5 วิธีย้ายสิทธิบัตรทองฉบับประชาชน

ปก-5วิธีย้ายสิทธิบัตรทองฉบับ

สำหรับใครที่กำลังมองหาวิธีการ “ย้ายสิทธิบัตรทอง ” ขอบอกว่าเราสามารถทำด้วยตัวเองได้ง่ายๆ แถมมีตั้ง 5 วิธี คุณสามารถเลือกย้ายสิทธิบัตรทอง  ได้ตามวิธีที่สะดวกได้เลย จะไปย้ายสิทธิบัตรทองที่สำนักงานโดยตรง หรือจะย้ายสิทธิบัตรทอง  ผ่านระบบออนไลน์ทำๆได้ง่ายๆ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคนี้มาก เพียงเข้าไปเปลี่ยนได้ในแอปพลิเคชั่น ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.)  หรือการแอดไลน์ สปสช.  @nhso 2 ช่องทางนี้จะค่อนข้างสะดวกมากกว่า  การไปขอย้ายสิทธิบัตรทองที่จุดบริการเองส่วนใครที่อยากรู้แล้วว่า ขั้นตอนการย้ายสิทธิบัตรทองจะเป็นอย่างไร สามารถดูต่อในบทความได้เลยค่ะ

เช็คสิทธิบัตรทอง ได้ที่นี่

5 วิธีย้ายสิทธิบัตรทอง




วิธีที่ 1 ย้ายสิทธิบัตรทอง ออนไลน์ผ่านแอป สปสช

สำหรับวิธีย้ายสิทธิบัตรทองวิธีแรกนะคะ ผู้ขอลงทะเบียนจะต้องทำการโหลดแอป สปสช. ขึ้นมาก่อนค่ะ

ขั้นตอนการย้ายสิทธิบัตรทองในแอป สปสช

1. โหลดแอปเสร็จแล้ว เข้าไปที่แอป สปสช ได้เลย โดยต้อง “ลงทะเบียนก่อน” หากคุณที่ยังไม่เคยลงทะเบียนกับแอป สปสช พร้อมยืนยันด้วย รหัส OTP เมื่อลงเสร็จระบบจะทำการแจ้งสิทธิที่คุณมีในปัจจุบัน ส่วนกรณีเคยลงทะเบียนแล้วคุณสามารถกรอกเลขบัตรประชาชน และรหัสผ่านเพื่อเข้าสู่ระบบได้เลย พร้อมกดไปที่ ‘หน้าหลัก’

ขั้นตอนการลงทะเบียนแอป สปสช เพื่อ ย้ายสิทธิบัตรทอง
ขั้นตอนการลงทะเบียนแอป สปสช เพื่อ ย้ายสิทธิบัตรทอง

2. เลือกที่เมนู ‘ลงทะเบียนเปลี่ยนหน่วยบริการ’ เมื่อทำการกดเข้าไปแล้ว ทางระบบจะแสดงผลที่อยู่ของคุณตามทะเบียนบ้าน

  • กรณีที่ 1 ที่อยู่ตรงกับบัตรประชาชน ให้กดเลือกคำสั่ง ‘ตรง’ ได้เลย ระบบจะให้คุณทำการถ่ายรูปบัตรประชาชนจากกล้องหลัง และต่อด้วยถ่ายเซลฟี่หน้าของคุณกับบัตรประชาชนจากกล้องหน้าของโทรศัพท์
  • กรณีที่ 2 ที่อยู่ไม่ตรงกับบัตรประชาชน ให้เลือกคำสั่ง ‘ไม่ตรง’ เมื่อกดแล้ว ทางระบบจะให้คุณทำการแนบหลักฐานการพักอาศัยของคุณ เช่น บิลค่าน้ำ, ค่าไฟ ,หนังสือรับรองเจ้าของบ้าน จากนั้นระบบจะให้คุณระบุที่อยู่ในปัจจุบัน

