การคลอดบุตรเป็นช่วงเวลาสำคัญในชีวิตของคุณแม่และครอบครัว ซึ่งมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูงไม่น้อย ดีที่ประเทศไทยมีระบบประกันสังคมที่ช่วยแบ่งเบาภาระเหล่านี้ได้ บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ สิทธิประกันสังคมคนท้อง ในกรณีคลอดบุตร ครอบคลุมตั้งแต่ ค่าคลอดลูก เงินชดเชยการลาคลอด ไปจนถึงเงินสงเคราะห์บุตร
ประเภทของผู้ประกันตนและสิทธิในการเบิกค่าคลอด
ผู้ประกันตนในระบบ ประกันสังคม แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้
มาตรา 33: ลูกจ้างในสถานประกอบการที่มีนายจ้าง
มาตรา 39: ผู้ที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และสมัครต่อเนื่องหลังลาออกจากงาน
มาตรา 40: ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่สมัครเข้าระบบประกันสังคมเอง
สิทธิประโยชน์จากประกันสังคมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
ผู้ประกันตนที่อยู่ในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 และ 39 จะได้รับสิทธิพิเศษตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ซึ่งรวมถึง การเบิกค่าฝากครรภ์ ได้ตามเกณฑ์ที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด บริการตรวจสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ เช่น อัลตราซาวด์ การตรวจเลือด และการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามระยะครรภ์ โดยสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ที่โรงพยาบาลตามสิทธิ์ หรือโรงพยาบาลรัฐอื่น ๆ ได้ตามความจำเป็น ส่วนมาตรา 40 ยังไม่มีสิทธิเหล่านี้ในปัจจุบัน
การเบิกค่าฝากครรภ์: คุณแม่สามารถเบิกค่าตรวจครรภ์ได้ตามเกณฑ์ที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด โดยต้องฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์เพื่อให้ได้สิทธิ์เต็มจำนวน
ค่าคลอดลูก: เบิกได้เท่าไร?
ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 มีสิทธิได้รับเงิน ค่าคลอดลูก แบบเหมาจ่ายจำนวน 15,000 บาทต่อการคลอด 1 ครั้ง ผู้ประกันตนมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 (ส่งเงินสมทบ 300 บาทต่อเดือน) สามารถเบิก ค่าคลอดลูก เหมาจ่าย 5,000 บาทต่อครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการคลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด โดยสามารถคลอดที่โรงพยาบาลใดก็ได้ และทำเรื่องเบิกเงินภายหลังจากสำนักงาน ประกันสังคม
เงื่อนไขการใช้สิทธิ
ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร
ผู้ประกันตนมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายใน 36 เดือน ก่อนวันคลอด
ต้องคงสถานะผู้ประกันตนอยู่ในวันที่คลอด หรือสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนไม่เกิน 6 เดือน
ขั้นตอนการเบิกค่าคลอด
ผู้ประกันตนสามารถทำเรื่องเบิก ค่าคลอดลูก ได้โดยเตรียมเอกสาร ดังต่อไปนี่
-สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประกันตน
-สูติบัตรของบุตร
-ใบเสร็จรับเงิน ค่าคลอดลูก (หากสำรองจ่ายไปก่อน)
-ยื่นคำขอ ยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคมภายใน 2 ปีนับจากวันที่คลอดบุตร
เงินชดเชยการลาคลอด: รายได้ระหว่างพักฟื้น
