โรคไทรอยด์ รู้เร็วป้องกันได้
ไทรอยด์เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ที่มีประมาณฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายที่ผิดปกติ ซึ่งโรคนี้จะมีความผิดปกติหลายรูปแบบ ทำให้เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นต้องได้รับการตรวจคัดกรองโรคไทรอยด์อย่างละเอียดเพื่อแยกประเภทออกไปทำการรักษาอย่างตรงจุด มาดูกันว่าประเภทของไทรอยด์นั้นมีกี่ชนิดและมีอาการอย่างไรบ้าง
ประเภทของไทรอยด์สามารถแบ่งได้กี่ชนิด
โรคไทรอยด์สามารถแบ่งออกได้ทั้งหมด 3 ชนิด ซึ่งอาการของไทรอยด์แต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันตามระดับของฮอร์โมนไทรอยด์ที่อยู่ในร่างกาย บางชนิดก็มีอาการที่ร้ายแรงและอาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ แต่บางชนิดก็ไม่ร้ายแรงเท่าไหร่นัก ซึ่งทุกชนิดสามารถรักษาหายได้ แต่มักไม่หายขาด อาการของโรคจะกลับมาเป็นอีกหรือไม่ขึ้นอยู่ที่การดูแลตัวเองของแต่ละคนด้วย สำหรับอาการของไทรอยด์แต่ละชนิดจะแยกตามอาการดังนี้
1. ไทรอยด์สูงผิดปกติ หรือที่หลายคนรู้จักคือ ไทรอยด์เป็นพิษ อาการของไทรอยด์ชนิดนี้ก็คือ
- คอจะมีขนาดที่โตผิดปกติ เมื่อนำมือไปคลำจะพบกับก้อนบริเวณคอ
- น้ำหนักของผู้ป่วยจะลดลงผิดปกติ แต่มีพฤติกรรมการทานตรงกันข้าม เพราะจะทานอาหารได้เยอะกว่าเดิม หรือบางคนก็อาจจะทานตามปกติ
- มีอารมณ์ที่แปรปรวนได้ง่าย ทำให้เกิดความหงุดหงิดไปทุกเรื่อง
- เหงื่อออกจำนวนมาก และขี้ร้อน
- มีอาการเต้นของหัวใจผิดปกติ หัวใจเต้นแรง และใจสั่น
- มีอาการของตาโปน
- ท้องเสียบ่อย
- ผู้ป่วยหญิงมักจะมีประจำเดือนมาผิดปกติ
2. ไทรอยด์ต่ำ อาการของไทรอยด์ต่ำก็คือ
- มีอาการเหนื่อยง่าย รู้สึกเพลีย และอยากนอนอยู่ตลอดเวลา
- ทำอะไรเชื่องช้าไม่มีความกระตือรือร้น
- ขี้หลงขี้ลืมผิดปกติ
- น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น แต่พฤติกรรมการทานอาหารน้อยลงหรือเท่าเดิม
- ขี้หนาว มีผิวหนังและเส้นผมแห้ง
- มีอาการท้องผูก
- ผู้ป่วยหญิงมักจะมีประจำเดือนมาผิดปกติ
- หัวใจมีการเต้นช้าผิดปกติ และมีอาการใจสั่น
- ถ้าโรคนี้เกิดขึ้นกับเด็ก เด็กจะมีอาการตัวเตี้ย และเกิดการเรียนรู้ช้า
3. ไทรอยด์โต หรือคอพอกไม่เป็นพิษ อาการของไทรอยด์ชนิดนี้ก็คือ
- มีอาการผิดปกติคือ คอโตเพียงอย่างเดียว
5 ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเป็นโรคไทรอยด์
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเป็นโรคนี้ มีทั้งปัจจัยเสี่ยงที่สามารถเลี่ยงได้ และไม่สามารถเลี่ยงได้ ในส่วนของปัจจัยที่สามารถเลี่ยงได้นั้น หลัก ๆ จะอยู่ที่พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละคน ซึ่งถ้าหากสามารถหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้ได้ ก็จะเป็นการลดโอกาสการเกิดโรคนี้ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 5 ปัจจัยหลัก ๆ ดังนี้
- พันธุกรรม
- การสูบบุหรี่เป็นประจำ
- การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกวัน หรือดื่มอยู่บ่อยครั้ง
- การอดนอน หรือนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
- คนที่มีความเครียดสูง
การป้องกันการเป็นโรคไทรอยด์นั้นสามารถทำได้ไม่ยาก อย่างแรกก็คือ การลดหรือหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้ นอกจากนี้ยังมีในเรื่องของอาหารการกินที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคไทรอยด์ได้ ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากการทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิดที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนไทรอยด์ จึงไปกระตุ้นทำให้เป็นโรคนี้ได้ หรือจะเป็นการทานที่มีไอโอดีนที่มากเกินไปและน้อยเกินไป
บทความที่น่าสนใจ
คำถาม-คำตอบที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคไทรอยด์
โรคไทรอยด์ในหญิงตั้งครรภ์ รู้ไว้ก่อน! รับมือได้ทัน!