3. จะปรากฏ ‘เครือข่ายบริการที่เลือกได้’ ขึ้นมา คุณสามารถเลือกย้ายสิทธิบัตรทอง ได้ตามที่ต้องการได้เลยค่ะ สามารถเช็คบัญชีเครือข่ายได้ที่นี่  เมื่อเลือกบัญชีเครือข่ายได้แล้วให้กด ‘ยืนยัน’ ได้เลย ระบบจะทำการแสดงผลว่าได้รับข้อมูลแล้ว

4. ให้กด ‘ถัดไป’ หน่วยบริการใหม่ที่คุณเลือกไว้ จะปรากฏทันที

5. เสร็จแล้วไปที่เมนู ‘หน้าหลัก’ แล้วกด ‘ตรวจสอบสิทธิหลักประกัน’ เพื่อดูรายละเอียดการสิทธิใหม่ได้ที่เมนู ‘ตรวจสอบสิทธิบุคคลทั่วไป’ หากระบบแสดงหน่วยบริการใหม่ ที่คุณเลือกแล้วก็เป็นอันเสร็จสิ้น แค่นี้ก็ย้ายสิทธิบัตรทอง ได้แล้วนะ

วิดีโอสาธิตการ ย้ายสิทธิบัตรทอง ผ่านแอป สปสช




วิธีที่ 2 ย้ายสิทธิบัตรทอง ผ่าน LINE สปสช @nsho

         วิธีย้ายสิทธิบัตรทองวิธีนี้เป็นอีกวิธีที่น่าสนใจสำหรับใครที่ไม่สะดวกไปที่สำนักงาน  เพราะเพียงแค่ “เปลี่ยนสิทธิปุ๊ป สิทธิเกิดทันที” ไม่ต้องรอนาน 15 วัน เพียงแค่แอดไลน์ สปสช พิมพ์ค้นหา Line ID @nhso หรือสแกน QR Code เพิ่มเพื่อนได้ทันที

QR code สำหรับแอดไลน์ สปสช เพื่อย้ายสิทธิบัตรทอง
QR code สำหรับแอดไลน์ สปสช เพื่อย้ายสิทธิบัตรทอง

ขั้นตอนการ ย้ายสิทธิบัตรทอง ผ่านทางไลน์ สปสช

1. เมื่อกด “เพิ่มเพื่อน”แล้ว ระบบจะให้กดยอมรับเงื่อนไขการใช้งาน จากนั้นระบุเลขประจำเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก

2. ระบุข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มเติม

3. กำหนดรหัสผ่านจำนวน 6 หลัก

4. กรอกหมายเลขโทรศัพท์ เพื่อรับรหัส OTP

5. กรอกรหัส OTP ที่ได้รับ

6. จากนั้นจะให้คุณทำการเลือก 2 เลือกเมนู คือ “ตรง” และ “ไม่ตรง”

  • กด “ตรง” หากที่ที่พักอาศัย ตรงกับบัตรประชาชน และทำตามข้อ 7 ได้เลย
  • กด “ไม่ตรง” หากที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน ไม่ตรงกับบัตรประชาชน ระบบจะให้คุณทำการแนบหลักฐานการพักอาศัย เช่น บิลค่าน้ำ ค่าไฟ หรือหนังสือรับรองโดยเจ้าของบ้านที่ โดยคุณสามารถเลือกอัพโหลดหลักฐานนี้ ลงไปได้หลังจากนั้นก็ทำตามข้อที่ 9 ได้เลย

7. หากที่อยู่ปัจจุบันที่คุณพักอาศัยตรงกับบัตรประชาชน

8. ยืนยันตัวตนด้วยการถ่ายรูปตนเองพร้อมบัตรประชาชน 2 ครั้ง และยืนยันที่อยู่ของคุณว่าตรงกับบัตรประชาชนหรือไม่

9. เลือกหน่วยบริการแห่งใหม่ ได้ตามที่ขึ้นในระบบ พร้อมกด “เลือก” เพื่อเลือกหน่วยบริการแห่งใหม่ (ใครที่ไม่รู้ สามารถเช็คบัญชีเครือข่ายได้ที่นี่)

10. ระบบจะแจ้งเตือนให้ทราบ ถึงขั้นตอนของการอนุมัติเอกสารก่อน เข้ารับบริการได้ที่หน่วยบริการประจำแห่งใหม่

