คลินิกสามารถผ่าตัดได้ไหม

หลายคนมีความสงสัยเกี่ยวกับการเปิดให้บริการสำหรับคลินิกที่มีห้องผ่าตัด อาทิเช่น คลินิกเสริมความงาม คลินิกเวชกรรมหลายแห่ง การมีห้องผ่าตัดที่คลินิกสามารถมีได้ไหม ผิดกฎหมายหรือป่าว สามารถมีห้องผ่าตัดในคลินิกได้จริงหรือไม่ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือ กรม สบส. อนุญาติให้คลินิกเวชกรรมเปิดห้องผ่าตัดได้ โดยต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ทั้งเรื่องสุขอนามัย ขนาดสถานที่ อุปกรณ์ ยา และเวชภัณฑ์ต้องได้คุณภาพผ่านมาตรฐาน และต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 อย่างเคร่งครัด

สารบัญ

ห้องผ่าตัดมาตรฐาน

ห้องผ่าตัด เป็นห้องที่จำเป็นต้องมีคุณลักษณะที่ถูกต้องตามกฎกระทรวงสาธารณสุข ต้องผ่านการตรวจวัดมาตรฐาน และได้รับใบรับรองห้องผ่าตัด (Certified Operating Room) ก่อนเปิดให้บริการ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้รับบริการเมื่อเข้ารับการรักษา องค์ประกอบที่สำคัญของห้องผ่าตัดมาตรฐานที่ถูกต้องตามกฎของกระทรวงสาธารสุขมีดังนี้

  1. ลักษณะของห้องผ่าตัดต้องมีการออกแบบ และมีโครงสร้างที่ได้มาตรฐาน มีพื้นที่ตามมาตรฐาน
  2. ระบบสุขาภิบาล การดูแลความสะอาด ต้องได้มาตรฐาน
  3. มีการป้องกันการติดเชื้อ
  4. เครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ต้องมีครบและพร้อมใช้งาน
  5. มีการติดตั้งงานระบบในการสนับสนุนต่างๆ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศและระบายอากาศ ระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบส่งแก๊สทางการแพทย์ ระบบสื่อสาร ระบบสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม




ขนาดของห้องผ่าตัดมาตรฐาน

1. ห้องผ่าตัดขนาดเล็ก

เปิดให้บริการในกรณีมีการผ่าตัดขนาดเล็ก ใช้เพียงยาชาเฉพาะที่ หรือมีการให้ยาที่มีฤทธิ์ทำให้ผู้เคลิ้มหลับ ใช้เวลาในการผ่าตัดไม่เกิน 1 ชั่วโมง มีโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อย ต้องมีพื้นที่ห้องผ่าตัดไม่ต่ำกว่า 12 ตารางเมตร มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ครบครันและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

2. ห้องผ่าตัดขนาดใหญ่

เปิดให้บริการในกรณีที่ใช้เวลาในการผ่าตัดเกินกว่า 1 ชั่วโมง และมีการใช้ยาชาเฉพาะที่จำนวนมาก มีการฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำเพื่อให้หลับ การดมยา หรือมีการผ่าตัดหลายอวัยวะพร้อมกันในการทำผ่าตัดครั้งเดียวกัน มีโอกาสเสียเลือดสูง มีโอกาสเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัด ขนาดห้องผ่าตัดต้องมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 20 ตารางเมตร อุปกรณ์ทางการแพทย์ครบครันและต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน จำเป็นอย่างมากที่ต้องมีทีมวิสัญญีแพทย์ให้ดมยาสลบหรือทำการระงับความรู้สึกทางไขสันหลังเข้าร่วมการผ่าตัดทุกครั้ง




ลักษณะห้องผ่าตัดมาตรฐาน

  1. ขนาดของห้องผ่าตัดต้องไม่ต่ำกว่า 12 ตารางเมตร
  2. มีมีพื้นที่วางเตียงผ่าตัด 1 เตียง ต่อ 1 ห้อง พร้อมพื้นที่วางเครื่องมือทางการแพทย์ อุปกรณ์ช่วยชีวิตต่างๆ
  3. ห้องผ่าตัดต้องอยู่ในเขตปลอดเชื้อ 100% (Sterile Area)
  4. วัสดุที่ใช้ในการปูพื้น ต้องมีลักษณะเรียบ ไม่มีรอยต่อ หรือมีรอยต่อน้อย ไม่ลื่น ไม่ซึมซับของเหลว ป้องกันไฟฟ้าสถิต ทนทานต่อสารเคมี และรอยขีดข่วน สามารถรับน้ำหนักในการใช้งานที่ได้มาตรฐาน
  5. วัสดุที่ใช้ในการบุผนัง ต้องมีลักษณะเรียบ ไม่มีเหลี่ยมคม ไม่มีรอยต่อ หรือมีรอยต่อน้อย ไม่สะสมสิ่งสกปรก ฝุ่น ละออง เชื้อโรค ทนทานต่อสารเคมี และความชื้น
  6. วัสดุที่ใช้ในการปูฝ้าเพดาน ต้องมีลักษณะเรียบ ไม่มีรอยต่อ ไม่มีรูพรุน ไม่สะสมสิ่งสกปรก ฝุ่นละออง และเชื้อโรค ทนทานต่อความชื้น
  7. ระยะความสูงของเพดานห้องผ่าตัดต้องไม่น้อยกว่า 3 เมตร
  8. ประตูห้องผ่าตัด ต้องเป็นชนิดใช้ท่อนแขนหรือลำตัวในการดันเพื่อเปิด หรือเป็นบานเลื่อนที่ไม่ต้องใช้มือสัมผัส ช่องประตูสามารถเปิดกว้างไม่น้อยกว่า 50 เมตร และมีช่องมองเห็นในห้องจากภายนอกได้
  9. หน้าต่าง และช่องแสงสามารถป้องกันสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะของเชื้อโรคได้
  10. ระดับพื้นภายในห้องผ่าตัดต้องเป็นระดับเดียวกัน ไม่มีพื้นต่างระดับ
  11. มีระบบการควบคุมการเข้าออกแผนกผ่าตัด

คลินิกที่เปิดให้บริการการรักษาที่จำเป็นต้องมีการผ่าตัด ควรมีการคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นอย่างดี ทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องมือในการช่วยชีวิตนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก อีกทั้งยังมีความจำเป็นที่ต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงสาธารณะสุข และได้รับใบรับรองห้องผ่าตัด (Certified Operating Room) เพื่อสร้างความไว้วางใจ และความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้เข้ารับการรักษา




”กลับสู่สารบัญ”

This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.