วัณโรคระยะอันตราย

วัณโรคระยะอันตราย

วัณโรค (Tuberculosis : TB) เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีอาการที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นอาการไอ หรือการปวดบริเวณหน้าอก การดูแลผู้ป่วยวัณโรคจึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ให้ความเอาใจใส่สม่ำเสมอ รวมถึงตัวผู้ป่วยเองก็ต้องเคร่งครัดกับการดูแลสุขภาพตัวเองด้วย ทั้งนี้คุณควรรู้อาการระยะเริ่มต้นที่จะช่วยให้สังเกตได้ว่า ตนเองเป็นวัณโรคหรือไม่ ก่อนที่จะลุกลามเป็นวัณโรคระยะอันตรายที่ต้องใช้เวลารักษายาวนาน

ข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับวัณโรคที่ควรรู้

วัณโรคโดยทั่วไปที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันคือ วัณโรคปอด แต่ในความเป็นจริงแล้วเชื้อวัณโรคยังสามารถเกิดขึ้นกับตำแหน่งอื่นในร่างกายได้ด้วย เช่น วัณโรคต่อมน้ำเหลือง วัณโรคสมอง วัณโรคกระดูก เป็นต้น สาเหตุของโรคคือแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส ซึ่งเป็นที่มาของชื่อโรคในภาษาอังกฤษนั่นเอง

เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักเป็นวัณโรคปอด จึงเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายหากอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีแบคทีเรียวัณโรคอยู่ในตัว โดยสามารถแพร่กระจายได้ผ่านละอองจากการไอ จาม หรือแม้แต่การพูดคุยในระยะใกล้ชิด ทั้งนี้หากเป็นคนที่มีภูมิคุ้มกันแข็งแรงก็จะไม่ป่วยเป็นวัณโรคได้ง่าย เพราะเชื้อแบคทีเรีย TB เป็นหนึ่งในเชื้อไม่กี่ชนิดจากปอดหรือลำคอที่ก่อให้เกิดโรคได้ แต่สำหรับผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำ ก็สามารถติดเชื้อวัณโรคแล้วอาการหนักจนเข้าขั้นระยะอันตรายต่อไปได้

อาการระยะเริ่มต้นของวัณโรค ไปจนถึงวัณโรคระยะอันตราย

ต่อไปนี้คืออาการของผู้ติดเชื้อวัณโรคตั้งแต่ระยะเริ่มแรก โดยทั่วไปแล้วเมื่อได้รับเชื้อมาช่วงแรก ๆ จะไม่แสดงอาการมากนัก จนเมื่อเริ่มมีอาการเบื้องต้นที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หากยังเพิกเฉยไม่ไปตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง ก็จะทำให้เข้าสู่วัณโรคระยะอันตรายได้

1.อาการระยะแรกของวัณโรค

อาการระยะแรก คือ เริ่มรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายกว่าปกติ เริ่มเบื่ออาหารทำให้น้ำหนักลดลง เมื่อนอนตอนกลางคืนมักมีเหงื่อออกอย่างผิดปกติ เป็นไข้ในบางช่วงระยะเวลาแต่ไม่นานนัก อาจมีอาการบวมที่คอ แขน หรือบริเวณขาหนีบได้ บางคนอาจมีครบทุกอาการที่กล่าวมา แต่บางคนอาจมีแค่บางอาการเท่านั้น เนื่องจากอาการในระยะเริ่มต้นจะใกล้เคียงกับอาการของโรคอื่น ๆ จึงทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ได้นึกถึงวัณโรค คิดว่าเพียงแค่พักผ่อนและดูแลตัวเองให้ดีขึ้นก็จะหายได้ แต่หากดูแลตัวเองแล้วไม่หาย และยังมีอาการไอร่วมด้วยตั้งแต่ 2-3 สัปดาห์ขึ้นไป ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อทันที

2.อาการวัณโรคระยะอันตราย ที่ควรดูแลอย่างใกล้ชิด

อาการในระยะอันตราย คือ ผู้ป่วยจะเริ่มไอหนักขึ้นและไอจนมีเลือดออกมา มีอาการปวดหน้าอก มีเสมหะในปอด ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดเมื่อไอ หรือแม้กระทั่งเมื่อหายใจตามปกติ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก และยังคงมีอาการอ่อนเพลีย ไม่อยากอาหาร หากผู้ป่วยอยู่ในวัยเด็กอาจจะเซื่องซึมหรืองอแง ไม่ยอมกินอาหาร ต้องได้รับการรักษาทันที

เมื่อมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัณโรคมากขึ้นแล้ว หวังว่าผู้ป่วยและคนใกล้ชิดจะเข้าใจความเสี่ยงของโรคนี้มากขึ้น นอกจากการที่ผู้ป่วยต้องใส่ใจดูแลตัวเองแล้ว ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยก็ต้องเอาใจใส่ป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อวัณโรคด้วยเช่นเดียวกัน เพื่อที่จะได้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งตัวผู้ป่วยและคนใกล้ชิด

บทความที่น่าสนใจ
ตอบคำถามเรื่องวัณโรค ทุกข้อสงสัยที่คุณอยากรู้!
วิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเป็นวัณโรคและการดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่บ้าน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.