วิดีโอสาธิตการ ย้ายสิทธิบัตรทอง ผ่าน Line

หรือสามารถอ่าน E-Book ได้ที่นี่




วิธีที่ 3 ย้ายสิทธิบัตรทอง กับทางสำนักงานเขต

สำหรับใครที่ไม่สะดวก ที่จะทำการลงทะเบียนย้ายสิทธิบัตรทองในมือถือ คุณสามารถไปทำเรื่องเองได้โดย ไปที่สำนักเขต หากคุณพักอาศัยอยู่ภายในพื้นที่กรุงเทพฯ ส่วนผู้ที่อยู่ต่างจังหวัด สามารถย้ายสิทธิบัตรทองได้ที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หรือ โรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้าน พร้อมกับเตรียมเอกสาร ที่จะใช้ในการลงทะเบียนย้ายสิทธิบัตรทอง




เอกสารที่ใช้ในการ ย้ายสิทธิบัตรทอง ได้แก่

1) สำเนาบัตรประชาชน พร้อมกับมีลายเซ็นรับรองที่สำเนา

2) สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้ลงทะเบียน

3) หลักฐานการพักอาศัยปัจจุบัน ของผู้ขอย้ายสิทธิบัตรทองที่สำนักเขต หากที่พักอาศัยไม่ตรงกับทะเบียน  สามารถนำหลักฐานการพักอาศัยมายื่นได้ คือ บิลค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ สัญญาเช่า นำไปยื่นที่สำนักงานเขต

4) แบบคำร้องขอลงทะเบียนขอย้ายสิทธิบัตรทอง

         โดยในแบบคำร้อง ขอลงเบียนย้ายสิทธิบัตรทองของทาง สปสช. จะแบ่งออกเป็น 6 ส่วน สามารถ ดาวโหลดเอกสารแบบคำร้อง ได้เลย ส่วนใครที่ยังไม่เข้าใจ เดี๋ยวเราจะมาอธิบายขั้นตอนการกรอกฟอร์มลงทะเบียนย้ายสิทธิบัตรทอง ให้ทราบแบบละเอียดทีละจุดนะคะ สามารถดูได้ในส่วนถัดไปเลยค่ะ

ตัวอย่างแบบคำร้องการ ย้ายสิทธิบัตรทอง
ตัวอย่างแบบคำร้องการ ย้ายสิทธิบัตรทอง
  • ส่วนที่ 1 ข้อมูลประวัติส่วนตัวของผู้ลงทะเบียนย้ายสิทธิบัตรทอง

         ในส่วนนี้ผู้ย้ายสิทธิบัตรทอง จะต้องทำการกรอกข้อมูล 5 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ รายละเอียดและประวัติส่วนตัว, เหตุผลในการลงทะเบียน, คำรับรอง และพร้อมเซ็นลายเซ็นยินยอมคำรับรองนี้

1) ข้อมูลรายละเอียดผู้ลงทะเบียน กรอกวันที่ลงทะเบียน และสำนักเขต ที่คุณได้เข้ารับการลงทะเบียนย้ายสิทธิ พร้อมกรอกรายละเอียดหรือประวัติส่วนตัว ที่อยู่ในปัจจุบันของคุณ และอย่าลืมกรอกช่องทางการติดต่อสื่อสารด้วย

2) เหตุผลในการลงทะเบียน ให้ติ๊กถูกที่ ‘มีสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติแต่ต้องการเปลี่ยนแปลงหน่วยบริการประจำ’

3) คำรับรอง ในส่วนนี้คุณจะต้องทำการกรอกเลขที่เครือข่ายที่ต้องการเปลี่ยน โดยสามารถเช็คบัญชีเครือข่ายได้ที่นี่เลย เมื่อเช็คเสร็จ ก็สามารถกรอกได้เลยค่ะ เช่น แอดมินเลือก เขตภาษีเจริญ ทางระบบก็จะแสดงชื่อหน่วยบริการ ที่แอดมินสามารถเลือกได้ขึ้นมา ในแต่ละเลขที่เครือข่าย จะกำหนด 3 หน่วยบริการมาให้ ได้แก่ หน่วยบริการปฐมภูมิ, หน่วยบริการที่รับการส่งต่อ , หน่วยบริการประจำ

