ยาแก้ปวด ถือเป็นยาสามัญที่หลายคนมีติดบ้าน และมักหยิบมาใช้เมื่อมีอาการปวดเกิดขึ้น เช่น ปวดศีรษะ ปวดฟัน ปวดกล้ามเนื้อ หรือปวดประจำเดือน แต่รู้หรือไม่ว่าแต่ละอาการปวดนั้นต้องการยาแก้ปวดที่ต่างกันออกไป การใช้ยาไม่เหมาะสมอาจส่งผลเสียมากกว่าประโยชน์ เช่น การเกิดผลข้างเคียงต่อกระเพาะหรือตับ รวมถึงอาการดื้อยา หรือผลต่อจิตประสาทในกรณียาแรง ในบทความนี้ เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการเกิดอาการปวด ประเภทของยาแก้ปวด วิธีเลือกใช้ยาให้เหมาะสม รวมถึงข้อควรระวังในการ กินยาแก้ปวด อย่างปลอดภัย
กลไกการเกิดอาการปวด และเหตุผลที่ต้องใช้ยาแก้ปวด
อาการปวด (Pain) เป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายเพื่อบ่งชี้ว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการบาดเจ็บ การอักเสบ หรือความผิดปกติของเส้นประสาท ซึ่งแบ่งได้หลายประเภท
ปวดเฉียบพลัน (Acute Pain)
เกิดจากบาดแผล การอักเสบ หรือการเจ็บแบบเฉียบพลัน เช่น ปวดฟัน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ สัญญาณความเจ็บปวดจะถูกส่งจากปลายประสาทเข้าสู่ไขสันหลังและไปยังสมอง สมองจะรับรู้และสั่งให้ร่างกายหยุดการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหาย
เหตุผลที่ต้องใช้ยา : เพื่อลดความเจ็บปวด ลดการอักเสบ
ปวดเรื้อรัง (Chronic Pain)
ปวดต่อเนื่องเกิน 3 เดือน เช่น ปวดหลังเรื้อรัง ปวดข้อ ปวดไมเกรน เกี่ยวข้องกับการตอบสนองของระบบประสาทที่เปลี่ยนแปลงไป อาการปวดแบบนี้มักมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและสภาวะจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ ทำให้ร่างกายทรุดโทรมจาการพักผ่อนไม่เพียงพอ
เหตุผลที่ต้องใช้ยา : ยาแก้ปวด ช่วยลดความรุนแรงของอาการ และมักต้องใช้ร่วมกับยาอื่น เช่น ยาต้านซึมเศร้า หรือยากันชัก
ปวดจากระบบประสาท (Neuropathic Pain)
เกิดจากความเสียหายหรือการอักเสบของระบบประสาท เช่น โรคเบาหวาน เส้นประสาทอักเสบ มักมีอาการชาร่วมกับการปวดแบบแปล๊บ ๆ หรือแสบร้อน ยาแก้ปวดธรรมดาอาจไม่ได้ผล ต้องใช้ยาเฉพาะกลุ่มอาการ
ยาใช้ภายในกลุ่มนี้: ยากันชัก เช่น กาบาเพนติน หรือยาต้านซึมเศร้าแบบ tricyclics
ปวดจากมะเร็ง (Cancer Pain)
เกิดจากการลุกลามของเนื้องอก การกดทับเส้นประสาท หรือผลจากการรักษา เช่น คีโม ต้องการยาออกฤทธิ์แรง เช่น ยาโอปิออยด์ อย่างมอร์ฟีน หรือทรามาดอล การใช้ ยาแก้ปวด ในกลุ่มนี้ต้องอยู่ในคำแนะคำของแพทย์
ทำไมต้องใช้ยาแรง: เพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมาน และช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ประเภทของยาแก้ปวด
พาราเซตามอล (Paracetamol)
เป็น ยาแก้ปวด และลดไข้ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เหมาะสำหรับใช้บรรเทาอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง เช่น ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดประจำเดือน ปลอดภัยเมื่อใช้ตามขนาดที่กำหนด (ไม่เกิน 4,000 มก./วัน) เหมาะสำหรับเด็กและผู้ที่มีปัญหากระเพาะ
ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
เช่น ไอบูโพรเฟน นาโปรเซน ไดโคลฟีแนก มีฤทธิ์ลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวด เหมาะสำหรับอาการปวดจากการอักเสบ เช่น ปวดข้อ หรือปวดกล้ามเนื้อ ควรระวังการใช้ในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยโรคไตไต หรือโรคหัวใจ
ยาโอปิออยด์ (Opioids)
เช่น มอร์ฟีน ทรามาดอล โคดีน เป็น ยาแก้ปวด ที่ใช้กับอาการปวดระดับรุนแรง เช่น หลังผ่าตัด หรือมะเร็ง มีความเสี่ยงต่อการเสพติด ต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการเสพติดและผลข้างเคียงอื่น ๆ
ยารักษาอาการเฉพาะทาง
เช่น ยาต้านซึมเศร้า หรือยากันชัก บางชนิดสามารถใช้บรรเทาอาการปวดเรื้อรังหรือปวดจากเส้นประสาทได้ แต่ต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
แนวทางการเลือกใช้ยาแก้ปวดให้เหมาะกับอาการ
อาการปวดเล็กน้อย – สามารถ กินยาแก้ปวด พาราเซตามอล เป็น ยาใช้ภายใน ที่ปลอดภัย
อาการปวดจากการอักเสบ – ใช้ NSAIDs ช่วยลดอักเสบร่วมด้วย
อาการปวดรุนแรง – ใช้ยาโอปิออยด์แบบควบคุมโดยแพทย์
อาการปวดจากระบบประสาท – ใช้ยากันชัก หรือยาต้านซึมเศร้าตามคำแนะนำของแพทย์
อาการปวดบางชนิดสามารถกิน ยาแก้ปวด 2-3 ครั้ง ได้ คือ ปวดหัวจากความเครียด ปวดกล้ามเนื้อหลังยกของหนัก
ปวดฟันก่อนเข้าพบทันตแพทย์ ปวดประจำเดือนรุนแรงช่วง 1-2 วันแรก ในกรณีเหล่านี้สามารถใช้ ยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือ NSAIDs แบบสั้น ๆ ได้ ไม่เกิน 2-3 วันหากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์ ไม่ควรกิน ยาแก้ปวด ซ้ำไปเรื่อย ๆ
ข้อควรระวังในการใช้ยาแก้ปวด
ยาแก้ปวด เป็น ยาใช้ภายใน ที่ต้องรับประทานเข้าสู่ร่างกาย การ กินยาแก้ปวด จึงต้องระมัดระวัง และการใช้ยาบางกลุ่มควรต้องให้แพทย์เป็นผู้ดูแล
-ห้ามใช้ยาเกินขนาด หรือใช้ติดต่อกันเกิน 3-5 วันโดยไม่ปรึกษาแพทย์
-หลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกับแอลกอฮอล์ หรือยาอื่นโดยไม่ทราบผลข้างเคียง
-ระวังการใช้ยาในผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ป่วยโรคประจำตัว เช่น โรคตับหรือไต
-ยาโอปิออยด์ควรใช้เฉพาะกรณีจำเป็น และควบคุมโดยแพทย์เท่านั้น
สรุป
การเลือกใช้ ยาแก้ปวด อย่างเหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญในการบรรเทาอาการปวดและลดความเสี่ยงจากผลข้างเคียง หาก กินยาแก้ปวด 2-3 ครั้งแล้วอาการปวดยังไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยา และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด