ชนิดของวัคซีนในปัจจุบันนี้มีมากจนนับไม่ถ้วน ซึ่งส่วนมากที่เรารู้จักกันดีมักเป็นประเภทของวัคซีนที่จำแนกตามการป้องกัน แล้วถ้าชนิดของวัคซีนไม่ได้จำแนกได้แค่ตามการป้องกันล่ะ เราจะสามารถแยกประเภทตามอะไรได้บ้าง ถ้าอยากรู้ก้ไปอ่านกันเลย!
พ่อแม่ต้องอ่าน! วัคซีนเด็กที่ลูกของคุณควรได้รับการฉีดตามช่วงวัย
สารบัญ
- ชนิดของวัคซีน ตามการผลิต
- ชนิดของวัคซีน ตามการป้องกัน
- ชนิดของวัคซีนหลักหรือวัคซีนพื้นฐานมีอะไรบ้าง?
- วัคซีนเสริม หรือวัคซีนทางเลือกมีอะไรบ้าง?
- ประเภทของช่องทางให้วัคซีน
ชนิดของวัคซีน ตามการผลิต
ในปัจจุบันมีวัคซีนเพิ่มขึ้นมามากมาย เพราะในขณะที่วัคซีนมีการพัฒนาประสิทธิภาพ เชื้อโรคก็มีวิวัฒนาการเช่นกัน จึงจำเป็นต้องมีกรรมวิธีการผลิตที่เปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือกับเชื้อต่างๆ ซึ่งหากแบ่งชนิดของวัคซีนตามการผลิต จะจำแนกได้ดังนี้
1. ท็อกซอยด์ (Toxoid vaccines)
เป็นวัคซีนที่วิธีการผลิตโดยการนำเอาพิษของเชื้อของตัวเชื้อที่ทำให้เกิดโรคนั้นๆมาผลิต เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แต่ร่างกาย ซึ่งพิษนั้นจะไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย ตัวอย่างวัคซีนชนิดนี้ เช่น
- วัคซีนคอตีบ
- วัคซีนบาดทะยัก
- วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ฮิบ-ตับอักเสบบี
- วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน
- วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก (สูตรผู้ใหญ่)
- วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (สูตรผู้ใหญ่)
2. ชนิดของวัคซีนเชื้อเป็น (Live-attenuated vaccines)
เป็นชนิดของวัคซีนที่ผลิตจากเชื้อที่มีชีวิต โดยนำเอาเชื้อนั้นมาผ่านกระบวนการเพื่อให้เชื้ออ่อนแรงลงจึงทำให้ไม่เกิดโรค กลไกของวัคซีนนี้จะคล้ายกับการที่ตัวเรารับเชื้อโรคเข้าไปและเกิดเป็นภูมิคุ้มกันในร่างกายที่เกิดเองโดยธรรมชาติ แต่นี้ก็มีข้อควรระวังเช่นกันคือ ไม่ควรฉีดในคนที่มี ภูมิคุ้มกันบกพร่อง คนที่ปัญหาสุขภาพ หรือคนที่เคยมีการปลูกถ่ายอวัยวะ ตัวอย่างวัคซีนชนิดนี้ เช่น
- วัคซีนโรตา
- วัคซีนรวมMMR (วัคซันหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม)
- วัคซีนไข้เหลือง
- วัคซีนอีสุกอีใส
3. ชนิดของวัคซีนเชื้อตาย (Inactivated vaccines)
ประเภทของวัคซีนเชื้อตายก็ตรงตามชื่อเลยคือ การนำเชื้อที่ตายแล้วมาใช้ในการผลิตและรับผ่านทางการฉีดวัคซีนเข้าไปภายในกล้ามเนื้อ ซีนชนิดนี้จะป้องกันโรคได้ไม่เท่าชนิดเชื้อเป็นการรับวัควีนชนิดนี้จะต้องรับหลายครั้ง หรือก็คือต้องฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างวัคซีนชนิดนี้ เช่น
- วัคซีนไอพีดี
- วัคซีนฮิบ
- วัคซีนตับอักเสบบเอชนิดเชื้อตาย
- วัคซีนตับอักเสบบี
- วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่
- วัคซีนไอกรน
- วัคซีนพิษสุนัขบ้า
4. วัคซีนเว็กเตอร์ไวรัส (Viral Vector Vaccine)
เป็นวัคซีนที่ผลิตโดยใช้ไวรัสเป็นพาหะ ซึ่งไวรัสที่ใช้จะเป็นไวรัสชนิดที่สามารถตัดแต่งพันธุกรรมได้ วัคซีนชนิดนี้สามารถช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี ตัวอย่างวัคซีนชนิดนี้ เช่น วัคซีนป้องกันโควิด-19
5. วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ (Messenger RNA – mRNA)
วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ เป็นวัคซีนที่สร้างโปรตีนเพื่อไปช่วยกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งวัคซีนชนิดนี้สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็วโดยการใช้รหัสพันธุกรรมของเชื้อโรค วิธีนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างสะดวกในช่วงที่มีโรคระบาดเนื่องจากมีระยะเวลาการผลิตที่ค่อนข้างรวดเร็ว ตัวอย่างวัคซีนชนิดนี้ เช่น วัคซีนป้องกันโควิด-19
