ทำไมถึงต้องกินยาเป็ปภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีความเสี่ยง
การมีเพศสัมพันธ์ หรือความรู้เกี่ยวกับสุขอนามัยทางเพศต่าง ๆ เป็นเรื่องสามารถพูดคุยได้อย่างปกติแล้วในปัจจุบัน เนื่องจากความรู้เกี่ยวกับเพศสัมพันธ์และสุขศึกษา คือความรู้ที่ช่วยดูแลสุขภาพร่างกายได้อีกทางหนึ่ง อีกทั้งการใช้วิธีต่าง ๆ เพื่อการคุมกำเนิดหรือป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น การใช้ถุงยางอนามัย หรือการกินยาเป็ป ก็สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีความเข้าใจผิด ๆ และหลายคนยังลองผิดลองถูกด้วยตัวเองเพราะไม่กล้าปรึกษาใคร
ยาเป็บคืออะไร ป้องกันความเสี่ยงในด้านใด
ยาเป็บ (PEP) คือยาสำหรับต้านเชื้อไวรัสที่เรียกว่า HIV หรือไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์นั่นเอง ผู้ที่มีพฤติกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น มีไลฟ์สไตล์การมีเพศสัมพันธ์แบบชั่วครั้งชั่วคราว เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ ผู้ประกอบอาชีพขายบริการทางเพศ หรือในกลุ่มคนรักร่วมเพศที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก คือกลุ่มเสี่ยงที่ควรป้องกันตนเอง หากมีความเสี่ยงแล้วก็ต้องกินยาเป็บภายใน 72 ชั่วโมง ต่างจากยาเพร็พ (PrEP) ที่เป็นยาสำหรับกินก่อนจะมีความเสี่ยง ยาเพร็พมีประสิทธิภาพสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้มีความเสี่ยงได้รับเชื้อมาแล้วเท่านั้น แต่ยาเป็บ (PEP) คือยาป้องกันความเสี่ยงแบบฉุกเฉินหลังจากมีเพศสัมพันธ์ไปโดยไม่ได้ป้องกันนั่นเอง
การกินยาเป็บอย่างถูกต้อง แม้มีความเสี่ยงไปแล้วภายใน 72 ชั่วโมง
ยาเป็บ เป็นยาที่ปลอดภัยต่อร่างกาย แต่อาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นบ้าง เช่น อาการคลื่นไส้ ปวดหัว ปวดท้อง เป็นต้น แต่เมื่อผ่านไปประมาณ 1 สัปดาห์ อาการผลข้างเคียงต่าง ๆ จะลดลง และควรกินภายใน 72 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่ายาเป็บจะช่วยป้องกันได้ 100% แต่เป็นการช่วยยับยั้งเพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจายมากขึ้น ฉะนั้น ยิ่งกินได้เร็วหลังจากรับความเสี่ยงเท่าไร ยิ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าการปล่อยเวลาจนใกล้ครบกำหนด 72 ชั่วโมง
หากมีความเสี่ยงจากเชื้อ HIV ไปแล้ว ไม่ว่าจะจากพฤติกรรมใดก็ตาม ให้รีบรับประกินยาเป็บทันทีภายใน 72 ชั่วโมง หรือภายใน 3 วัน เป็นวิธีป้องกันการติดเชื้ออย่างฉุกเฉิน คล้าย ๆ กับกรณีการกินยาคุมฉุกเฉินหลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันนั่นเอง โดยต้องกินยาต่อเนื่องทุกวันเป็นระยะเวลา 28 วัน และต้องกินยาตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอด้วย โดยการรับยาเป็บนั้นจะต้องทำการตรวจเลือดกับแพทย์ก่อน แล้วแพทย์จะวินิจฉัยการจ่ายยาให้ตามความเหมาะสมของแต่ละคน และจะมีการทำนัดพบแพทย์เพื่อติดตามอาการผ่านการตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ
หากยังไม่มีความเสี่ยงใด ๆ การป้องกันไว้ก่อนย่อมดีที่สุด และยาเป็บนั้นไม่ใช่ยาที่จะหาซื้อมากินเองได้ ต้องเป็นยาที่ได้รับจากสถานพยาบาลที่น่าเชื่อถือเท่านั้น ก่อนการเข้ารับยาเป็บกับแพทย์ ควรงดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างน้อย 21 วัน อาจตรวจเลือดก่อนแล้วนำผลเลือดมาให้แพทย์ดูด้วย เพื่อให้แพทย์ตัดสินใจว่ายาเป็บแบบใด หรือวิธีการกินยาแบบใดที่เหมาะกับคุณ หลังจากได้รับยาแล้วให้กินยาอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์ และกลับไปรับยากับแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด
บทความน่าสนใจ
ยาเพร็พ PrEP ป้องกันเอชไอวี HIV ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาเพร็พ PrEP
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง