ถึงแม้ว่าเด็กทารกจะได้รับ สารภูมิต้านทาน (Antibody) จากน้ำนมแม่ที่ทำให้ลูกน้อยไม่ป่วยได้ง่าย แต่นั่นเป็นแค่เกราะป้องกันชั่วคราวเท่านั้น พ่อแม่จึงควรเสริมภูมิคุ้มกันอีกขั้นด้วยการฉีดวัคซีนเด็กๆให้ตรงตามเวลา ซึ่งวัคซีนเด็กแต่ละช่วงวัยจะมีการฉีดที่แตกต่างกัน คุณพ่อคุณแม่ที่ยังเป็นมือใหม่ก็ควรศึกษาให้ดีก่อน เพื่อที่เด็กๆจะได้แข็งแรง และไม่ป่วยง่าย
ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน ที่หลายคนสงสัย
วัคซีนเด็กแต่ละช่วงวัยและสาระเพิ่มเติม
- วัคซีนเด็กแรกเกิด ตั้งแต่ทารกแรกเกิด
- วัคซีนเด็ก 2-6 เดือน ที่จำเป็นสำหรับทารก
- วัคซีนเด็ก 6-12 เดือน ที่จำเป็นสำหรับทารก
- วัคซีนเด็ก 1-4 ปี ที่จำเป็นสำหรับเด็กเล็ก
- วัคซีนเด็กโตควรได้รับมีอะไรบ้าง
- เริ่มฉีดวัคซีนเด็กตั้งแต่ตอนไหนถึงจะดี
วัคซีนเด็กแรกเกิด ตั้งแต่ทารกแรกเกิด
วัคซีนเด็กแรกเกิดจะเป็นวัคซีนที่ควรฉีดในช่วงแรกเกิดไปจนถึงตอนที่ทารกมีอายุ 1 เดือน ซึ่งโดยปกติแล้วเด็กแรกเกิดจะไม่มีภูมิคุ้มกันที่เพียงพอแม้จะได้รับนมแม้แล้วก็ตาม การฉีดวัคซีนจึงถือเป็นการป้องกันลูกจากโรคที่ดีกว่า โดยวัคซีนเด็กแรกเกิดที่จำเป็นจะมี 2 ตัว คือ
1. วัคซีนวัณโรค หรือ วัคซีนบีซีจี (BCG – Bacillus Calmette-Guerin)
วัคซีนเด็กแรกเกิดตัวแรกที่ควรฉีดก็คือ วัคซีนบีซีจี ถือว่าเป็นวัคซีนเด็กแรกเกิดที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะวัณโรคจัดเป็นโรคที่ถ้าหากเป็นแล้วจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ยาก หากผู้ใหญ่คนไหนที่เป็นก็สามารถแพร่เชื้อสู่เด็กๆได้อีกด้วย จัดเป็นปัญหาทางสาธารณะสุขอีกหนึ่งอย่างในไทยเลยทีเดียว
ตอบคำถามตามข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนบีซีจี
วัคซีนบีซีจีหากฉีดในเด็กจะมีประสิทธิภาพสูงเลยทีเดียว โดยวัคซีนเด็กแรกเกิดอย่างบีซีจีจะช่วยป้องกันในส่วนของ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งเจ้าโรคนี้เกิดขึ้นมาได้จากเชื้อวัณโรคและวัณโรคชนิดแพร่กระจาย และสามารถป้องกันวัณโรคปอดและวัณโรคชนิดอื่นๆได้ในระดับปานกลาง แต่จะมีประสิทะิภาพในการป้องกันน้อยในผู้ใหญ่
วัคซีนเด็กแรกเกิดบีซีจีหลังจากการฉีดแล้วจะมีตุ่มหนองในบริเวณที่ฉีด ซึ่งเจ้าตุ่มหนองจะค่อยๆแตกจนค่อยกลายเป็นรอยแผลและจางไปตามเวลา ส่วนอาการข้างเคียงอื่นๆอาจทำให้เกิดเชื้อของวัณโรคได้ ซึ่งเป็นผลมาจากเชื้อวัณโรคที่บรรจุในวัคซีนนั่นเอง วัณโรคชนิดที่มีโอกาสเกิดมากที่สุดคือวัณโรคต่อมน้ำเหลืองและวัณโรคกระดูก หากเป็นจะต้องรับการรักษาจากแพทย์
เกร็ดความรู้
หลายคนที่ไม่รู้จักวัคซีนเด็กแรกเกิดตัวนี้อาจเข้าใจผิดว่าเป็นการปลูกฝี แต่จริงๆแล้วบีซีจีต่างจากการปลูกฝีนะ เจ้าวัคซีนบีซีจีจะมีแผลหลังฉีดเป็นลักษณะที่นูนขึ้นมา ในขณะที่ปลูกฝีจะเป็นแผลที่มีลักษณะที่ยุบลงไปนั่นเอง
2. วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี (HBV – Hepatitis B vaccine)
ไวรัสตับอักเสบบีนั้นเป็นโรคที่สามารถติดต่อผ่านครรภ์มารดาได้ ซึ่งโดยปกติหากตรวจพบความเสี่ยงขณะตั้งครรภ์คุณแม่จะต้องฉีดวัคซีนตัวนี้ แต่ยังไรก็ตามวัคซีนนี้ก็ยังถือเป็นวัคซีนเด็กแรกเกิดที่จำเป็นต้องฉีด เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดต่อทารกเพราะไวรัสตับอักเสบบีหากติดเชื้อมักจะไม่แสดงอาการ และทำให้กลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง เกิดภาวะตับแข็ง ซึ่งอันตรายของมันอาจลุกลากไปถึงขั้นเป็นมะเร็งตับ
ตอบคำถามตามข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี
วัคซีนไวรัสคับอักเสบเป็นวัคซีนเด็กแรกเกิดที่มีประสิทธิภาพสูง เมื่อเด็กได้รับวัคซีนชนิดนี้ครบ 3 ครั้ง เด็กก็มักที่จะมีภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบบี
วัคซีนเด็กแรกเกิดชนิดนี้มีความปลอดภัยสูง และมีผลข้างเคียงของวัคซีนน้อยและสามารถหายเองได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
จะต้องรับวัคซีนนี้ทั้งหมด 3 ครั้ง โดยจะฉีดห่างกันเป็นจำนวน 0 (แรกเกิด), 2 (อายุ 2 เดือน), 4 (อายุ 6 เดือน) หากทารกมีความเสี่ยงสูงอาจต้องฉีดเข็มที่สองไวขึ้นคือฉีดใน อายุ 1 เดือนแทนเพื่อให้การฉีดวัคซีนเด็กแรกเกิดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วัคซีนเด็ก 2-6 เดือน ที่จำเป็นสำหรับทารก
สำหรับวัคซีนเด็ก 2-6 เดือน นั้นมักจะเริ่มฉีดในช่วงที่เด็กทารกอายุ 2, 4 และ 6 เดือนตามลำดับ วัคซีนเด็ก 2-6 เดือนที่ทารกจำเป็นต้องได้รับจะมีด้วยกัน 4 ตัว ได้แก่
1. วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ฮิบ-ตับอักเสบบี
วัคซีนเด็ก 2-6 เดือน นี้มีส่วนช่วยในการลดจำนวนผู้ป่วยคอตีบ ไอกรน และบาดทะยักภายในประเทศที่ดีเลย วัคซีนเด็ก 2-6 เดือนตัวนี้จะเป็นวัคซีนชนิดรวมที่ทำหน้าที่เสริมภูมิคุ้มกันเด็ก 5 โรคด้วยกัน คือ คอตีบ, บาดทะยัก, ไอกรน, ฮิบ และตับอักเสบบี ซึ่งสะดวกมากเพราะไม่ต้องฉีดแยกกัน ซึ่งก่อนหน้านี้วัคซีนรวมตัวนี้ป้องกันได้ 4 โรค แต่ภายหลังได้เพิ่มฮิบเข้ามาด้วย
ตอบคำถามตามข้อสงสัยเกี่ยวกับ วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ฮิบ-ตับอักเสบบี
เป็นวัคซีนเด็กที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันสูง โดยหลังจากทารกให้วัคซีนครบ 3 ครั้งแล้ว จะต้องฉีดเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้นกันอีก 4 และ 5 ครั้ง ตอนอายุ 1 ปี 6 เดือน และตอนอายุ 4-6 ปี เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้สูงและอยู่นาน แต่หากใครที่ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีก็ไม่จำเป็นต้องกระตุ้นซ้ำหลังรับเข็มสุดท้ายตอนอายุ 6 เดือน และวัคซีนฮิบสามารถเลือกได้ว่าจะฉีดกระตุ้นในช่วงอายุ 1 ปี 6 เดือน
อาการที่เกิดจากวัคซีนชนิดเต็มเซลล์ที่พบได้บ่อยคือ
- มีไข้สูง อาจทำให้เด็กเกิดอาการชักได้
- มีอาการร้องกวน
โดยอาการเหล่านี้สามารถหายเองได้ใน 2-3 วัน ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่มีความกังวล เราแนะนำให้ฉีดวัคซีนไอกรนชนิดไร้เซลล์แทน ตัวนี้จะอาการน้อยกว่าแต่แน่นอนว่าก็อาจต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเนื่องจากเป็นวัคซีนที่เสริมเข้ามา
ได้ ซึ่งจะแนะนำ 2 วิธี ที่คุณสามารถเลือกปฏิบัติ คือ
- ถ้าฉีดวัคซีนเด็ก 2-6 เดือน ให้เลือกฉีดเป็นวัคซีนรวม 4 โรค คือ คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ฮิบ แทนโดยการฉีดครั้งนี้จะนับเป็นครั้งที่ 2 ถัดจากครั้งที่ 1 ของการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี
- หากกลัวว่าจะสับสน อาจเลือกที่จะไม่ต้องฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีในช่วงแรกเกิดถึง 1 เดือน แต่ให้ไปฉีดเป็นวัคซีนรวม 5 โรคในช่วง 2-6 เดือนแทน
แนะนำคลินิค
สำหรับฉีดวัคซีนเด็ก
2. วัคซีนโปลิโอ (Polio vaccine)
โปลิโอถือเป็นโรคอันตรายที่อาจนำทารกไปสู่ความพิการที่แขนและขาได้ โดยเชื้อโปลิโอจะทำให้เกิดการติดเชื้อที่ระบบประสาท โดยเฉพาะที่บริกเวณไขสันหลังแต่เนื่องจากปัจจุบันวัคซีนเด็ก 2-6 เดือนมีวัคซีนพื้นฐานอย่างวัคซีนโปลิโอจึงทำให้อัตราผู้ป่วยโปลิโอลดลงเป็นอย่างมาก
ตอบคำถามตามข้อสงสัยเกี่ยวกับ วัคซีนโปลิโอ
วัคซีนนี้มีทั้งชนิดดแบบฉีดและแบบหยอด ซึ่งทั้งสองชนิดต่างก็มีประสิทธิภาพการป้องกันสูง แต่ปัจจุบันวัคซีนโปลิโอชนิดหยอดที่เป็นเชื้อเป็น นิยมใช้น้อยลงเนื่องจากผลข้างเคียง แต่เมื่อเทียบกับชนิดฉีดจะมีผลด้านการป้องกันในกรณีมีการแพร่ระบาดซึ่งจะมีประโยชน์กว่า มักนิยมใช้ในประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะประเทศที่ยังไม่มั่นใจว่าปลอดภัยจากโปลิโอในไทยก็ยังใช้ชนิดนี้ ส่วนประเทศพัฒนาแล้วจะใช้วัคซีนเชื้อเป็นอย่างชนิดฉีดซึ่งปลอดจากโรคโปลิโอ
มีความปลอดภัยพอสมควร แต่มีบางผลข้างเคียงที่น่ากังวลซึ่งมีโอกาสเกิดได้น้อยคือ อาการอัมพาตหลังได้รับวัคซีนโปลิโอชนิดหยอด แต่อาการนี้ไม่พบในวัคซีนชนิดฉีดที่ผลิตจากเชื้อตาย ตอนนี้หลายประเทศกำลังพยายามที่จะเปลี่ยนไปใช้ชนิดฉีดและหนึ่งในนั้นก็มีไทยด้วย
ทั้งชนิดหยอดและฉีดจะต้องรับวัคซีนทั้งหมดจำนวน 5 ครั้ง การรับวัคซีนเด็ก 2-6 เดือน (2 เดือน,4 เดือน,6 เดือน) และจะให้อีกครั้งในช่วงอายุ 1 ปีครึ่ง และตามด้วยช่วง 4-6 ปี ตามลำดับ ในไทยใช้เป็นชนิดหยอด แต่แนะนำว่าควรรับชนิดฉีดอีกครั้ง สำหรับเด็กอายุ 4 เดือน
วัคซีนโปลิโอที่ต้องฉีดเพิ่มในช่วงอายุ 4 เดือน เนื่องจากปัจจุบันวัคซีนชนิดหยอดได้ทำการลดสายพันธุ์จาก 3 เหลือ 2 สายพันธุ์ ส่งผลให้ได้รับภูมิคุ้มกันเชื้อที่ไม่ครบ ถึงแม้โอกาสติดจะน้อยลงแต่เพื่อความปลอดภัยจึงแนะนำให้รับฉีดที่บรรจุเชื้อทั้ง 3 สายพันธุ์อีก 1 ครั้ง ซึ่งผู้ที่รับวัคซีนชนิดฉีด 1 เข็มแล้วไม่จำเป็นต้องรับแบบฉีดเพิ่มในอายุ 4 เดือน
