ฉีดวัคซีน กับคำถามยอดฮิตที่พบบ่อย

ในปัจจุบันการฉีดวัคซีนมีบทบาทสำคัญอย่างมาก เพราะถือเป็นอีกหนึ่งในตัวช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับโรคร้าย ควบคุมอัตราผู้ป่วย และลดความเสี่ยงของโรคตามชนิดของวัคซีนที่ฉีด ถึงแม้ว่าการฉีดวัคซีนจะมีมานานแล้ว แต่เราก็ยังอดกังวลไม่ได้เวลาต้องรับการฉีดวัคซีน ชนิดใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้นมาตามจำนวนโรคและสายพันธุ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

วันนี้ ทูเฮลท์ตี้เลยขอรวมคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับวัคซีนมาให้เลย อย่าง ฉีดวัคซีนพร้อมกันได้ไหม ฉีดวัคซีนมีข้อห้ามอะไรบ้าง หรือการฉีดวัคซีนกับคนท้อง เพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจก่อนรับวัคซีน จะมีอะไรบ้างไปดูกันได้เลย!

คนมีลูกต้องอ่านรู้ก่อนฉีดวัคซีน วัคซีนเด็กต้องฉีดตอนไหนบ้าง

คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับการ ฉีดวัคซีน




วัคซีนสามารถฉีดหลายชนิดพร้อมกันได้ไหม

วัคซีนสามารถฉีดหลายชนิดพร้อมกันได้ไหม
วัคซีนสามารถฉีดหลายชนิดพร้อมกันได้ไหม

สามารถทำได้ แต่ควรฉีดเพียงชนิดเดียวในหนึ่งครั้งจะดีกว่า เพื่อความปลอดภัยเพราะบางกรณีอาจมีการแพ้วัคซีน ซึ่งหากมีฉีดวัคซีนพร้อมกันหลายชนิด อาจยากในการหาว่าแพ้วัคซีนตัวไหน รวมถึงหากเป็นเด็กเล็กอาจเจ็บมากขึ้น หากอยากฉีดวัคซีนหลายชนิดแนะนำให้ฉีดเป็นวัคซีนชนิดเข็มรวมดีกว่า

หากได้รับวัคซีนไม่ตรงวันนัด หรือรับการฉีดช้าจะเป็นอะไรไหม

ได้รับการฉีดวัคซีนช้าจะเป็นอะไรไหม
ได้รับการฉีดวัคซีนช้าจะเป็นอะไรไหม

ไม่เป็นไร หากคุณได้รับการฉีดวัคซีนช้ากว่ากำหนด แต่การฉีดวัคซีนตามเวลาแน่นอนว่าย่อมเป็นผลดีอยู่แล้ว เพราะยิ่งฉีดไวก็ยิ่งกระตุ้นภูมิคุ้มกันไวขึ้น หากลืมฉีดหรือฉีดวัคซีนช้าก็ ไม่มีความจำเป็นที่ต้องเริ่มฉีดวัคซีนใหม่ตั้งแต่เข็มแรก แต่ควรไปฉีดเข็มถัดไปให้เร็วที่สุด เพื่อให้ได้รับวัคซีนครบถ้วนตามจำนวนครั้งที่กำหนด 




ฉีดวัคซีนมีข้อห้ามอะไรไหม

คนที่ฉีดวัคซีนแล้วเกิดอาการแพ้
คนที่ฉีดวัคซีนแล้วเกิดอาการแพ้

มี โดยจะแบ่งเป็น 2 กรณี

  • คนที่มีอาการแพ้วัคซีนอย่างรุนแรง แพทย์จะแนะนำให้งดรับการฉีดวัคซีนต่อ หรือหากวัคซีนนั้นมีความจำเป็น ที่ต้องรับการฉีดอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนชนิดหรือยี่ห้อก่อนรับการฉีดวัคซีน ในกรณีที่แพ้ไขสามารถฉีดวัคซีนได้ทุกชนิด
  • คนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่ว่าจะตั้งแต่กำเนิดหรือบกพร่องภายหลัง เช่น ผู้ป่วยเอดส์ที่รับเคมีบำบัด ควรรับวัคซันชนิดเชื้อตายแทนเชื้อเป็น แต่หากวัคซีนที่ฉีดมีแต่เชื้อเป็นอาจต้องพิจารณาอีกทีว่าจะฉีดหรือไม่ หรือ คนที่ติดเชื้อ HIV ที่มีเม็ดเลือดขาว CD-4 ในระดับปกติ จะสามารถฉีดวัคซีนเชื้อเป็นได้อย่างวัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม และวัคซีนอีสุกอีใสได้

