ข้อแตกต่างของยาใช้ภายนอกและยาใช้ภายใน เมื่อพูดถึงยา สิ่งแรกที่ทุกคนนึกถึงแน่นนอนอยู่แล้วก็ต้องเป็นยากิน ยาทา เพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการของโรค แต่คุณรู้หรือไม่ว่าประเภทของยาแต่ละชนิดนั้นเป็นข้อแตกต่างกันอย่างไร? ยาสามัญประจำบ้านบางตัวก็เป็นทั้งยาใช้ภายนอก และยาใช้ภายใน บางทีตัวยาเดียวกันแต่การผลิตออกมาเป็นคนละรูปแบบก็มีข้อบ่งใช้ที่แตกต่างกันไป วันนี้เรามาดูกันว่ายาที่ใช้ภายนอกและภายในมีข้อแตกต่างกันอย่างไร
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับยาใช้ภายนอกและยาใช้ภายใน
- ยาใช้ภายนอก คืออะไร?
- ยาใช้ภายนอก มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
- ยาใช้ภายใน คืออะไร?
- ยาใช้ภายใน มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
- ยาใช้ภายนอกและยาใช้ภายใน แตกต่างกันยังไง
- วิธีการใช้ยาภายในและภายนอก
- ตัวอย่างของยาภายนอกภายในที่สามารถพบได้ทั่วไป
ยาใช้ภายนอก คืออะไร?
ยาใช้ภายนอก หรือ ยาภายนอก (External Use Drug) คือ ยาที่ใช้เพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการของโรคเฉพาะจุด โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ตัวยาเกิดการดูดซึมจากบริเวณผิวหนังหรือเนื้อเยื่อผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือด เช่น ยาประเภททาภายนอก ยาหยอด เป็นต้น
ลักษณะการออกฤทธิ์ของตัวยาใช้ภายนอก
การออกฤทธิ์ของยาประเภทใช้ภายนอก จะมีลักษณะออกฤทธิ์ผ่านการดูดซึมของตัวยาผ่านผิวหนัง หรือซึมผ่านช่องรูขุมขนและท่อเหงื่อบริเวณผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือด โดยปริมาณของยาที่ผ่านผิวหนังจะมีปริมาณที่จำกัด
ยาใช้ภายใน ฉลากสี อะไร
สำหรับยาใช้ภายนอกนั้นที่บริเวณของฉลากจะมีตัวอักษรระบุว่าเป็นยาใช้ภายนอกด้วย ‘สีแดง’ ซึ่งบางครั้งยาภายนอกบางตัว อาจมีอักษร ‘ยาอันตราย’ หรือ ‘ยาใช้เฉพาะที่’ ระบุเป็นสีแดงที่ฉลากได้เช่นกัน
การจัดยาไว้ในกล่องยาหรือชั้นวางยาควรมีการติดฉลากสีแดงไว้ด้วยเพื่อให้สามารถสังเกตุเห็นได้ชัดว่าเป็นประเภทของยาชนิดใดเพื่อป้องกันการหยิบใช้ยาผิดชนิด เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ใช้ยานั่นเอง และยาสามัญประจำบ้านบางตัว ก็เป็นยาภายนอกด้วย เพราะฉะนั้นก่อนใช้จึงควรอ่านเอกสารกำกับยาเพื่อการใช้ยาอย่างปลอดภัย
ยาใช้ภายนอก มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ประเภทของยายาใช้ภายนอกสามารถแบ่งได้เป็น 8 ประเภท ได้แก่
1. ยาประเภทครีมทาภายนอก
