ข้อแตกต่างของคลินิกกับโรงพยาบาล

ข้อแตกต่างของคลินิกกับโรงพยาบาล

หลายคนเวลามีอาการเจ็บป่วยก็คงต้องไปหาหมอกันอยู่แล้ว แต่จะให้ไปที่ไหนดีล่ะ ระหว่างคลินิกกับโรงพยาบาล อย่างแรกเราจะต้องคิดถึงเรื่องความสะดวกสบายแน่นอน ใครอยู่ใกล้ที่ไหนก็ไปตรงนั้น แต่หลายคนก็เลือกจะเข้าคลินิกมากกว่า เนื่องจากความสะดวกรวดเร็ว คนไม่เยอะ สามารถเช็คโรคและรักษาได้อย่างโดยไม่ต้องไปรอคิวที่โรงพยาบาลนานๆ อย่างไรก็ตามหากเป็นอาการป่วยที่รุนแรง ผิดปกติ หรือได้รับบาดเจ็บสาหัสก็ต้องไปโรงพยาบาลอยู่ดี เราจึงควรจะรู้ว่าอาการแบบไหนเหมาะกับโรงพยาบาลหรือคลินิกมากกว่ากัน

สารบัญ




ทำความรู้จักกับคลินิก

คลินิกเป็นเหมือนสถานที่สำหรับผู้ป่วยนอก ส่วนใหญ่แล้วเป็นของทางเอกชน ไม่ได้มาจากรัฐ แต่เนื่องจากความรวดเร็วของการให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงลูกค้า การบริการ คำแนะนำต่างๆ ที่ชัดเจน ทำให้หลายคนเลือกเข้าคลินิกมากกว่าโรงพยาบาล ถึงแม้จะเสียเงินมากกว่าก็ตาม

คลินิกปฐมภูมิ คือคลินิกแบบไหน?

อย่างไรก็ตามคลินิกก็เป็นเพียงสถานที่สำหรับผู้ป่วยนอกที่ช่วยในการรักษาทั่วไปเท่านั้น ไม่เหมาะกับการรักษาอาการสาหัส เนื่องจากเครื่องมือไม่พร้อม ห้องสำหรับพักผ่อนไม่มี แต่ก็สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ สามารถระบุอาการป่วยที่รุนแรงและส่งตัวแอดมิทโรงพยาบาลได้เช่นเดียวกัน คลินิกเป็นเหมือนสถานที่คัดกรองผู้ป่วย เพื่อไม่ให้ทางโรงพยาบาลรับหน้าที่หนักเกินไป




ทำความรู้จักกับ โรงพยาบาล

หลายคนนั้นจะรู้กันดีว่าโรงพยาบาลมีผู้ป่วยจำนวนมากที่เข้ารับการรักษา ซึ่งมีหลายอาการด้วยกัน ตั้งแต่แบบผู้ป่วยทั่วไป ระยะกลาง ระยะสาหัส นอกจากผู้ป่วยแล้วยังมีญาติผู้ป่วย ซึ่งทำให้คนแน่นมาก หากผู้ป่วยนอกบางรายที่ไม่สบายและไม่มีใบนัดมาโรงพยาบาล จำเป็นต้องรอคิวค่อนข้างนานมาก เนื่องจากผู้มารับบริการมีเยอะ เลยทำให้ต้องรอคิวในการเข้ารับการรักษานานพอสมควร

แต่เนื่องจากมีเครื่องมือที่ค่อนข้างพร้อมให้บริการหลากหลายโรค หลายคนที่มีอาการป่วยแบบเฉพาะทางก็เลือกที่จะเข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลมากกว่า หลายเคสที่มีอาการบาดเจ็บสาหัส ก็มักส่งตัวเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากความพร้อมในการรักษา

ย้ายประกันสังคมเอง ง่ายมากนะรู้ยัง!

ปัจจุบันโรงพยาบาลได้ถูกแบ่งประเภทตามการดูแลควบคุมบริการ คือ โรงพยาบาลรัฐบาลและโรงพยาบาลเอกชน นอกจากนี้โรงพยาบาลยังถูกแบ่งเป็นสถานพยาบาลเฉพาะทางอีก เช่น สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, โรงพยาบาลสงฆ์, โรงพยาบาลตา, โรงพยาบาลฟัน, สถาบันโรคผิวหนัง ซึ่งบางแห่งสามารถที่จะใช้สิทธิบัตรทองในการเข้ารับการรักษาได้




อาการแบบนี้ควรไปโรงพยาบาลหรือคลินิกดี

เมื่อทำความเข้าใจแล้วว่าคลินิกกับโรงพยาบาลแตกต่างกันอย่างไร เราก็ต้องมีความรู้พื้นฐานด้วยว่าอาการที่เราเจอหรือเป็นอยู่ควรที่ไปโรงพยาบาลหรือคลินิกดี

อาการผิดปกติที่ควรไป โรงพยาบาล

  • ไข้สูง หนาวสั่น เหงื่อแตก ตัวเย็น
  • ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียนพุ่ง ปวดศีรษะตลอดเวลา ทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ปวดศีรษะจนต้องตื่นขึ้นมากลางดึก
  • เจ็บหน้าอกฉับพลัน เหงื่อออกมาก ใจสั่นคล้ายจะเป็นลม ปวดร้าวไปกรามหรือไหล่ซ้าย
  • เป็นลม หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่ว่าจะตื่นคืนสติดีแล้วหรือไม่ก็ตาม
  • แขนขาอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีกฉับพลัน
  • หายใจเร็ว หอบเหนื่อย หายใจเสียงดัง ไอเป็นเลือดหรือมีเสมหะปนเลือด
  • ซึมลงหรือสับสน
  • ชักกระตุกต่อเนื่อง
  • พูดไม่ชัด เดินเซ ตามัว ภาพซ้อน
  • ปวดท้องรุนแรง รับประทานอาหารไม่ได้ อาเจียนมาก ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด

ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล

อาการป่วยที่ไม่รุนแรงยกตัวอย่างการเป็นไข้อ่อนๆ เป็นหวัด ปวดเข่า ปวดเมื่อย ล้างแผล เจ็บคอ สามารถเข้ารับการรักษาที่คลินิกได้ ในกรณีที่มีอาการผิดปกติอย่างอื่น ทางแพทย์ของคลินิกจะแนะนำการรักษาที่เหมาะสมให้ หรืออาจส่งตัวเข้าโรงพยาบาลเพื่อทำการแอดมิท หากตรวจเจอความผิดปกติของร่างกายที่ค่อนข้างรุนแรงอย่างอาการป่วยเฉียบพลันดังที่กล่าวไว้ควรรีบรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลทันที




กลับสู่สารบัญ
This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.