ฉีดวัคซีนตอนท้องได้ไหม

สามารถฉีดวัคซีนตอนท้องได้ไหม
สามารถฉีดวัคซีนตอนท้องได้ไหม

สามารถฉีดได้ แต่ควรฉีดเฉพาะวัคซีนที่มีความจำเป็นเท่านั้น โดยวัคซีนที่คนท้องจำเป็นต้องฉีด ได้แก่ วัคซีนคอตีบ-บาดทะยักสูตรผู้ใหญ่ หรือทีแด๊ป(Tdap) และวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ส่วนวัคซีนที่เป็นเชื้อเป็นที่ควรฉีดหลังคลอด ได้แก่ วัคซีนอีสุกอีใส วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม วัคซีนเอชพีวี และวัคซีนไข้เลือดออก แต่หากฉีดวัคซีนที่กล่าวมาแล้วก็ไม่ได้มีอันตรายอะไร แต่ควรฉีดเข็มถัดไปหลังคลอดจนครบกำหนด




ให้นมลูกอยู่ฉีดวัคซีนได้ไหม

แม่ที่ให้นมลูกอยู่ฉีดวัคซีนได้ไหม
แม่ที่ให้นมลูกอยู่ฉีดวัคซีนได้ไหม

โดยส่วนมากสามารถฉีดวัคซีนได้ตามปกติ ยกเว้นวัคซีนไข้หวัดออก ทั้งนี้คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับการฉีดวัคซีนค่ะ

คุณแม่ที่เพิ่งจะคลอดลูกหมาดๆ ยังไม่พร้อมมีน้องเพิ่มทำยังไงดี!!

มีโรคประจําตัวฉีดวัคซีนได้ไหม

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงกับการฉีดวัคซีน
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงกับการฉีดวัคซีน

สามารถฉีดได้อย่างปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอย่าง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ซึ่งผู้ป่วยในกลุ่มโรคนี้ส่วนมากคือผู้สูงอายุ ซึ่งมีการตอบสนองต่อวัคซีนได้ไม่ดีมากนัก หากมีการป่วยเป็นโรคบางชนิดที่วัคซีนสามรถป้องกันได้ก็ควรฉีดวัคซีน เพราะอาการป่วยอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้นั่นเอง วัคซีนที่จำเป็นต้องฉีด คือ วัคซีนไอพีดี วัคซีนไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนงูสวัด




หากไม่สบายอยู่สามารถรับการฉีดวัคซีนได้ไหม

คนป่วยกับการฉีดวัคซีน
คนป่วยกับการฉีดวัคซีน

สามารถฉีดวัคซีนได้ หากมีไข้ต่ำๆ เป็นหวัด แต่หากรู้สึกกังวลสามารถเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อนได้ และรีบมารับวัคซีนหลังจากหายป่วย ส่วนหากเป็นไข้สูงหรือป่วยรุนแรงแนะนำว่าควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อนจะดีกว่า

หากเพิ่งได้รับวัคซีนมา สามารถอาบน้ำได้ไหม

การอาบน้ำหลังฉีดวัคซีน
การอาบน้ำหลังรับการฉีดวัคซีน

หลังรับการฉีดวัคซีนไม่มีข้อห้ามว่าห้ามอาบน้ำนะคะ สามารถอาบน้ำได้ตามปกติเลย รวมไปถึงการว่ายน้ำด้วย หากหลังรับวัคซีนมีอาการป่วย เป็นไข้ ควรงดอาบน้ำและให้เช็ดตัวแทน




วัคซีนสามารถฉีดคนคนละยี่ห้อได้ไหม

วัคซีนโควิด19 ยี่ห้อที่แตกต่างกัน
วัคซีนโควิด19 ยี่ห้อที่แตกต่างกัน

จะต้องแบ่งเป็น 4 กรณี คือ

  • วัคซีนที่เปลี่ยนยี่ห้อได้แบบไม่มีเงื่อนไข เพราะมีส่วนผสมเหมือนหรือใกล้เคียงกัน แต่โดยส่วนมากหากฉีดที่สถานพยาบาลเดิมก็มักจะใช้ยี่ห้อเดิม
  • วัคซีนที่ไม่ควรเปลี่ยนยี่ห้อหรือห้ามเปลี่ยนยี่ห้อ คือวัคซีนที่มีส่วนประกอบในวัคซีนที่แตกต่างกัน ตอนเข้ารับการฉีดวัคซีนควรทำการบันทึกในสมุดสุขภาพและในเวชระเบียนเพื่อง่ายแก่การรับเข็มถัดไป วัคซีนเหล่านี้ ได้แก่ วัคซีนไอพีดี 10 สายพันธุ์ หรือ 13 สายพันธุ์ และ วัคซีนเอชพีวี 2 สายพันธุ์ หรือ 4 สายพันธุ์ หลังการรับควรบันทึกชนิดสายพันธุ์ที่รับ เพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
  • วัคซีนที่สามารถเปลี่ยนได้แบบมีเงื่อนไข เช่น ในกรณีที่วัคซีนในสถานพยาบาลที่รับวัคซีนหมด หรือไม่มีวัคซีนตัวที่เคยรับการฉีด จำเป็นต้องบันทึกชื่อไว้ ได้แก่ วัคซีนโรต้า การสลับยี่ห้อต้องรับให้ครบ 3 ครั้ง หรือ วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี หากสลับเชื้อเป็นและเชื้อตายต้องรับให้ครบ 3 ครั้ง
  • วัคซีนแบบต้องเปลี่ยนยี่ห้อซึ่งจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมสำหรับในช่วงอายุตามที่แนะนำ หลังรับวัคซีนควรบันทึกในสมุดเวชระเบียนและสุขภาพ

วัคซีนของเด็กกับผู้ใหญ่ มีการฉีดแตกต่างกันไหม

วัคซีนของเด็กกับผู้ใหญ่
วัคซีนของเด็กกับผู้ใหญ่

การฉีดวัคซีนในเด็กและผู้ใหญ่จะมีความแตกต่างกันกันบ้าง ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้

  • ปริมาณและขนาด เช่น วัคซีนตับอักเสบเอแบบชื้อตายฉีดในเด็ก 0.5 มล. ส่วนผู้ใหญ่ฉีด 0.5 มล ในขณะที่เชื้อเป็นฉีด 0.5 มล. เท่ากัน หรือ วัคซีนตับอักเสบบี เด็กฉีด 0.5 มล. ส่วนผู้ใหญ่ฉีด 1 มล.
  • จำนวนครั้ง เช่น วัคซีนทีแด๊ป คนท้องฉีด 1 ครั้งต่อการตั้งครรภ์ ส่วนเด็กโตกับผู้ใหญ่ ฉีด 1 ครั้งเท่านั้น
  • ช่วงอายุในการฉีดวัคซีน วัคซีนบางชนิดจะไม่ควรฉีดตอนโต เช่น วัคซีนโรต้า หรือ วัคซีนตับอักเสบเอ วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี วัคซีนอีสุกอีใส แบบเชื้อเป็น จะเหมาะสำหรับผู้ใหญ่ แต่หากเกิน 40 ปี ก็ไม่ต้องฉีดเพราะถือว่ามีภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติแล้ว แต่จะฉีดก็ไม่ได้มีปัญหา
  • ประการรับวัคซีน โดยเฉพาะหากผู้รับการฉีดวัคซีนมีประวัติป่วยจากงูสวัดและ อีสุกอีใส จะต้องมีการพิจาณาก่อนฉีดวัคซีนอีสุกอีใส
  • การทดสอบเลือดก่อนรับวัคซีน วัคซีนตับอักเสบบี ในเด็กสามารถฉีดได้เลยไม่ต้องตรวจเลือด แต่ผู้ใหญจะต้องตรวจเลือดก่อนว่าควรฉีดวัคซีนไหม

แต่ทั้งนี้ก่อนรับการฉีดวัคซีน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับเพราะร่างกายของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่ภูมิคุ้มกันน้อยอย่างทารกและผู้สูงอายุ ส่วนหากต้องการฉีดวัคซีนก็สามารถฉีดได้ที่คลินิก หรือการให้บริการฉีดโดยหน่วยงานรัฐแต่ส่วนมากจะให้สิทธิกลุ่มเสี่ยงก่อน ใครที่มีบัตรทองก็มีบริการฉีดวัคซีนด้วยนะ อ่านสิทธิประโยชน์ของบัตรทองมีสิทธิต้องใช้!




เลือกดูคำถาม

This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.