ทำความเข้าใจการใช้สิทธิบัตรทอง สิทธิด้านสุขภาพที่ควรรู้

การมีสุขภาพที่ดีเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทยทุกคน แต่บางคนอาจยังไม่ทราบว่าตนเองสามารถใช้สิทธิอะไรเพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลบ้าง วันนี้จึงอยากให้ทุกคนรู้จักกับสิทธิบัตรทอง หรือสิทธิบัตรสวัสดิการถ้วนหน้าให้มากขึ้น โดยสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. เป็นหน่วยงานที่ออกบัตรนี้ให้กับคนไทยทุกคนที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขของสิทธิบัตรทอง

สิทธิบัตรทอง คืออะไร

หลายคนอาจคุ้นเคยกับวลีที่ว่า “30 บาทรักษาทุกโรค” วลีนี้คือชื่อเล่นของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือสิทธิบัตรทองนั่นเอง สิทธิบัตรทอง คือการใช้เพียงบัตรประชาชนหนึ่งใบยื่นใช้สิทธิด้านบริการสาธารณสุขจากหน่วยงานบริการต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยคนไทยทุกคนสามารถใช้สิทธิบัตรทองได้ตลอดชีวิต ยกเว้นว่าจะมีสิทธิประกันสังคม สิทธิข้าราชการ หรือสิทธิรัฐวิสาหกิจอยู่แล้ว 

คลินิกก็ใช้สิทธบัตรทองได้นะ อยากรู้ว่าใช้ยังไงก็อ่านเลย







สิทธิบัตรทองครอบคลุมการรักษาหลายด้าน ตั้งแต่การผ่าตัด การฉีดวัคซีน การคลอดลูก การทำหมัน การรักษาโรคมะเร็งและเบาหวาน การทำฟัน ค่าห้องพักในโรงพยาบาล การดูแลสุขภาพเด็ก ไปจนถึงการขอคำปรึกษาด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นความจำเป็นพื้นฐานด้านสุขภาพที่ทุกคนควรได้รับ หากเป็นการรักษาที่อยู่นอกเหนือความจำเป็นพื้นฐาน เช่น การศัลยกรรมตกแต่ง การผสมเทียม โรคเรื้อรังอื่น ๆ เป็นต้น จะไม่สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้

วิธีการใช้สิทธิบัตรทอง ณ สถานพยาบาลใกล้ตัวได้ง่าย ๆ

ผู้ที่สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้ต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักตามหลักของกรมการปกครอง หรือคนไทยทุกคนที่แจ้งเกิดแล้วและไม่มีสิทธิประกันสุขภาพอื่น ๆ สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้ตั้งแต่เกิดนั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันการตรวจสอบสิทธิบัตรทองทำได้ง่าย ๆ ผ่านเว็บไซต์ของ สปสช. หรือแอปพลิเคชัน สปสช. (Android/iOS) ก็ได้ หากยังไม่ได้ลงทะเบียน สามารถลงทะเบียนผ่านแอปพลิชันโดยใช้เพียงบัตรประชาชนสำหรับยืนยันตัวตน หรือสมัครบัตรทองที่สำนักงานบัตรทองใกล้บ้าน โดยใช้เอกสารเพียง 2 อย่างคือ บัตรประจำตัวประชาชน หรือสูติบัตรในกรณีที่สมัครให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และทะเบียนบ้าน

อยากเปลี่ยนสิทธิบัตรทอง ทำเองก็ได้ง่ายนิดเดียว

เมื่อต้องการเข้าใช้บริการสถานพยาบาลต่าง ๆ สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้ทุกที่ที่เป็นสถานพยาบาลของรัฐ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นหน่วยบริการที่ลงทะเบียนสิทธิเอาไว้ โดยใช้เพียงบัตรประชาชนยื่นใช้สิทธิเท่านั้น ในกรณีที่เจ็บป่วยฉุกเฉินหรือเกิดประสบอุบัติเหตุสามารถเข้ารับการรักษาได้ในสถานพยาบาลของรัฐได้ทันที หากเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการสิทธิบัตรทอง ทางโรงพยาบาลจะประสานงานผ่านสายด่วน สปสช. 1330 เพื่อดำเนินการขั้นต่อไป

สรุป

สิทธิบัตรทองคือสิทธิที่เกิดขึ้นเพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชากรไทยให้ได้ครอบคลุมมากที่สุด เนื่องจากยังมีกลุ่มบุคคลที่มีรายได้ไม่แน่นอน ไม่มีสิทธิข้าราชการหรือสิทธิประกันสังคมรองรับ ประชาชนทุกคนจึงควรรักษาสิทธิเอาไว้ และเตรียมเอกสารสำคัญอย่างบัตรประชาชนติดตัวเผื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เพื่อให้หน่วยบริการต่าง ๆ ประสานงานด้านความช่วยเหลือได้ตลอดเวลา




This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.