ยาแก้แพ้ เป็นหนึ่งในยาสามัญประจำบ้านซึ่งถือว่าจำเป็น ขาดไม่ได้เลยทีเดียว โดยยาตัวนี้เรามักใช้เพื่อบรรเทาอาการป่วยเกี่ยวกับภูมิแพ้ ทั้งทางผิวหนัง ภูมิแพ้ทางเดินอาหาร ทางเดินอากาศ เป็นต้น จึงส่งผลให้หลายคนรับประทานค่อนข้างบ่อย โดยลืมคำนึงถึงผลข้างเคียง แต่รู้หรือไม่?ว่า รับประทานผิด อันตรายถึงชีวิตได้ เมื่อยาแก้แพ้ เป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงเกิด ความจำเสื่อม แล้วที่มาของมันคืออะไร? อาการที่เกิดขึ้นได้เมื่อสมองเสื่อม เรามาทำความเข้าใจกันให้มากขึ้นในบทความนี้
สาเหตุที่ทำให้สมองเสื่อมจากยาแก้แพ้
ก่อนจะกล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้ป่วยสมองเสื่อม เรามารู้จักประเภทของ ยาใช้ภายใน สำหรับแก้อาการภูมิแพ้กันดีกว่า กลุ่ม ยาแก้แพ้ เหล่านี้ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ยาที่ทำให้ง่วงได้หลังรับประทาน และยาที่ไม่ทำให้ง่วง ซึ่งประเภทที่มักจะพบการแพ้ มักเป็นประเภทหลัง แต่นอกจากนี้ ผู้ป่วยหรือผู้ทานยาควรทราบถึงที่มาหรือองก์ประกอบที่ส่งผลให้ป่วยโรคสมองเสื่อม เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง พร้อมทั้งรับประทานให้ถูกต้อง
บริโภค ยาแก้แพ้ ประเภทที่ก่อให้เกิดโรค
โดยปกติ ตามที่กล่าวข้างต้น ยาแก้แพ้ นั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ง่วงหลังรับประทานและไม่ง่วงหลังรับประทาน ซึ่งยาประเภททานแล้วง่วง เช่น ยากลุ่ม ลอเฟนิรามีน (chlorpheniramine), ลอราทาดีน (loratadine) และอื่น ๆ ซึ่งยาประเภทนี้มีสารต้าน ‘ฮีสตามีน’ ที่อาจรบกวนการทำงานของระบบประสาทได้ หากอาการแพ้ อาการป่วยไม่หนักมาก ควรเลือกทานยาแก้แพ้ชนิดไม่ง่วงแทน
ใช้ยาในปริมาณที่สูงมากเกินความจำเป็น
ขึ้นชื่อว่า ‘ยา’ ถึงแม้ว่าจะดูมีประโยชน์หรือข้อดีมากแค่ไหนก็ตาม ก็ย่อมต้องรู้จักรับประทานในระดับหรือปริมาณที่เหมาะสมด้วย เนื่องจากการรับประทาน ยาแก้แพ้ ไปปริมาณมาก ๆ มักจะมีความเสี่ยงที่สารกดประสาทเหล่านั้นเริ่มสะสมในร่างกาย ประสาทรวมถึงสมองของเราก็ยิ่งเสื่อมถอยสมรรถภาพลงตามปริมาณของสารเช่นกัน
รับประทานยาประเภทที่เสี่ยงก่อให้โรคเป็นระยะเวลานาน
อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเลย ก็คือ การได้รับยาเหล่านี้เป็นระยะเวลานาน ไม่ว่าจะด้วยการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ จนเคยชิน การรับประทานเมื่ออาการภูมิแพ้ระคายเคืองจนต้องระงับให้ทุเลาลง หรือ รับ ยาแก้แพ้ ประเภทที่มีความเสี่ยงต่อเข้าสู่ร่างกายต่อเนื่องโดยไม่รู้ตัว ทำให้คุณมีโอกาสป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมได้เลย ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาบรรเทาอาการแพ้ เพื่อให้มั่นใจว่ารับประทานได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น