พบบ่อยในพวกยารักษาเกี่ยวกับอาการหรือโรคทางผิวหนัง และอาการปวด เช่นครีมบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ครีมรักษาเชื้อรา หรืออการคัน
2. ยาประเภทขี้ผึ้ง หรือออยท์เมนท์
ยาขี้ผึ้ง มักใช้สำหรับทาภายนอกอยู่แล้ว ซึ่งจะแบ่งย่อยออกเป็น 4 ชนิด ตามคุณสมบัติ คือ ยาพื้นชนิดเป็นมัน, ยาพื้นชนิดดูดน้ำได้, ยาพื้นชนิดละลายน้ำได้ และยาพื้นชนิดอิมัลชัน เป็นต้น ยาประเภทขี้ผึ้ง เช่น ยาหม่อง, ยาขี้ผึ้งทารักษาแผล หรือยาขี้ผึ้งป้ายตา
3. ยาประเภททิงเจอร์
ประเภทของยาที่เป็นทิงเจอร์ ส่วนมากมักใช้ในการใส่แผลเพื่อรักษาแผลสด อย่าง ‘ทิงเจอร์ไอโอดีน’ หรือ ‘โพวิโดน-ไอโอดีน’ ที่เราชอบเรียกกันแบบติดปากว่า ‘เบตาดีน’ นั่นแหละ
4. ยาประเภทยาหยอด
เช่น ยาหยอดตา ยาหยอดหู ซึ่งยาเหล่านี้มักเป็นยาใช้เฉพาะที่ด้วย เมื่อเปิดใช้สามารถเก็บได้ประมาณ 1 เดือน เนื่องจากมีการผ่านกระบวนการเพื่อทำให้ปราศจากเชื้อโรคแล้ว เวลาใช้ควรระมัดระวัง เพราะยาบางชนิดสามารถยอดได้ทั้งหูและตา แต่ชนิดที่ระบุชัดเจนต้องระวัง โดยเฉพาะยาหยอดหูจะมีความเข้มข้นกว่ายาหยอดตา จึงไม่ควรนำมาช้หยอดตาเด็ดขาด
5. ยาประเภทยาสอด หรือยาเหน็บ
ยาเหน็บ มักใช้รักษาเฉพาะที่รักษาเฉพาะที่ เช่น การรักษาอาการของโรคริดสีดวง อาการของเชื้อราในช่องคลอด อาการท้องผูก
6. ยาประเภทยาสวนทวาร
ส่วนมากยาชนิดนี้มักใช้ในกณณีที่มีอาการท้องผูก ถ่ายไม่ออก หรือผู้ที่ลำไส้อักเสบด้วย หากเป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับไตควรอ่านใบกำกับเพื่อเช็คส่วนผสมก่อนใช้ เพราะยาสวนทวารบางตัวอาจมีส่วนผสมของเกลือฟอสเฟต ซึ่งมีน้ำเกลือที่เข้มข้นมากๆไม่ควรใช้เด็ดขาด หรือใครที่มีแผล ความผิดปกติที่บริเวณรูทวาร ตนท้อง คนให้นมบุตร หรือเพิ่งผ่าตัดลำไส้ ก็ควรหลีกเลี่ยงการสวนทวาร
7. ยาประเภทยาพ่น
-
ยาพ่นคอ เช่น ยาพ่นหอบหืด ยาที่ใช้พ่นเพื่อให้ชุ่มคอ บรรเทาอาการไอ
-
ยาพ่นจมูก ส่วนมากใช้รักษาอาการของโรคภูมิแพ้ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ยาพ่นจมูกกลุ่มสเตียรอยด์ สำหรับรักษาอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ริดสีดวงจมูก และ กลุ่มที่ 2 ประเภทของยาชนิดหดหลอดเลือด ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก ลดน้ำมูกในผู้เป็นโรคหวัด หยุดเลือดกำเดาไหล และโพรงจมูกอักเสบ
8. ยาประเภทแปะผิวหนัง
เช่น ยาแปะเพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการคันที่ผิวหนัง ยาคุมกำเนิดชนิดแปะ เป็นต้น
ยาใช้ภายใน คืออะไร?
ยาใช้ภายใน หรือยากิน (Internal Use Drug) คือ ยาที่ใช้รับประทาน เพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการของโรค โดยตัวยาจะไม่ได้ออกฤทธิ์เฉพาะจุดเหมือนกับยาที่ใช้ภายนอก ฤทธิ์ของตัวยาจะออกฤทิ์แรงกว่าและมากกว่ายาที่ใช้สำหรับภายนอก
ลักษณะการออกฤทธิ์ของตัวยาใช้ภายใน
ลักษณะการออกฤทธิ์ของยาประเภทที่ใช้สำหรับใช้ภายในหรือยากิน จะออกฤทธิ์หลังจากเรารับประทานยาเข้าไป โดยยาจะเดินทางเข้าสู่ระบบย่อยอาหาร จากนั้นยาจะเกิดการละลายตัวเองให้เป็นโมเลกุลเล็กและผสมกับของแหลวภายในระบบย่อยอาหาร เพื่อให้ง่ายต่อการดูดซึมผ่านผนังของอวัยวะต่างๆ ที่ตัวยาเดินทางผ่าน หลังจากตัวยาถูกดูดซึมแล้วยาก็เดินทางไปจับกับตัวรับเซลล์ที่เข้ากันได้และออกฤทธิ์เข้าไปยับยั้งอาการหรือรักษาอาการของโรคนั้นๆ
ยาใช้ภายใน ฉลากสี อะไร
ฉลากหรือสีตัวอักษรของยาใช้ภายในนั้นไม่สามารถระบุได้อย่างขัดเจน เพราะโดยส่วนมากที่ฉลากยาจะไม่ได้เขียนว่า ยาใช้ภายใน แต่อาจเขียนเป็น ‘ยาสามัญประจำบ้าน’ หรือ ‘ยาใช้เฉพาะที่’ ซึ่งหากเป็นยาสามัญประจำบ้านจะมีสีเขียว ถ้าอยู่ในกรอบเขียวคือยาที่ขายในร้านชำหรือยาทั่วไปได้ หากเป็น ยาใช้เฉพาะที่่ จะมีตัวอักษร หรือกรอบสีแดง
ยาใช้ภายใน มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ยาใช้ภายในส่วนมากมักเป็นยากิน และยาสามัญประจำบ้าน ประเภทของยาใช้ภายในสามารถแบ่งได้เป็น 5 ชนิด ได้แก่
1. ยาแคปซูล ยาเม็ด หรือยาเม็ดคลือบ สำหรับรับประทาน
เป็นประเภทของยาชนิดสำหรับใช้เพื่อรับประทาน
2. ยาเม็ด หรือยาแคปซูล สำหรับรับประทาน ชนิดชะลอการปล่อยตัวยาสำคัญ
เป็นยาทีต้องทำการกลืนเป็นเม็ด หรือทั้งแคปซูล ผู้ใช้จะต้องกลืนยาทั้งเม็ดหรือแคปซูลด้วยน้ำสะอาดอย่างเดียว โดยห้ามบดหรือเคี้ยวก่อนการกลืน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะได้รับยาในปริมาณมากเกินไป ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งนี้ไม่ควรแกะแคปซูลและเทผงยาออกมาใส่ปาก การทำแบบนี้อาจทำให้ผู้ใช้ได้รับยาเกินขนาด ทั้งนี้เพราะยาที่ออกมาจะไม่ได้รับการควบคุมในการปลดปล่อยตัวสารสำคัญโดยเจตนา
3. ยาน้ำ สำหรับรับประทาน ชนิดน้ำแขวนตะกอน (ต้องเขย่าก่อนกิน)
ส่วนมากยาชนิดนี้มักพบบ่อยในยาของเด็ก ซึ่งก่อนทานต้องเขย่าขวดทุกครั้งเพื่อให้ตัวยาที่ตกตะกอนกลับมารวมตัวกันอย่างสม่ำเสมอ หากเขย่าแล้วพบว่ายายังไม่จับตัวหรือตกตะกอนเป็นน้ำมันอาจหมายความว่ายาเสื่อมสภาพ ไม่ควรนำมารับประทาน
4. ยาอม หรือยาอมใต้ลิ้น
- ยาอม มักใชทานเพื่อบรรเทาอาการระคายคอ เจ็บคอ หรือทำให้ชุมคอ เช่น ยาอมแก้ไอ ยาอมแก้เจ็บคอ ยาอมบางชนิดอาจมีรสชาติอร่อย แต่ก็ไม่ควรรับประทานเยอะเพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ และควรใช้ให้ถูกชนิด เช่น มีอาการไอ ก็ควรใช้ยาอมแก้ไอ ไม่ใช่แ้เจ็บคอ
- ยาอมใต้ลิ้น (ยาไอเอสดีเอ็น) เป็นยาขยายหลอดเลือด ป้องกันอาการเจ็บที่หน้าอกซึ่งเกิดจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จะใช้ในกรณีที่มีอาการเจ็บ หรือแน่นหน้าอกเท่านั้น ทั้งนี้ยาไม่ใช่ยารักษาแต่ใช้เพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น
