ไทรอยด์ (Thyroid) เกิดจากอะไร หากไทรอยด์เป็นพิษแล้วอันตรายมั้ย

ไทรอยด์ เกิดจากอะไรหากไทรอยด์เป็นพิษแล้วอันตรายมั้ย

หลายคนที่กำลังอ่านบทความนี้น่าจะเคยได้ยินชื่อของโรคไทรอยด์กันมาบ้างแล้ว แต่อาจรู้จักแค่เพียงเล็กน้อย วันนี้ทูเฮลตี้เลย มัดเอาความรู้เกี่ยวกับโรคไทรอยด์มาให้อ่านกัน ไม่ว่าจะเป็นหน้าตาของไทรอยด์ หน้าที่ต่างๆ สาเหตุความผิดปกติของไทรอยด์อันตรายของไทรอยด์เป็นพิษ หรือเรื่องของคนท้องที่เป็นไทรอยด์ และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับอาหารการกิน เช่น ผักที่กินไม่ได้

สารบัญ

ต่อมไทรอยด์ คือ ต่อมอะไร
ต่อมไทรอยด์ คือ ต่อมอะไร

ต่อมไทรอยด์ คืออะไร?

ต่อมไทรอยด์ คือ อวัยวะส่วนหนึ่งภายในร่างกายของเรา ซึ่งเจ้าต่อมนี้จะมีรูปร่างหน้าตาที่คล้ายคลึงกับตัวผีเสื้อตัวเล็กๆที่กางปีกออก โดยไทรอยด์จะอยู่ปกคลุมบริเวณด้านหน้าของหลอดลม ต่อมไทรอยด์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของต่อมไร้ท่อ และคอยควบคุมระบบหลายอย่างในร่างกายของเรา ซึ่งหากที่บริเวณต่อมนี้ไม่มีอาการที่ผิดปกติ ก็มักจะคลำหาแล้วไม่เจอ




ต่อมไทรอยด์ หน้าที่

หน้าที่ของต่อมไทรอยด์ คือการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ โดยฮอร์โมนนี้มีส่วนสำคัญต่อการควบคุมทำงานของร่างกาย เมตาบอลิซึม รวมถึงการเจริญเติบโต หน้าที่หลักๆตามช่วงวัย เช่น

ในวัยเด็ก ฮอร์โมนไทรอยด์นั้นมีความสำคัญในการช่วยสร้างรวมไปถึงพัฒนาเซลล์สมองของเด็กเพื่อให้มีการเจริญเติบโต เจริญเติบโตของกระดูก ซึ่งมีส่วนสำคัญมากในช่วงที่ทารกยังอยู่ในครรภ์และในเด็กเล็ก

ในผู้ใหญ่ ฮอร์โมนไทรอยด์จะทำหน้าที่สำคัญในส่วนของการช่วยเผาผลาญพลังงาน ซึ่งที่ร่างกายของเราสามารถทำงานได้อย่างปกติก็เป็นเพราะเจ้าต่อมไทรอยด์ที่คอยช่วยนี่เอง

ภาพจำลองของต่อมไทรอยด์
ภาพจำลองของต่อมไทรอยด์

โรคไทรอยด์เกิดจากสาเหตุอะไร?

คนที่เป็นไทรอยด์นั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยจะมีตั้งแต่การเป็นไทรอยด์ผ่านการที่ส่งต่อทางพันธุกรรม รวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวันที่ส่งผลให้เกิดโรคไทรอยด์

causes of thyroid
สาเหตุของไทรอยด์
  • โรคไทรอยด์ส่งต่อผ่านพันธุกรรมได้อย่างไร?

มีความเป็นไปได้ว่าหากมีคนที่เป็นไทรอยด์ในครอบครัว อาจส่งผลให้คนภายในครอบครัวนั้นคนใดคนหนึงสามารถเป็นโรคไทรอยด์ได้เช่นกัน

  • โรคไทรอยด์ที่มากับสภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิต

มักพบในคนที่ขาดไอโอดีน แล้วไอโอดีนสำคัยกับต่อมไทรอยด์ยังไงล่ะ ไอโอดีนมีส่วนช่วยในการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งหากเกิดการขาดไอโอดีนก็มักส่งผลให้เกิดคอพอกรวมไปถึงเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ได้ง่ายมากขึ้นไปอีก ซึ่งผู้ที่มีภาวะขาดไอโอดีนมักเป็นเด็กที่เกิดในที่ๆอยู่ไกลจากทะเล

อาหารที่มีปริมาณไอโอดีนสูง สำหรับผู้เป็นไทรอยด์
อาหารที่มีปริมาณไอโอดีนสูง สำหรับผู้เป็นไทรอยด์

ไทรอยด์ อาการเป็นยังไง?

