลังได้โดยที่วันที่ในใบรับรองแพทย์จะต้องตรงตามวันเวลาจริงที่คุณพบแพทย์ แต่โดยปกติแล้วหากลาป่วย ไม่เกิน 3 วัน ไม่จำเป็นต้องใช้ใบรับรองแพทย์ลาป่วยก็ได้นะ
รู้หรือไม่? ลาป่วยแบบไหนต้องใช้ใบรับรองแพทย์?
ใบรับรองแพทย์ลาป่วยที่ถูกต้อง
องค์ประกอบของข้อมูลภายในใบรับรองแพทย์ลาป่วย จำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลของผู้ป่วย ผู้ออกใบรับรองแพทย์ และสถานที่ออกใบรับรองแพทย์ลาป่วยอย่างถูกต้องและครบถ้วน โดยข้อมูลที่จำเป็นต้องระบุภายในใบรับรองแพทย์ ได้แก่
- ชื่อ-นามสกุล ข้อมูลการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทย์ผู้ออกใบรับรองแพทย์ลาป่วย และช่องทางการติดต่อแพทย์ เพื่อสร้างความน่าเชื่อ
- ชื่อ-นามสกุล ผู้ป่วยที่ต้องการขอใบรับรองแพทย์ลาป่วย
- ระบุวันและเวลา ที่ผู้ป่วยเข้ามารับบริการตรวจและรับใบรับรองแพทย์ ซึ่งถ้าหากเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ในใบรับรองแพทย์จะมีการระบุวันเวลาตั้งแต่วันแรกที่รับการรักษาจนถึงวันที่ออกจากโรงพยาบาล หรือบางครั้งแพทยือาจมีการระบุระยะเวลาที่ผู้ป่วยควรหยุดพักเพื่อรักษาตัว
- ระบุอาการป่วย ที่ผ่านการวินิจฉัยโดยแพทย์ และผลการทดสอบทางการแพทย์อื่นๆ เช่น ผลการตรวจเลือด พร้อมระบุว่าผู้ป่วยสามารถกลับมาทำงานได้หรือไม่
- ลายเซ็นชื่อลงนามของแพทย์ผู้ตรวจ และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ เพื่อยืนยันว่าใบรับรองแพทย์ลาป่วยนี้เป็นจริงและถูกต้อง
ถ้าไม่มีใบรับรองแพทย์ลาป่วย จะถูกหักเงินหรือไม่
กรณีที่คุณมีอาการเจ็บป่วยจริง แต่ไม่สามารถไปพบแพทย์เพื่อขอใบรับรองแพทย์ลาป่วยมาใช้ในยืนยันอาการป่วยได้ คุณจำเป็นที่จะต้องมีหลักฐานอื่นๆมาใช้ยืนยันแทนใบรับรองแพทย์ลาป่วย เพื่อเป็นการแจ้งให้ทางนายจ้างทราบว่าคุณมีอาการป่วยจริง เช่น การถ่ายฉลากยา ใบเสร็จยา หรือถ่ายอาการป่วยของคุณเป็นหลักฐาน เป็นต้น โดยหากใน 1 ปี ลูกจ้างลาป่วยไม่เกิน 30 วัน มีสิทธิที่จะไม่ถูกหักค่าแรง แต่ถ้าหากตัวลูกจ้างมีการลาป่วยเกินจำนวนวันที่กล่าวมา นายจ้างมีสิทธิหักเงินลูกจ้างได้ (สามารถศึกษาสิทธิลูกจ้างและนายจ้างได้ที่ E-labour บริการประชาชน)
สรุป
หากเจ็บป่วยหรือไม่สบายต้องการใบรับรองแพทย์ลาป่วยสามารถขอที่คลินิกได้ โดยคลินิกที่ออกให้ควรออกใบรับรองแพทย์ตามอาการป่วยจริง และคุณสามารถซื้อใบรับรองแพทย์ลาป่วยได้โดยเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ หากป่วยไม่เกิน 3 วันไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ได้ ส่วนใครที่มีใบรับรองแพทย์ควรเช็คด้วยว่าสถานบริการที่รับบริการใส่ข้อมูลให้คุณถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ หากใครลาป่วยเกิน 3 วัน แล้วไม่มีใบรับรองแพทย์สามารถใช้หลักฐานอื่นๆยืนยันนายจ้างว่าป่วยจริงได้ โดยนายจ้างมีโอกาสหักเงินคุณก็ต่อเมื่อมีการหยุดเกิน 30 วันใน 1 ปี