การเช็คเลขรเครือข่ายหน่วยบริการ
การเช็คเลขรหัสเครือข่ายหน่วยบริการ

4) แจ้งเงื่อนไขให้ผู้ลงทะเบียนทราบ เพื่อรับทราบเงื่อนไขก่อนลงลายเซ็นชื่อ หากมีกรณีที่คำรับรองไม่เป็นความจริง การลงทะเบียนจะเป็นโมฆะและผู้ลงทะเบียนจะต้องรับผิดชอบหากเกิดข้อผิดพลาด

5) ลงลายเซ็นยินยอม ส่วนนี้จะให้ผู้ที่ขอลงทะเบียนย้ายสิทธิบัตรทอง ลงชื่อเพื่อยอมรับเงื่อนไขว่า จะทำการเก็บเอกสารในส่วนที่ 6 เอาไว้ เพื่อใช้เป็นหลักฐาน โดยจะมีลายเซ็นของผู้ลงทะเบียน ผู้รับมอบอำนาจ/ผู้ปกครอง(เฉพาะกรณีผู้อายุไม่ถึง 15 ปี หรือให้ผู้อื่นลงทะเบียนแทน) และเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบเอกสาร

ตัวอย่างแบบคำร้องการ ย้ายสิทธิบัตรทอง ส่วนที่ 1
ตัวอย่างแบบคำร้องการ ย้ายสิทธิบัตรทอง ส่วนที่ 1
  • ส่วนที่ 2 หลักฐานที่แนบมาพร้อมกันกับแบบคำร้องการขอย้ายสิทธิบัตรทอง

         หลักฐานที่ต้องใช้ ในการย้ายสิทธิบัตรทองนั้นเจ้าหน้าที่จะทำการถ่ายสำเนา เก็บเอาไว้เป็นหลักฐาน โดยผู้ยื่นแบบคำร้องย้ายสิทธิบัตรทอง จะต้องเตรียมเอกสารแนบมากับแบบคำร้อง โดยเอกสารที่ใช้ จะแยกกันตามกรณีดังนี้ คือ

         กรณีที่ 1 ที่อยู่ตรงตามบัตรประชาชน จะใช้เอกสารแบ่งตามกรณี ได้แก่

1) บัตรประชาชน หรือบัตร / เอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้ และมีเลขบัตรประชาชน สำหรับผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป 

2) สูติบัตร และบัตรประจำตัวของผู้ปกครอง สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี และเป็นผู้ที่ไม่มีบัตรประชาชน 

3) ใบคัดสำเนาทะเบียนบ้าน  (ทร.๑๔/๑) สำหรับผู้ไม่มีบัตรประชาชน เพื่อใช้อ้างอิงตัวที่ตัวบุคคล ไม่สามารถอ้างอิงที่อยู่ ตามทะเบียนบ้านได้

4) ใบคัดทะเบียนปรตะวัติบุคคล (ทร.๑๒) สำหรับเด็กที่ไม่มีบัตรประชาชน และมีอายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์

         กรณีที่ 2 มีที่อยู่ไม่ตรงกับบัตรประชาชน จะต้องมีการแสดงหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่

1) หนังสือรับรองของเจ้าบ้าน

2) หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน

3) หนังสือรับรองผู้ว่าจ้าง/นายจ้าง

4) เอกสารหลักฐานการพักอาศัยอื่นๆ เช่น ใบเสร็จค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าโทรศัพท์, ค่าเช่าที่พัก และสัญญาเช่าที่พัก เป็นต้น

         ยกตัวอย่าง เช่น นาย ก มีที่อยู่ตรงตามบัตรประชาชน เอกสารที่นาย ก ต้องแนบมา ได้แก่ บัตรประชาชน ในขณะที่ นาย ข มีที่อยู่ไม่ตรงตามบัตรประชาชน นาย ข จะต้องใช้หลักฐานยืนยันอื่นๆ ยืนยันการพักอาศัยของตน เช่น สัญญาเช่าหอพัก หรือบิลค่าไฟ เป็นต้น