อาการของโรคไทรอยด์ ส่วนใหญ่มักทำให้บริเวณต่อมไทรอยด์มีขนาดที่โตขึ้น จนเราสามารถคลำ หรือมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพราะโดยปกติมักมองไม่เห็น โดยเจ้าก้อนนี้อาจจะขยายใหญ่เพียงก้อนเดียว หรือบางทีก็ขยายใหญ่ทั้งต่อมเลย

ส่วนอาการอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นได้ไทรอยด์ทำงานหนักมากเกินไป เช่น

  • รู้สึกหงุดหงิด กังวลใจ
  • มีอารมณ์แปรปรวน
  • นอนหลับยากขึ้น
  • สมาธิสั้น
  • รู้สึกเหนื่อยอยู่ตลอดเวลา
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ความต้องการทางเพศลดลง
  • ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ




ก้อนไทรอยด์ อยู่ตรงบริเวณไหน?

ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ ที่มีการขยายใหญ่ขึ้น จะมีลักษณะทั้งแบบเป็นก้อนเดียวๆเลย หรืออาจมีเยอะเป็นกลุ่มก้อน ซึ่งเราจะเรียกก้อนไทรอยด์เหล่านี้ว่า ‘คอพอก’ ก้อนที่ต่อมไทรอยด์สามารถเป็นได้ทั้งก้อนเนื้อและเป็นแบบถังน้ำเลย

การสำรวจว่าต่อมไทรอยด์อยู่บริเวณไหนด้วยตนเอง
การสำรวจว่าต่อมไทรอยด์อยู่บริเวณไหนด้วยตนเอง

สังเกตุต่อมไทรอยด์ด้วยตัวเองเพียง 4 สเต็ป

  1. นั่งตัวตรง หรือยืนตัวตรง บริเวณหน้ากระจก พยายามอย่าให้ตัวเอียงหรือบิดคอ
  2. มองเข้าไปที่กระจกที่บริเวณกึ่งกลางของลำคอ ที่อยู่คั่นกลางระหว่างไหปลาร้ากับลูกกระเดือก (บริเวณที่ต่อมไทรอยด์อยู่)
  3. ลองกลืนน้ำลายลงคอ หรือหากรู้สึกว่ามีอาการคอแห้งอาจดื่มน้ำช่วยเล็กน้อย วิธีนี้จะทำให้เราเห็นต่อมไทรอยด์ที่ชัดขึ้น ผ่านการเคลื่อนไหวขณะที่เรากำลังทำการกลืน
  4. ใช้มือคลำที่บริเวณกลางลำคอ และสังเกตุว่ามีก้อนไทรอยด์หรือคอพอกบริเวณนี้หรือไม่ หรือรู้สึกเจ็บขณะคลำบริเวณนี้ไหม  หากคลำไม่พบเท่ากับว่าไทรอยด์ยังปกติอยู่ หรือเพื่อความชัวร์อาจไปหาหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
4 steps เช็คต่อมไทรอยด์ด้วยตัวเอง
4 steps เช็คต่อมไทรอยด์ด้วยตัวเอง

ไทรอยด์เป็นพิษอันตรายไหม?

ไทรอยด์เป็นพิษ หรือ ไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroidism) คือ ภาวะความผิดปกติของฮอร์โมนไทรอยด์อย่างหนึ่ง โดยเกิดจาการฮอร์โมนไทรอยด์มีระดับที่สูงจนเกินไป ซึ่งภาวะนี้มักพบบ่อยในผู้หญิง อายุประมาณ 20 -40 ปี

ภาวะไทรอยด์เป็นพิษอันตรายไหม
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษอันตรายไหม

ไทรอยด์เป็นพิษเกิดจากอะไรได้บ้าง?

โดยส่วนใหญ่ผู้ที่พบภาวะไทรอยด์เป็นพิษมักมีสาเหตุดังนี้ ได้แก่ มีอาการอักเสบที่ไทรอยด์ ,รับประทายาบางชนิดที่มีฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไปหรือใช้ยาไม่ถูกวิธี ,มีคอพอกลักษณะเป็นก้อนร่วมกัยไทรอยด์เป็นพิษ, เป็นโรคเกรฟส์

อันตรายของไทรอยด์เป็นพิษ

หากคุณกำลังสงสัยว่าตัวเองเป็นผู้ที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ควรเข้ารับการตรวจและรักษา ดูก่อนเพราะเป้นโรคที่รักษาได้ และยังช่วยลดความเสี่ยงรุนแรงอื่นๆ อย่างหัวใจวาย หรืออาการขั้นโคม่า ปัญหาด้านสายตา(จากโรคเกรฟส์)

เกร็ดความรู้

โรคเกรฟส์ (Grave’s disease) คือ ภาวะความผิดปกติที่บริเวณต่อมไทรอยด์ จากการที่แอนติบอดี้หรือภูมิคุ้มกันของร่างกาย ไปกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์มากเกินไป อาการที่พบบ่อย เช่น ผิวเปลือกส้ม, คอพอก, ไทรอยด์เป็นพิษ และตาโปน โรคนี้จึงมีอีกชื่อเรียกว่า ‘โรคคอพอกตาโปน’




หากเป็นไทรอยด์ขณะตั้งครรภ์ จะมีผลอะไรกับครรภ์ไหม?