การทำงานของวัคซีน mRNA
ชนิดของวัคซีน ตามการป้องกัน
โดยเราสามารถแบ่งประเภทของวัคซีนตามการป้องกันได้ตามเชื้อ หรือโรคดังต่อไปนี้
-
วัคซีนป้องกันวัณโรค (ฺBCG)
เป็นวัคซีนที่ฉีดเพื่อป้องกันการติดเชื้อวัณโรค ที่เป็นโรคสามารถติดเชื้อได้ผ่านทางระบบทางเดินหายใจ จัดเป็นวัคซีนเด็กตามช่วงวัยที่ควรได้รับการฉีดตั้งแต่ช่วงแรกเกิด
-
วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี
สำหรับฉีดเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบบี เชื้อที่สามารถติดได้จากแม่สู่ลูก ซึ่งอันตรายเพราะหากติดตั้งแต่เด็กอาจก่อให้เกิดอาจส่งผลเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังได้
-
วัคซีนโรต้า
เป็นวัคซีนที่ฉีดเพื่อช่วนลดความรุนแรงของโรคอุจจาระร่วง ที่พบบ่อยในเด็กเล็กซึ่งหากเป็นนานๆอาจส่งอันตรายได้เนื่องจากเกิดภาวะขาดน้ำ หรือขาดสารอาหารได้
-
วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (Tdap)
วัคซีนเข็มรวมสำหรับป้องกันคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน สำหรับคนที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป, คนท้อง และผู้ที่ได้รับแผลจากของมีคมบาดที่อาจทำให้กลายเป็นบาดทะยัก วัคซีนชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันสูง
-
วัคซีนฮิบ
วัคซีนชนิดนี้ฉีดเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อฮิบและลดโอกาสการเกิดความพิการจากเชื้อฮิบ ซึ่งสามารถพบได้ในเด็กอายุ 2 เดือนขึ้นไป จนถึง 2 ปี ส่วนเด็กที่อายุมากกว่า 2 ปี อาจไม่จำเป็นต้องฉีดเนื่องจากความเสี่ยงต่ำ และค่าใช้จ่ายสูง ยกเว้นแต่ว่าเป้นผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
-
วัคซีนโปลิโอ
หลายๆคนน่าจะเคยรับวัคซีนตัวนี้กันมาตั้งแต่เด็กๆแล้ว วัคซีนโปลิโอนั้นสำคัญมากเพราะช่วยป้องกันโอกาสการเกิดความพิการทางแขนและขาได้
-
หัด – หัดเยอรมัน – คางทูม
วัคซีนนี้มีส่วนช่วยสำคัญต่อการป้องกันการเกิดโรคหัด หัดเยอรมัน และคางทูม 3 โรคที่หากเป็นอาจเกิดความเสี่ยง เช่น โรคหัดในเด็กอาจทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ, หญิงมีครรภ์ที่เป็นหัดเยอรมันอาจส่งผลให้ทารกในครรภ์พิการ หรือคางทูมที่ทำให้เกิดภาวะอัณฑะอักเสบ เป็นต้น
-
ไข้สมองอักเสบจี
ป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี ที่พบได้บ่อยในไทย สามารถเกิดได้จากยุงเป็นพาหะ ซึ่งโรคนี้อันตรายเพราะบางครั้งอาจแสดงอาการช้า ในระยะที่มีอาการรุนแรงแล้ว
-
นิวโมคอคคัส
วัคซีนป้องกันนิวโมคอดคัส โรคที่อาจทำให้เกิดอาการปอดบวม และรวมไปถึงอาจทำให้เกิดการพิการได้
-
ไข้หวัดใหญ่
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เป็นวัคซีนที่ควรฉีดในทุกปีเพราะเชื้อของโรคนี้พัฒนาเป็นสายพันธ์ใหม่ในทุกปี
-
ป้องกันมะเร็งปากมดลูก
วัคซัีนป้องกันเชื้อ HPV สาเหตุของการเกิดมะเร็งปาดมดลูก มะเร็งอัณฑะ และโรคอื่นๆมากมาย สามารถฉีดได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง
-
โควิด-19
วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 จากโคโรน่าไวรัส ซึ่งเป็นเชื้อที่มีการระบาดตั้งแต่ปลายปี 2019 มาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าการแพร่เชื้ออาจไม่ได้รุนแรงเท่าช่วงแรกๆแล้ว แต่ก็ยังจำเป็นต้องรับวัคซีนชนิดนี้ รวมถึงการฉีดกระตุ้น
-
อีสุกอีใส
วัคซีนชนิดนี้ฉีดเพื่อป้องกันความรุนแรงของอีสุกอีใส ซึ่งสามารถเกิดได้ในเด็กบางคน โดยอาจมีอาการของอีสุกอีใสที่รุนแรงกว่าคนทั่วไปซึ่งอาจส่งอันตรายได้
ชนิดของวัคซีนหลักหรือวัคซีนพื้นฐานมีอะไรบ้าง?
