เปิดโรงงานผลิตน้ำส้ม จะต้องดำเนินการอย่างไร

ถึงแม้ว่าการขายน้ำส้มแบบคั้นเองที่ขายอยู่ทั่วไปจะไม่จำเป็นต้องร้องขอหรือยื่นเรื่องอะไรในการเปิดร้านขายน้ำส้ม แต่การที่จะทำน้ำส้มส่งออกจำเป็นที่จะต้องทำตามขั้นตอนการเปิดโรงงาน เพื่อให้ผ่านมาตรฐานในการส่งออก โรงงานเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ยืนยันได้ว่าธุรกิจของเรากำลังเติบโตขึ้นมากกว่าเดิมหลายเท่า เพื่อรองรับความต้องการให้พอ การเปิดโรงงานนั้นก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่หลายคนนั้นสนใจอย่างมาก

แต่กว่าที่จะสามารถเปิดโรงงานหนึ่งขึ้นมาได้ก็ต้องผ่านมาตรฐาน GMP ที่เป็นกฎหมายแล้วผู้บริโภคนั้นได้รับความคุ้มครอง ผู้บริโภคต้องได้รับประทานอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ไม่มีสิ่งเจือปน หรือไม่มีสารพิษที่เป็นอันตราย สรุปก็คือ หากขาดคุณสมบัติใดไปก็จะไม่สามารถเปิดโรงงานได้นั่นเอง

4 ขั้นตอนดำเนินการเปิดโรงงานผลิตน้ำส้ม

  1. ยื่นเรื่องตรวจประเมินมาตรฐานสถานที่การผลิต (อย.)
  2. ยื่นเรื่องขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน
  3. ได้รับใบอนุญาตเพื่อการผลิต
  4. ดำเนินการขออนุญาตการผลิตอาหาร (รับเลขสารบบอาหาร)




1. ยื่นเรื่องตรวจประเมินมาตรฐานสถานที่การผลิต (อย.)

โดยจะต้องทำการยื่นเรื่องที่กองอาหาร อย. เพิ่มทางเลือกให้กับผู้ประกอบการอาหาร  สามารถใช้ผลการตรวจหรือใบรับรองสถานที่ผลิตอาหารจากหน่วยตรวจสอบและรับรองที่ขึ้นบัญชีกับ อย. เป็นหลักฐานประกอบการยื่นขออนุญาต สำหรับโรงงานในเขตกรุงเทพก็จำสามารถดำเนินเรื่องได้ง่ายหน่อย เพียงแค่เตรียมเอกสารต่างๆ ตามคำร้องขอก็สามารถยื่นได้เลย แต่ในกรณีที่ต้องการจะจัดตั้งโรงงานแถวต่างจังหวัด จำเป็นต้องยื่นเรื่องกับสำนักงานสาธารณสุขประจำจังหวัด หากมีเหตุที่ไม่สามารถออกมาดำเนินงานในช่วงเวลาข้าราชการ สามารถยื่นเรื่องผ่านช่องทางออนไลน์ได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกสุด




2. ยื่นเรื่องขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน

ในขั้นตอนนี้ต้องเตรียมค่าธรรมเนียมไว้ 2,000 บาท พร้อมเอกสารร้องขอ แนะนำให้นำสำเนาไปด้วย เผื่อกรณีที่เอกสารมีปัญหาจะได้แก้ไขทัน มีทั้งหมด 6 รายการ ได้แก่

  1. คำขออนุญาตจัดตั้งโรงงานตามแบบ อ1. 1 ฉบับ
  2. สำเนาใบทะเบียนการค้าหรือใบทะเบียนพาณิชย์ 1 ฉบับ
  3. สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขออนุญาต 1 ฉบับ
  4. แผนที่แสดงที่ตั้งของโรงงานและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในบริการใกล้เคียง
  5. แบบแปลนแผนผังที่ถูกต้องตามมาตราส่วน 1 ชุด (ถ้าเป็นต่างจังหวัดใช้ 2 ชุด)
  6. แผนผังแสดงสิ่งปลูกสร้างบริเวณที่ดินโรงงาน รวมทั้งระบบกำจัดน้ำเสียและบ่อบาดาล (ถ้ามี)

กรณีเป็นนิติบุคคลจะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมดังนี้ สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล 1 ชุด หรือสำเนารายชื่อผู้ถือหุ้น (นิติบุคคล) 1 ชุด (นิติบุคคลที่เป็นบริษัท)

3. ได้รับใบอนุญาตเพื่อการผลิต

ขั้นตอนนี้ต้องเตรียมเงินไว้จ่ายชำระค่าธรรมเนียมตั้งแต่ 3,000 บาท ไปจนถึง 10,000 บาทขึ้นไป ซึ่งขึ้นอยู่กับ แรงม้าเครื่องจักรหรือจำนวนคนงาน เมื่อชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ต้องรอใบส่งมอบใบอนุญาต และเอกสารฉบับนี้จะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ 3

***ควรเก็บรักษาไว้อย่างดี เพราะมีความสำคัญอย่างมาก แนะนำให้ใส่กรอบอัดไว้ พยายามติดตั้งในที่คนเห็นได้ง่าย และต้องติดด้านนอกโรงงาน




4. ดำเนินการขออนุญาตการผลิตอาหาร (รับเลขสารบบอาหาร)

อีกหนึ่งอย่างที่สำคัญอย่างมากในการเปิดโรงงานน้ำส้มของเรา นั่นก็คือการขอ เลข 13 หลักจาก อย. ตอบตรงนี้เลยว่า ถ้าขั้นตอนการขอเลขไม่ผ่าน โรงงานที่ทำมาก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับอนุญาตในการผลิตอย่างแน่นอน เมื่อผ่านครบทุกขั้นตอนแล้วถึงจะสามารถเริ่มดำเนินการเปิดโรงงานน้ำส้มได้อย่างเต็มรูปแบบ แต่ก็อย่าลืมเรื่องการต่ออายุ สถานที่การผลิตหรือโรงงานด้วยนะ

สนใจอยากจ้างแรงงานต่างด้าว ต้องติดต่อที่ไหนอ่านเลย!!

แต่สำหรับธุรกิจขนาดเล็กและมีเงินหมุนเวียนไม่มากพอ การจัดตั้งโรงงานคงเป็นเรื่องที่ลำบากมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องซื้อที่สร้างโรงงาน การจ้างคนงาน ซื้อเครื่องมืออื่นๆ ค่อนข้างใช้เงินในจำนวนมาก ทางออกที่ดีที่สุด สำหรับคนที่ต้องการเป็นเจ้าของกิจการตัวเองนั้นก็คือ ใช้บริการบรรดาโรงงานที่เปิดให้เช่าเพื่อผลิตอาหารโดยเฉพาะ จะตอบโจทย์มากกว่า แถมยังประหยัดเวลาสามารถวางแผนทำการตลาด พร้อมกับงบที่มากขึ้นเพราะไม่ต้องเสียเงินค่าภาษีจัดตั้งโรงงานได้ด้วย




กลับไปที่หัวข้อ

This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.