เนื่องจากการทำงานของไทรอยด์นั้นมีส่วนในการสร้างและพัฒนาเซลล์สมองของวัยเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกในครรภ์ แน่นอนว่าย่อมต้องมีผลกับการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังมีผลกับตัวของคุณแม่เองด้วย เพราะไทรอยด์มีหน้าที่ในการเผาผลาญพลังงาน

การตรวจพบไทรอยด์ในหญิงที่กำลังตั้งครรภ์
การตรวจพบไทรอยด์ในหญิงที่กำลังตั้งครรภ์

ความสำคัญของฮอร์โมนไทรอยด์กับการตั้งครรภ์

ฮอร์โมนไทรอยด์รับหน้าที่สำคัญในการพัฒนาระบบประสาทและสมองของทารกในครรภ์โดยเฉพาะในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสแรกไปจนถึงช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ การที่ฮอร์โมนไทรอยด์ของคุณแม่ทำงานอย่างปกติจึงมีความสำคัญต่อลูกน้อยนั่นเอง พออายุครรภ์ถึง 12 สัปดาห์แล้ว ต่อมไทรอยด์ของตัวทารกจะสามารถเริ่มทำงานเองได้ แต่ทั้งนี้จะยังไม่สามารถฮอร์โมนไทรอยด์ได้อย่างเพียงพอจนกว่าจะอายุครรภ์ 18 ถึง 20 สัปดาห์

หญิงที่มีอายุครรภ์น้อย
หญิงที่มีอายุครรภ์น้อยที่เป็นไทรอยด์

นอกจากนี้ยังมีฮอร์โมน hCG (Human chorionic gonadotropin) เอสโตรเจน (Estrogen) ที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นในขณะตั้งครรภ์ แต่ไม่ได้มีผลต่อการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งอาจทำให้ต่อมไทรอยด์มีการขยายใหญ่ขึ้นมา

ผลของไทรอยด์กับหญิงตั้งครรภ์

หญิงที่มีการตั้งครรภ์สามารถเกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษได้ โดยการเกิดภาวะนี้มีสาเหตุมาจากโรคไทรอยด์เกรฟส์ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในขณะตั้งครรภ์หรือผู้ที่เคยมีประวัติการป่วย แต่ทั้งนี้อาการในช่วงไตรมาสแรกอาจต้องแยกโรคไทรอยด์ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ออกจากอาการในขณะการตั้งครรภ์ของฮอร์โมน hCG ที่มีผลต่อหญิงมีครรภ์ในระยะสั้นๆที่คล้ายคลึงกับโรคไทรอยด์

ตาโปน หนึ่งในอาการของโรคเกรฟส์
ตาโปน หนึ่งในอาการของโรคเกรฟส์

ภาวะไทรอยเป็นพิษมีผลต่อการตั้งครรภ์ไหม?

มี โดยถ้าหากร่างกายมีการควบคุมภาวะไทรอยด์เป็นพิษได้ไม่ดี อาจส่งผลกระทบต่อแม่และลูก ดังนี้

หญิงตั้งครรภ์มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษและความดันโลหิตสูง
หญิงตั้งครรภ์มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษและความดันโลหิตสูง
  • ผลกระทบในแม่ อาจเกิดการแท้งลูก คลอดก่อนกำหนด และอาการอื่นๆที่เกิดจากไทรอยด์เป็นพิษที่อาจทำให้เกิด ความดันโลหิตสูง ชัก หรือบวม ส่วนอาการอื่นๆที่อันตราย เช่น หัวใจวาย, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, ตับวาย, และโคม่า
  • ผลกระทบกับทารกในครรภ์มารดา ทารกมีน้ำหนักน้อย เป็นคอพอก หรืออาจมีหัวใจเต้นผิดจังหวะ

8 อาหารที่คนตั้งครรภ์ควรงดเมื่อเป็นไทรอยด์




วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นไทรอยด์

อย่ากังวัลหากพบว่าตัวเองเป็นไทรอยด์ เพราะยังไงโรคไทรอยด์ก็เป็นโรคที่คุณสามารถรักษาให้หายได้หากเข้ารับการรักษาและดูและตัวเองอย่างถูกต้อง โดยในระหว่างที่กำลังรับการรักษาควรปฏิบัติตัวดังนี้ คือ

