ปัญหาสุขภาพเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน การไปโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญตรวจรักษาจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ อย่างไรก็ตามบางครั้งด้วยอาการที่ไม่ชัดเจนมักทำให้ผู้ป่วยเกิดข้อสงสัยว่าแพทย์จะสั่งให้นอนโรงพยาบาลหรือไม่? คำถามที่ตามมาจึงหนีไม่พ้นอาการแบบไหนควรนอนโรงพยาบาล แล้วมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง มาหาคำตอบทั้งหมดกันเลย
รวมสาระความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ โรงพยาบาลใกล้ฉัน
หัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับการนอนโรงพยาบาล
- แอดมิทโรงพยาบาล คืออะไร?
- อาการแบบไหนควรนอนโรงพยาบาล
- นอนโรงพยาบาล ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
- นอนโรงพยาบาล มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- นอนโรงพยาบาล ประกันสังคมจ่ายไหม?
- นอนโรงพยาบาล 1 คืนนับยังไง?
แอดมิทโรงพยาบาล คืออะไร?
แอดมิทโรงพยาบาล คือ การเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยสถานะผู้ป่วยในและต้องนอนค้างที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 1 คืน เพื่อตรวจเช็กอาการ รักษาหรือบรรเทาความเจ็บป่วยดังกล่าวไม่ว่าจะเกิดจากโรคภัยหรืออุบัติเหตุใด ๆ ก็ตาม เช่น คุณรู้สึกแน่นหน้าอกมากตอนกลางดึกต้องรีบไปโรงพยาบาลใกล้ฉันเป็นการด่วน แพทย์ตรวจอาการเบื้องต้นเห็นสมควรสั่งให้นอนโรงพยาบาล 1 คืน เพื่อเช็กอาการซ้ำอีกรอบตอนเช้า เป็นต้น
อาการแบบไหนควรนอนโรงพยาบาล
โดยทั่วไปแล้วแพทย์ผู้ทำการรักษาจะวิเคราะห์ความเหมาะสมของคนไข้ว่าควรได้นอนโรงพยาบาลหรือไม่ อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงอาการเบื้องต้นที่ประเมินแล้วมีโอกาสต้องแอดมิทเพื่อตรวจเช็กอาการอย่างละเอียด ได้แก่
- มีไข้สูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียส เกิน 24 ชม.
- ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท จนผู้ป่วยแสดงอาการบางอย่างชัดเจน เช่น หน้ามืด เป็นลม หายใจถี่ รู้สึกเหมือนสำลักของเหลว
- หายใจไม่ออก ติดขัด หรือในผู้ใหญ่หายใจเร็วเกิน 25 ครั้ง / นาที
- โรคประจำตัวแสดงอาการรุนแรง
- อุบัติเหตุหนักต้องรักษาและพักฟื้นเพื่อตรวจอาการอย่างละเอียด
- อื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์
นอนโรงพยาบาล ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
ผู้ป่วยหลายรายต้องแอดมิทโรงพยาบาลแบบฉุกเฉินจึงอาจยังไม่ได้มีการเตรียมความพร้อมมากนัก ซึ่งกรณีนี้ญาติสามารถจัดการให้ภายหลังได้ ขณะผู้ป่วยบางรายที่มีนัดต้องนอนโรงพยาบาลแน่นอน เช่น เตรียมผ่าตัด ซึ่งไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามสิ่งที่ต้องเตรียม มีดังนี้
- เอกสารประจำตัวและเอกสารแสดงสิทธิ์ต่างๆ เช่น บัตรประชาชน บัตรประกันสุขภาพ บัตรข้าราชการ เป็นต้น
- ยาประจำตัว ของผู้ป่วยที่ต้องทานประจำ
- กรณีโรงพยาบาลอนุญาตให้ญาติเฝ้าไข้ได้ 1 คน แนะนำว่าควรเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ หรือสามารถพูดคุยสื่อสารกับแพทย์ พยาบาล ได้อย่างเข้าใจ
- ของใช้ส่วนตัวอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย เช่น เสื้อผ้าใส่วันกลับ ผ้าอนามัย
นอนโรงพยาบาล มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
ในส่วนของค่าใช้จ่ายเมื่อต้องนอนโรงพยาบาลโดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยต้องทำการชำระตามรายละเอียดเบื้องต้น ดังนี้
- ค่าห้องพัก / ค่าเตียง
- ค่าอาหาร
- ค่าสารอาหารทางน้ำเข้าเส้นเลือด (การให้น้ำเกลือ)
- ค่าบริการแพทย์
- ค่ายาผู้ป่วยใน
- ค่าตรวจวินิจฉัยต่าง ๆ ตามอาการและโรคของผู้ป่วย เช่น การเอกซเรย์ รังสีวิทยา ค่าห้องผ่าตัด ค่าวิสัญญีแพทย์ ค่าอุปกรณ์และเครื่องมือในห้องผ่าตัด
นอนโรงพยาบาล ประกันสังคมจ่ายไหม?
สิทธิประกันสังคมถือเป็นสิ่งที่คนทำอาชีพพนักงานบริษัททุกคนจะต้องได้รับจากการจ่ายเงินสมทบ (มาตรา 33) หากไม่ได้มีอาชีพดังกล่าวแล้วแต่อยากส่งเงินสมทบต่อก็จะได้รับสิทธิตามมาตรา 39 ส่วนบุคคลทั่วไปหากต้องการทำประกันสังคมก็จะได้รับสิทธิตามมาตรา 40 ซึ่งแต่ละปียังสามารถทำเรื่องเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมได้ อย่างไรก็ตามกรณีที่ต้องนอนโรงพยาบาลทางประกันสังคมก็มีเงื่อนไข ดังนี้
1. โรงพยาบาลรัฐ
- เบิกจ่ายได้ตามความจำเป็นแบบไม่จำกัดจำนวนครั้ง แต่ต้องไม่เกิน 72 ชม. (ไม่รวมหยุดราชการหรือวันนักขัตฤกษ์)
- ค่าห้องและค่าอาหารไม่เกิน 700 บาท / วัน
2. โรงพยาบาลเอกชน
- เบิกจ่ายค่ารักษาทั่วไปไม่เกิน 2,000 บาท / วัน
- ค่าห้องและค่าอาหารไม่เกิน 700 บาท / วัน
- ห้อง ICU ค่าห้องและค่าอาหารไม่เกิน 4,500 บาท / วัน
- ค่าผ่าตัดครั้งละ 8,000 – 16,000 บาท ตามระยะเวลาระหว่างดำเนินการผ่าตัด (ไม่เกิน 2 ครั้ง / ปี สำหรับผู้ป่วยใน)
- ค่าฟื้นคืนชีพไม่เกิน 4,000 บาท / ครั้ง
- ค่าเอกซเรย์ X-ray / ค่าตรวจห้องปฏิบัติการไม่เกิน 1,000 บาท / ครั้ง
- ค่าตรวจ CT Scan ไม่เกิน 4,000 / ครั้ง
- ค่าตรวจ MRI (Magnetic Resonance Imaging) ไม่เกิน 8,000 บาท / ครั้ง
นอนโรงพยาบาล 1 คืนนับยังไง
ปกติแล้วเมื่อแอดมิทโรงพยาบาล เช่น อาหารเป็นพิษต้องรีบไปโรงพยาบาลใกล้ฉัน จะนับเวลาตั้งแต่รับผู้ป่วยจนครบ 24 ชม. ถือเป็น 1 วัน แต่กรณีนอนโรงพยาบาลไม่ถึง 24 ชม. แต่เกิน 6 ชม. ก็ถือเป็น 1 คืน