4 อาการที่เกิดขึ้นได้หากอยู่ในภาวะความจำเสื่อม
นอกจากความรู้ในเรื่องการใช้ ยาแก้แพ้ ให้ถูกต้องเพื่อป้องกันสมองเสื่อมแล้ว เราก็มีเกร็ดข้อมูลดี ๆ ในการสังเกตตนเองหลังจากที่ป่วยเป็นโรคสูญเสียความทรงจำช่วงต้น อีกทั้งยังเหมาะกับผู้ที่อยู่อาศัยกับผู้สูงวัยด้วย โดยผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการที่สังเกตได้ชัดเจน ดังนี้
สูญเสียความทรงจำระยะสั้นได้ง่าย
เมื่อเริ่มสูญเสียความทรงจำ จะเริ่มมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ เริ่มจากการลืมที่ใครที่ก็สามารถเป็นได้ อย่างการเสียข้อมูลที่จดจำไว้ในระยะสั้น หรือเป็นข้อมูลใหม่ที่ไม่คุ้นชิน เริ่มจดจำสิ่งที่ตนเองจะทำ ถ้อยคำหรือประโยคที่ต้องการพูดได้น้อยลง อาจเริ่มมีปัญหาติดขัดในการสื่อสารกับผู้อื่นชีวิตประจำวัน
ความแม่นยำในการจดจำระยะทางน้อยลง
การจดจำระยะทางนั้นจำเป็นพอสมควรสำหรับการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ผู้ที่เริ่มสูญเสียความทรงจำ หลังจากที่เริ่มใช้เวลาดึงข้อมูลความจำระยะสั้นมากขึ้น ก็จะลามมายังข้อมูลความจำที่ระยะยาว หรือเป็นสิ่งที่มักคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน แต่กลับจำไม่ได้ เกิดความสับสน จนทำให้ข้อมูลในความทรงจำไม่แม่นยำนั่นเอง
ดึงข้อมูลในความจำออกมาใช้ได้ยากขึ้น
เมื่อสูญเสียความทรงจำ ผู้ป่วยจะลืมสิ่งที่อยู่ในความทรงจำทั้งระยะสั้นและยาว ทำให้กระทบถึงกิจวัตรชีวิตประจำวัน รวมถึงด้านการทำงานด้วย เช่น อาจสับสนวันที่จะต้องส่งงานหรือวันประชุมเรื่องสำคัญ หลงลืมว่ารับประทานข้าวหรือยัง ลืมว่าวางสิ่งของไว้ที่ไหนบ้าง หลงลืมว่าจะทำอะไรต่อไป เป็นต้น
ย้ำถาม ย้ำคิดย้ำทำในเรื่องเดิมบ่อย ๆ
เมื่อไม่รู้ว่าตนเองจะต้องทำอะไรต่อไป ก็ทำให้เข้าสู่อาการในขั้นถัดไป คือ ‘การย้ำคิดย้ำทำ’ นั่นเอง โดยมักจะพูดถึงและถามคนใกล้ชิดตนเอง ครอบครัวของตนเอง ว่าเขากำลังจะทำอะไร ทำสิ่งนั้นไปหรือยัง หรือตั้งคำถาม ตั้งข้อสงสัยในสิ่งเดิม เรื่องเดิมซ้ำ ๆ หลายรอบในเวลาเดียวกัน ถือเป็นอาการในขั้นที่ควรระวัง รีบพาเข้าปรึกษา รวมถึงรับการรักษาจากแพทย์ให้เร็วที่สุด ก่อนอาการทรุด
สรุป
ยาใช้ภายใน ที่มักรู้จัก และใช้กันอย่างแพร่หลาย รวมถึงเป็นยาสามัญประจำบ้านอย่าง ยาแก้แพ้ แก้ไข้ แก้แพ้ หากเลือกใช้ผิดประเภทก็จะส่งผลร้ายแรงต่อร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่เริ่มเข้าในช่วงวัยสูงอายุ อีกทั้งผู้ที่รับประทานยาชนิดนี้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ทราบถึงความอันตรายของมัน เมื่อรู้แล้ว ควรรับประทานอย่างเหมาะสม ตามใบสั่งแพทย์ นอกจากนี้ควรสังเกตผู้สูงอายุในบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงการป่วยโรคสมองเสื่อมด้วย