วัคซีนหลักหรือวัคซีนพื้นฐาน คือ วัคซีนขั้นพื้นฐานสำหรับคนไทยที่ต้องได้รับให้ครบตามช่วงวัย โดยหลักๆจะมีดังนี้
- วัคซีนเด็กแรกเกิด ได้แก่ บีซีจี และวัคซีนไวรัสตับอักเสบ
- วัคซีนเด็กทารก 2-6 เดือน ได้แก่ วัคซีบคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ฮิบ-ตับอักเสบบี และวัคซีนโปลิโอชนิดหยอด
- วัคซีนเด็ก 6-12 เดือน ได้แก่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่, วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม และวัคซีนโควิด-19
- วัคซีนเด็กเล็ก 1-4 ปี ได้แก่ วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน, วัคซีนโปลิโอชนิด หยอด, วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็น, วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม และวัคซีนโควิด-19
- วัคซีนเด็ก และผู้ใหญ่ ได้แก่ วัคซีนมะเร็งปากมดลูก (HPV), วัคซีนคอตีบ-บาดทะยักสูตรผู้ใหญ่ และวัคซีนโควิด-19
- วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนโควิด-19
วัคซีนเสริม หรือวัคซีนทางเลือกมีอะไรบ้าง?
วัคซีนเสริมที่ทางกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้กำหนดว่าทุกคนจำเป็นที่จะต้องฉีด ซึ่งวัคซีนชนิดนี้อาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าวัคซีนหลัก วัคซีนเสริมแบ่งตามช่วงวัยดังนี้
- วัคซีนเด็ก 2-6 เดือน ได้แก่ วัคซีนโรต้า,วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ, นิวโมคอดคัสชนิดคอนจูเกต และพิษสุนัขบ้า
- วัคซีนเด็ก 1 ปีขึ้นไป ได้แก่ วัคซีนมือเท้าปาก, ตับอักเสบเอ, วัคซีนอีสุกอีใส หรือวัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม-อีสุกอีใส, ไข้หวัดใหญ่ และพิษสุนัขบ้า
- วัคซีนเด็กโต และผู้ใหญ่ ได้แก่ วัคซีนมะเร็งปากมดลูก (HPV) และไข้เลือดออก
- วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ วัคซีนไอดี วัคซีนงูสวัด
ประเภทของช่องทางให้วัคซีน
ประเภทของการรับวัคซีน ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้ 2 วิธี คือ
1. วัคซีนชนิดหยอดทางปาก ซึ่งวัคซีนที่สามารับผ่านการหยอดได้แก่ วัคซีนโปลิโอชนิดหยอด และวัคซีนโรต้า
2. วัคซีนชนิดฉีด เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด โดยจะฉีดวัคซีนที่บริเวณ กล้ามเนื้อ, ใต้ผิวหนัง และในผิวหนัง
ซึ่งหากเป็นในเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปีควรฉีดที่กล้ามเนื้อต้นขา ส่วนในผู้อายุ 1 ปีขึ้นไปควรฉีดที่บริณหัวไหล่ และจะไม่นิยมการฉีดวัคซีนผ่านทางสะโพกเนื่องจากเป็นบริเวณที่กล้ามเนื้อน้อย และอาจไปถูกเส้นประสาทที่สำคัญก่อให้เกิดอันตรายได้
วัคซีนแต่ละประเภทต่างก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นก่อนรับวัคซีนควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับชนิดของวัคซีนแต่ละตัว เพื่อรับวัคซีนอย่างปลอดภัย ส่วนใครมีคำถามเกี่ยวกับวัคซีน อ่านบทความนี้เลย