ตัวอย่างแบบคำร้องการ ย้ายสิทธิบัตรทอง ส่วนที่ 2
ตัวอย่างแบบคำร้องการ ย้ายสิทธิบัตรทอง ส่วนที่ 2
  • ส่วนที่ 3 หนังสือรับรองการพักอาศัยจริงของผู้ขอลงทะเบียนย้ายสิทธิบัตรทอง

         ส่วนนี้กรอกเฉพาะกรณีที่พักอาศัยไม่ตรงกับบัตรประชาชน ผู้ขอยื่นคำร้องย้ายสิทธิบัตรทอง จะต้องทำการกรอกเอกสารรับรองว่า คุณได้พักอาศัยอยู่ตามที่อยู่ที่ได้ขอลงทะเบียนจริงๆ เช่น อาจให้เจ้าของบ้านเป็นผู้รับรองให้

         ผู้รับรอง เช่น เจ้าบ้าน, ผู้นำชุมชน, ผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง, ผู้ขอลงทะเบียน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ในส่วนนี้ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะหากเอกสารไม่ตรงตามความเป็นจริง คนที่เป็นผู้รับรองให้อาจมีส่วนต้องรับผิดชอบ ด้วยนั่นเอง

ตัวอย่างแบบคำร้องการ ย้ายสิทธิบัตรทอง ส่วนที่ 3
ตัวอย่างแบบคำร้องการ ย้ายสิทธิบัตรทอง ส่วนที่ 3
  • ส่วนที่ 4 หนังสือยินยอม

         ผู้ที่ยื่นคำร้องลงทะเบียน ย้ายสิทธิบัตรทอง จะต้องทำการลงลายเซ็นยินยอม เพื่อให้สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผย หรือใช้ข้อมูลรวมถึง อาจมีการส่งข่าวสารประชาสัมพันธ์ เช่น การดูและสุขภาพ หรือสิทธิประกันสุขภาพ การติดตามการรักษา ผ่านช่องทาง E-mail, ที่อยู่, เบอร์ติดต่อ ที่คุณได้ทำการระบุไว้ในส่วนที่ 1

ตัวอย่างแบบคำร้องการ ย้ายสิทธิบัตรทอง ส่วนที่ 4
ตัวอย่างแบบคำร้องการ ย้ายสิทธิบัตรทอง ส่วนที่ 4
  • ส่วนที่ 5 หนังสือมอบอำนาจ

         หากคุณไม่ได้ดำเนินการ ย้ายสิทธิบัตรทองด้วยตนเอง คุณจะต้องทำการกรอกข้อมูล ในส่วนนี้ด้วย คือข้อมูลชื่อ-ที่อยู่ของผู้มอบอำนาจ, ผู้รับมอบอำนาจ และพยาน พร้อมกับการลงลายเซ็นชื่อรับรองการมอบอำนาจ ให้แก่ผู้รับมอบอำนาจดำเนินการย้ายสิทธิบัตรทองให้ ผู้รับมอบจะต้องนำสำเนาบัตรประชาชน ของตนเองมาด้วย

ตัวอย่างแบบคำร้องการ ย้ายสิทธิบัตรทอง ส่วนที่ 5
ตัวอย่างแบบคำร้องการ ย้ายสิทธิบัตรทอง ส่วนที่ 5
  • ส่วนที่ 6 หลักฐานการยืนยันการลงทะเบียนย้ายสิทธิบัตรทอง

         ในส่วนที่ 6 นี้ผู้ขอลงทะเบียนย้ายสิทธิบัตรทองจะต้องทำการตัดเก็บไว้ เพื่อเป็นหลักฐานในการยืนยันการลงทะเบียน เมื่อเข้ารับการรักษาเบื้องต้นที่สถานพยาบาลทุกครั้ง คุณจะต้องแสดงบัตรประชาชนด้วยทุกครั้งที่รับบริการ หากคุณมีข้อสงสัยสามารถโทรไปที่ 1330 เพื่อสอบถามได้ พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

ตัวอย่างแบบคำร้องการ ย้ายสิทธิบัตรทอง ส่วนที่ 6
ตัวอย่างแบบคำร้องการ ย้ายสิทธิบัตรทอง ส่วนที่ 6

ใครมีประกันสังคม เช็ควิธีย้ายสิทธิประกันสังคมเลย!




