หลายคนมีความสงสัยเกี่ยวกับการเปิดให้บริการสำหรับคลินิกที่มีห้องผ่าตัด อาทิเช่น คลินิกเสริมความงาม คลินิกเวชกรรมหลายแห่ง การมีห้องผ่าตัดที่คลินิกสามารถมีได้ไหม ผิดกฎหมายหรือป่าว สามารถมีห้องผ่าตัดในคลินิกได้จริงหรือไม่ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือ กรม สบส. อนุญาติให้คลินิกเวชกรรมเปิดห้องผ่าตัดได้ โดยต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ทั้งเรื่องสุขอนามัย ขนาดสถานที่ อุปกรณ์ ยา และเวชภัณฑ์ต้องได้คุณภาพผ่านมาตรฐาน และต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 อย่างเคร่งครัด
สารบัญ
ห้องผ่าตัดมาตรฐาน
ห้องผ่าตัด เป็นห้องที่จำเป็นต้องมีคุณลักษณะที่ถูกต้องตามกฎกระทรวงสาธารณสุข ต้องผ่านการตรวจวัดมาตรฐาน และได้รับใบรับรองห้องผ่าตัด (Certified Operating Room) ก่อนเปิดให้บริการ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้รับบริการเมื่อเข้ารับการรักษา องค์ประกอบที่สำคัญของห้องผ่าตัดมาตรฐานที่ถูกต้องตามกฎของกระทรวงสาธารสุขมีดังนี้
- ลักษณะของห้องผ่าตัดต้องมีการออกแบบ และมีโครงสร้างที่ได้มาตรฐาน มีพื้นที่ตามมาตรฐาน
- ระบบสุขาภิบาล การดูแลความสะอาด ต้องได้มาตรฐาน
- มีการป้องกันการติดเชื้อ
- เครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ต้องมีครบและพร้อมใช้งาน
- มีการติดตั้งงานระบบในการสนับสนุนต่างๆ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศและระบายอากาศ ระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบส่งแก๊สทางการแพทย์ ระบบสื่อสาร ระบบสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม
ขนาดของห้องผ่าตัดมาตรฐาน
1. ห้องผ่าตัดขนาดเล็ก
เปิดให้บริการในกรณีมีการผ่าตัดขนาดเล็ก ใช้เพียงยาชาเฉพาะที่ หรือมีการให้ยาที่มีฤทธิ์ทำให้ผู้เคลิ้มหลับ ใช้เวลาในการผ่าตัดไม่เกิน 1 ชั่วโมง มีโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อย ต้องมีพื้นที่ห้องผ่าตัดไม่ต่ำกว่า 12 ตารางเมตร มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ครบครันและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
2. ห้องผ่าตัดขนาดใหญ่
เปิดให้บริการในกรณีที่ใช้เวลาในการผ่าตัดเกินกว่า 1 ชั่วโมง และมีการใช้ยาชาเฉพาะที่จำนวนมาก มีการฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำเพื่อให้หลับ การดมยา หรือมีการผ่าตัดหลายอวัยวะพร้อมกันในการทำผ่าตัดครั้งเดียวกัน มีโอกาสเสียเลือดสูง มีโอกาสเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัด ขนาดห้องผ่าตัดต้องมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 20 ตารางเมตร อุปกรณ์ทางการแพทย์ครบครันและต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน จำเป็นอย่างมากที่ต้องมีทีมวิสัญญีแพทย์ให้ดมยาสลบหรือทำการระงับความรู้สึกทางไขสันหลังเข้าร่วมการผ่าตัดทุกครั้ง
ลักษณะห้องผ่าตัดมาตรฐาน
- ขนาดของห้องผ่าตัดต้องไม่ต่ำกว่า 12 ตารางเมตร
- มีมีพื้นที่วางเตียงผ่าตัด 1 เตียง ต่อ 1 ห้อง พร้อมพื้นที่วางเครื่องมือทางการแพทย์ อุปกรณ์ช่วยชีวิตต่างๆ
- ห้องผ่าตัดต้องอยู่ในเขตปลอดเชื้อ 100% (Sterile Area)
- วัสดุที่ใช้ในการปูพื้น ต้องมีลักษณะเรียบ ไม่มีรอยต่อ หรือมีรอยต่อน้อย ไม่ลื่น ไม่ซึมซับของเหลว ป้องกันไฟฟ้าสถิต ทนทานต่อสารเคมี และรอยขีดข่วน สามารถรับน้ำหนักในการใช้งานที่ได้มาตรฐาน
- วัสดุที่ใช้ในการบุผนัง ต้องมีลักษณะเรียบ ไม่มีเหลี่ยมคม ไม่มีรอยต่อ หรือมีรอยต่อน้อย ไม่สะสมสิ่งสกปรก ฝุ่น ละออง เชื้อโรค ทนทานต่อสารเคมี และความชื้น
- วัสดุที่ใช้ในการปูฝ้าเพดาน ต้องมีลักษณะเรียบ ไม่มีรอยต่อ ไม่มีรูพรุน ไม่สะสมสิ่งสกปรก ฝุ่นละออง และเชื้อโรค ทนทานต่อความชื้น
- ระยะความสูงของเพดานห้องผ่าตัดต้องไม่น้อยกว่า 3 เมตร
- ประตูห้องผ่าตัด ต้องเป็นชนิดใช้ท่อนแขนหรือลำตัวในการดันเพื่อเปิด หรือเป็นบานเลื่อนที่ไม่ต้องใช้มือสัมผัส ช่องประตูสามารถเปิดกว้างไม่น้อยกว่า 50 เมตร และมีช่องมองเห็นในห้องจากภายนอกได้
- หน้าต่าง และช่องแสงสามารถป้องกันสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะของเชื้อโรคได้
- ระดับพื้นภายในห้องผ่าตัดต้องเป็นระดับเดียวกัน ไม่มีพื้นต่างระดับ
- มีระบบการควบคุมการเข้าออกแผนกผ่าตัด
คลินิกทำหัตการอะไรได้บ้างนะ? อยากรู้ต้องอ่าน!!
คลินิกที่เปิดให้บริการการรักษาที่จำเป็นต้องมีการผ่าตัด ควรมีการคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นอย่างดี ทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องมือในการช่วยชีวิตนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก อีกทั้งยังมีความจำเป็นที่ต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงสาธารณะสุข และได้รับใบรับรองห้องผ่าตัด (Certified Operating Room) เพื่อสร้างความไว้วางใจ และความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้เข้ารับการรักษา