5. ยาผง หรือยาชงดื่ม
ยาผง เป็นยาชนิดใช้เพื่อรับประทาน ที่มีการแบ่งขนาดรับประทานไว้ล่วงหน้า โดยตัวยามักจะมีการละลายตัวดีและมีรสชาติอร่อย ยาชนิดนี้ต้องผสมน้ำก่อนรับประทาน เช่น ผงเกลือแร่ ORS สำหรับทดแทนการสูญเสียน้ำเมื่อท้องเสีย
ยาใช้ภายนอกและยาใช้ภายใน แตกต่างกันยังไง
ประเภทของยาทั้ง 2 ชนิดนี้ มีรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกัน และให้ผลลัพธ์ที่ไม่เหมือนกันด้วย ดังนั้นจึงต้องศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนการใช้งาน ที่สำคัญที่สำคัญการเลือกซื้อยาเพื่อรักษาอาการของโรคต่างๆ
ควรผ่านการวินิจฉัยโรคจากแพทย์ หรือควรปรึกษากับเภสัชกรก่อนซื้อยารวมถึงแจ้งอาการป่วยให้ชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาผิดตัว สามารถรักษาตรงจุดและความปลอดภัยของตัวคุณเอง
วิธีการใช้ยาภายในและภายนอก
- ควรใช้ยาใช้ยาให้ตรงกับอาการของโรค เพื่อป้องกันการรับผลข้างเคียงของยาโดยไม่จำเป็น
- ควรอ่านฉลากยา เอกการกำกับยา ก่อนการใช้งาน และควรทำตามวิธีการใช้ยาอย่างครบถ้วนและถูกต้อง
- ใช้ยาให้ตรงกับการใช้งาน ไม่ควรเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ยาด้วยตนเอง เช่น นำยาดมมารับประทาน, ใช้ครีมทาที่ตา นำยาแคปซูลมาละลายใส่น้ำก่อนรับประทาน เป็นต้น การทำแบบนี้อาจก่อให้เกิดอันตรายได้
- ควรใช้ยาให้ถูกตามเวลา เช่น ยาทานบางชนิดจะระบุว่าให้รับประทานหลังมื้ออาหารเนื่องจาก หากรับประทานเมื่อท้องว่างอาจไปกัดกระเพาะได้นั่นเอง
- ระวังเรื่องปริมารการรับยา ควรใช้ในปริมาณทฉลากแนะนำเพื่อป้องกันการรับยาเกินขนาด เพราะอาจลดประสิทธิภาพในการรักษา หรือส่งอันตรายต่อผู้รับประทานยา
ตัวอย่างของยาภายนอกภายในที่สามารถพบได้ทั่วไป
ตัวอย่างของยาภายนอก
ตัวอย่างของยาภายนอก หรือยาที่ใช้เพื่อหวังผล เช่น
- ยาหยอด หยอดหู
- ยาดมสำหรับบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ
- ยาหม่องสมุนไพร
- ยาใช้ทาแผล เช่น เบตาดีน ยาแดง ยาเหลือง
- ครีมทาแผล
ตัวอย่างของยาภายใน
ตัวอย่างของยาภายใน หรือยาที่ใช้กิน หรือนำเข้าสู่ร่างกาย เช่น
- ยาแก้ไข้
- ยาแก้หวัด
- ยาแก้ปวด
- ยาที่วิตามินต่างๆ
- ผงเกลือแร่แก้ท้องเสีย
- ยาที่ใช้ฉีดเข้าไปในร่างกาย เช่น ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือหลอดเลือด
บทสรุป
มาถึงตรงนี้แล้วหลายคนคงเห็นถึงข้อแตกต่างของยาที่ใช้สำหรับภายนอกและภายในกันแล้ว ว่ายาทั้ง 2 ประเภทนั้นมีลักษณะและการออกฤทธิ์ที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด และลักษณะของตัวอย่างก็มีความแตกต่างกัน แต่ทั้งนี้การเลือกซื้อยาเพื่อรักษาอาหารของโรคต่างๆ ควรผ่านการวินิจฉัยโรคจากแพทย์ หรือได้รับคำปรึกษาจากเภสัชกรก่อนว่าสามารถใช้ยาชนิดนี้ได้หรือไม่ เพื่อการรักษาที่ตรงจุดและความปลอดภัยของตัวคุณเอง
บทความที่น่าสนใจ
แหล่งอ้างอิง