วิธีที่ 4 ย้ายสิทธิบัตรทองกับทางสถานพยาบาล

         วิธีการย้ายสิทธิบัตรทอง กับสถานพยาบาลนั้น จะใช้เอกสารเหมือนกับการย้ายสิทธิบัตรทองกับทางสำนักงานเขตเลย เพียงแค่คุณจะต้องไปดำเนินการย้ายสิทธิ กับสถานพยาบาล ที่ได้รับมอบอำนาจจากทาง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งเจ้าหน้าที่สถานพยาบาล จะดำเนินการย้ายสิทธิบัตรทองให้คุณ แทนสำนักงานเขต

         คุณสามารถไปติดต่อเพื่อ ย้ายสิทธิบัตรทองได้ที่  ‘คลินิก’ หรือ ‘โรงพยาบาล’ ที่ทางสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดไว้ได้ทุกที่เลยค่ะ แต่วิธีนี้จะเป็นวิธีที่ไม่แนะนำนะคะ เพราะส่วนมากแล้ว  เจ้าหน้าที่ของทางสถานพยาบาล จะไม่ค่อยทราบเกี่ยวกับวิธีการดำเนินเรื่องค่ะ

วิธีที่ 5 ย้ายสิทธิบัตรทอง กรณีสิทธิว่าง

         สิทธิว่าง คือ การที่คุณเป็นคนไทยและยังไม่มีสิทธิการรักษาพยาบาลใดๆ  ที่ทางรัฐจัดหา หรือให้รับบริการ ซึ่งโดยปกติสิทธิที่ทางรัฐจัดหาให้จะมีด้วยกันทั้งหมด 3 สิทธิด้วยกัน ได้แก่ สิทธิข้าราชการ, สิทธิประกันสังคม และสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สิทธิบัตรทอง)

         ซึ่งหากในปัจจุบัน คุณเป็นผู้ที่มีสิทธิว่าง และมีอาการเจ็บป่วย คุณจะสามารถเข้ารับการรักษาได้ที่คลินิก หรือโรงพยาบาลรัฐ ที่รับสิทธิบัตรทองได้ทุกแห่งเลยค่ะ โดยจะใช้เอกสาร เหมือนการย้ายสิทธิบัตรทอง ที่สำนักงานเขตและสถานพยาบาล  หลังจากเข้ารับการรักษาแล้ว เจ้าหน้าที่ที่ทำการรักษาจะเป็นผู้รับหน้าที่เปลี่ยนสิทธิบัตรทอง  ให้คนไข้ที่รับบัตรทองทุกครั้ง หลังการเข้ารับบริการ

ผู้สูงอายุไปใช้สิทธิบัตรทองที่โรงพยาบาล
ผู้สูงอายุไปใช้สิทธิบัตรทองที่โรงพยาบาล

         จบกันไปแล้วนะคะกับ 5 วิธีย้ายสิทธิบัตรทองที่คุณสามารถทำได้ง่ายๆด้วยตัวคุณเองได้แล้ว แต่คุณสามารถเปลี่ยนหน่วยบริการได้ไม่เกิน 4 ครั้งต่อปีเท่านั้นนะคะ ใครที่มีสิทธิบัตรทองอยู่ในมือก็อย่าลืมเข้าไปใช้บริการนะคะ อย่าปล่อยให้สิทธิที่มีอยู่ในมือของคุณไร้ค่า แอบกระซิบนิดนึงว่าสิทธิบัตรทองครอบคลุมการเยี่ยมบ้านด้วยนะ สุดท้ายนี้หากคุณมีข้อสงสัยนอกเหนือจากการย้ายสิทธิบัตรทองก็สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเเติมกับทางสายด่วน สปสช. สามารถโทร.ไปที่ 1330 ได้ทุกวันตลอด 24 ชม. เลยค่ะ







This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.