  • 1. ไปพบแพทย์ให้ตรงตามนัดและทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

หากแพทย์นัดคุณให้ไปพบเพื่อตรวจเช็คอาการ คุณควรไปตามที่แพทย์นัด เพื่อแพทย์จะได้ได้รักษาคุณได้อย่างถูกต้องตามอาการในปัจจุบัน และเพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และหากพบว่าอาการผิดปกติก็สามารถไปพบแพทย์ก่อนเวลานัดได้

ไปพบแพทย์เพื่อติดตามอาการ
ไปพบแพทย์เพื่อติดตามอาการ
  • 2. นอนหลับและพักผ่อนร่างกายให้เพียงพอ

การนอนหลับให้เพียงพอเป็นเรื่องดีอยู่แล้ว โยเฉพาะในผู้ที่มีอาการป่วย และการพักผ่อนไม่เพียงพอยังช่วยความเสี่ยงการเกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษด้วยนะ

  • 3. ออกกำลังกายอย่าสม่ำเสมอ

เคยได้ยินมั้ยว่าเวลาป่วยแล้วยิ่งทำตัวป่วยจะยิ่งทำให้ร่างกายยิ่งแย่ เพราะฉะนั้นควรออกกำลังกายแม้เพียงเล็กน้อย แต่ไม่ควรหักโหม หากคุณมีไทรอยด์ผิดปกติอาจต้องปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย ยิ่งในผู้มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษยิ่งต้องระวัง ควรเข้ารับการรักษาให้อาการดีขึ้นก่อนนะ

ออกกำลังกายสักเล็กน้อย
ออกกำลังกายสักเล็กน้อย
  • 4. งดบุหรี่ ของมึนเมา สารเสพติด

บุหรี่ถือเป็นข้อห้ามโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณเป็นผู้ที่เป็นโรคไทรอยด์เกร์ฟ ที่มีปัญหาเกี่ยวกับด้านสายตา เพราะสามารถทำให้อาการแย่ลงได้ ส่วนเครื่องดื่มมึนเมาและสารเสพติดไม่ส่งผลดีต่ออาการป่วยอยุ่แล้วจึงควรหลีกเลี่ยงอย่างแน่นอน

  • 5. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

อาหารสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์ควรมีความหลากหลาย และควรรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนสูงอย่างอาหารทะเล แต่ไม่ควรทานมากไป

  • 6. ระวังเรื่องการซื้อยาทานเอง

ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อนการซื้อยาต่างๆรับประทานเอง เพื่อป้องกันโอกาสเสี่ยงที่อาจทำให้อาการแย่ลง

แพทย์จ่ายยาให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคไทรอยด์
แพทย์จ่ายยาให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคไทรอยด์
  • 7. ปรึกษาแพทย์ก่อนวางแผนมีบุตร

เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ รวมไปถึงภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ ซึ่งหากคุณต้องการมีบุตรในช่วงการรักษาแพทย์อาจแนะนำให้คุณคุมกำเนิดแบบชั่วคราวก่อนค่ะ

เป็นไทรอยด์ วางแผนครอบครัวก่อนมีน้องชัวร์กว่า

ไทรอยด์ห้ามกินผักอะไรบ้าง?

ผักที่ผู้ป่วยไทรอยด์ห้ามกิน คือ ผักที่มีสารกอยโตรเจน (Goitrogen) ซึ่งสารชนิดนี้มักพบในพืชผักที่อยู่ในตระกูลกะหล่ำ ผักที่มีกอยโตรเจน ได้แก่ กะหล่ำ บล็อคโคลี่ คะน้า ผักกาด กระเทียม หัวหอม ซึ่งหากรับประทานมากๆอาจทำให้เกิดภาวะขาดไอโอดีนได้ เป็นคอพอก และทำให้ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ หากรับประทานควรรับประทานโดยผ่านความร้อนสารกอยโตรเจจะถูกทำลาย แต่ก็ไม่ควรรับประทานมากเกินไปและควรทานแบบปรุงสุก

ผักที่ผู้ป่วยไทรอยด์ไม่ควรรับประทาน
ผักที่ผู้ป่วยไทรอยด์ไม่ควรรับประทาน

หากตอนนี้ใครที่เป็นไทรอยด์ อย่าเพิ่งท้อเพราะคุณสามารถหายได้หากคุณหมั่นไปพบแพทย์ตามนัด และดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี หรือใครที่สงสัยว่าเป็นไทรอยด์ลองสังเกตุร่างกายของคุณและรับการตรวจวินิจฉัยเพื่อให้แน่ใจ จะได้รักษาได้ทัน




กลับสู่สารบัญ

This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.