นอกจาก ค่าคลอดลูก แล้ว ผู้ประกันตนหญิงยังมีสิทธิได้รับเงินชดเชยรายได้ระหว่างลาคลอดในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยย้อนหลัง 3 เดือนสุดท้ายก่อนลาคลอด โดยคิดจากฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน ซึ่งถือเป็นการช่วยเหลือในช่วงที่คุณแม่ต้องพักฟื้นและดูแลลูกแรกเกิดอย่างใกล้ชิด
เงินสงเคราะห์บุตร: สนับสนุนการเลี้ยงดู
หลังจากคลอดบุตรแล้ว นอกจาก ค่าคลอดลูก ที่เบิกได้ ประกันสังคมยังมีสวัสดิการ เงินสงเคราะห์บุตร ให้คุณแม่ได้รับเงิน 800 บาทต่อเดือน ต่อบุตร 1 คน จนถึงอายุ 6 ปี และสามารถรับได้สูงสุดไม่เกิน 3 คนในเวลาเดียวกัน
สิทธิของบุตรจากประกันสังคมในวัยเด็ก
หากบุตรของผู้ประกันตนยังอยู่ในช่วงวัยเด็ก บุตรก็มีสิทธิได้รับการดูแลสุขภาพพื้นฐานโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เช่น การรับวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ การตรวจสุขภาพและรักษาโรคทั่วไปที่โรงพยาบาลตามสิทธิ์ของบิดา มารดา เป็นต้น
สรุปเปรียบเทียบสิทธิประกันสังคมคนท้อง หรือคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์
สิทธิประกันสังคมคนท้อง มีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปตาม ประเภทของการเป็นผู้ประกันตน คือ มาตรา 33, มาตรา 39 และมาตรา 40 ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งในด้าน สิทธิประโยชน์ และ เงื่อนไขการรับสิทธิ ดังนี้
มาตรา 33: ลูกจ้างที่ทำงานในบริษัทเอกชนทั่วไป
-ผู้ประกันตนที่ทำงานในระบบบริษัท ห้างร้าน มีนายจ้างหักเงินส่งสมทบ
-สิทธิประกันสังคมคนท้องที่ได้รับ: ค่าฝากครรภ์: เบิกได้สูงสุด 1,500 บาท
-ค่าคลอดลูก: รับแบบเหมาจ่าย 15,000 บาท
-เงินชดเชยรายได้ระหว่างลาคลอด: ได้ 50% ของค่าจ้าง (สูงสุด 90 วัน)
-เงินสงเคราะห์บุตร: เดือนละ 800 บาทต่อบุตร 1 คน จนถึงอายุ 6 ปี (ไม่เกิน 3 คน)
-เงื่อนไข: ต้องส่งเงินสมทบอย่างน้อย 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนคลอด
มาตรา 39: อดีตลูกจ้างที่ลาออก แต่ยังส่งเงินสมทบต่อเอง
เหมาะสำหรับผู้ที่เคยทำงานประจำ และยังอยากใช้สิทธิประกันสังคมต่อ
-สิทธิคนท้องที่ได้รับ:ค่าฝากครรภ์: เบิกได้สูงสุด 1,500 บาท
-ค่าคลอดลูก: รับแบบเหมาจ่าย 15,000 บาท
-เงินสงเคราะห์บุตร: เดือนละ 800 บาทต่อบุตร 1 คน จนถึงอายุ 6 ปี (ไม่เกิน 3 คน)
-ไม่มีสิทธิรับเงินชดเชยรายได้ช่วงลาคลอด
-เงื่อนไข: ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 5 เดือนใน 15 เดือนก่อนคลอด
มาตรา 40: ผู้ประกอบอาชีพอิสระ แม่ค้า ฟรีแลนซ์
สามารถสมัครเองโดยไม่มีนายจ้าง โดยมี 3 ทางเลือกในการส่งเงินสมทบ
-สิทธิคนท้องที่ได้รับ:เฉพาะแผนทางเลือกที่ 3 (ส่ง 300 บาท/เดือน) เท่านั้น ที่มีสิทธิรับ ค่าคลอดลูก รับ 5,000 บาท ต่อการคลอด 1 ครั้ง
-เงินสงเคราะห์บุตร: ไม่มี
-เงื่อนไข: มาตรา 40 แบบ “ทางเลือกที่ 3” และส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 12 เดือนภายใน 36 เดือนก่อนคลอด
สรุป
สิทธิประโยชน์จากประกันสังคมในกรณีคลอดบุตรช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายสำหรับครอบครัว และส่งเสริมการเลี้ยงดูลูกอย่างมีคุณภาพ การรู้จักและใช้สิทธิเหล่านี้อย่างถูกต้องจะช่วยให้คุณแม่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากระบบ ประกันสังคม