เกร็ดความรู้
3. วัคซีนโรต้า (Rotavirus vaccine)
เนื่องจากในทารกที่มีอายุ 0-5 ปีสามารถพบอาการอุจาระร่วงได้บ่อยที่สุด ซึ่งเกิดจากไวรัสโรต้า โดนเจ้าไวรัสโรต้าจะทำให้เด็กมีไข้สูง อาเจียนอย่างรุนแรง และถ่ายอุจาระเป็นน้ำหลายวัน อาจทำให้เด็กเกิดภาวะขาดอาหารได้ ดังนั้นในแผนการฉีดวัคซีนเด็ก 2-6 เดือนจึงต้องมีวัคซีนโรต้าด้วยนั่นเอง
ตอบคำถามตามข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนโรต้า
ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าวัคซีนโรต้าเนี่ยจะแตกต่างจากวัคซีนชนิดอื่นๆก่อนหน้า เพราะหน้าที่ของมันคือการลดความรุนแรงของโรค ต่างจากวัคซีนอื่นที่เน้นการป้องกัน เพราะฉะนั้นทารกก็ยังมีโอกาสที่จะรับเชื้อโรต้าและเป็นโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไว้รัสโรต้า
หากเป็นวัคซีนโรต้าชนิดเก่าอาจทำให้ทารกเกิดภาวะลำไส้กลืนกัน แต่ปัจจุบันวัคซีนเด็ก 2-6 เดือน อย่างโรต้าได้ทำการพัฒนาวัคซีนรุ่นใหม่ซึ่งมีความปลอดภัยสูง และไม่ทำให้เกิดภาวะลำไส้กลืนกันแล้ว แต่เพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ ควรฉีดให้ครบตามจำนวนที่แนะนำ
จะเป็นวัคซีนชนิดหยอด โดยการหยอดวัคซีนตัวนี้จะหยอดจำนวน 2 ครั้ง (2 เดือน และ 4 เดือน) หรือ 3 ครั้ง (2 เดือน, 4 เดือน และ 6 เดือน) วัคซีนเด็ก 2-6 เดือน ทั้งสองตัวจะให้ประสทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน แต่แตกต่างกันที่จำนวนการหยอด ปริมาณและราคา
จะเป็นวัคซีนชนิดหยอด โดยการหยอดวัคซีนตัวนี้จะหยอดจำนวน 2 ครั้ง (2 เดือน และ 4 เดือน) หรือ 3 ครั้ง (2 เดือน, 4 เดือน และ 6 เดือน) วัคซีนเด็ก 2-6 เดือน ทั้งสองตัวจะให้ประสทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน แต่แตกต่างกันที่จำนวนการหยอด ปริมาณและราคา
เกร็ดความรู้
นอกจากการฉีดวัคซีนเด็ก 2-6 เดือนด้วยวัคซีนโรต้าแล้ว ก็ยังมีอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยป้องกันการเกิดอุจจาระร่วง ก็คือ การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ เด็กที่ได้รับนมแม่จะมีโอกาสป่วยเป็นโรต้าได้ล่าช้ากว่าเด็กที่ดื่มนมที่มีการผสม
4. วัคซีนไอพีดี (invasive pneumococcal vaccine)
วัคซีนเด็ก 2-6 เดือนชนิดนี้เป็นวัคซีนที่ฉีดเพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส ซึ่งเป็นสาเหตุของไอพีดีที่ทำให้เกิดโรค 3 กลุ่มโรค คือ โรคติดเชื้อในกระแสเลือด ,โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และโรคปอดบวม ซึ่งก่อให้เกิดความพิการและอันตรายถึงชีวิต ซึ่งไอพีดีจะพบในเด็ก 5 ขวบปีแรก พ่อแม่จึงควรป้องกันโดยการฉีดวัคซีนเด็ก 2-6 เดือนให้ตรงตามเวลา
อาการของโรคที่เกิดจากไอพีดี
หากไม่ได้รับวัคซีนเด็ก 2-6 เดือน อาจทำให้ลูกของคุณต้องรับความเสี่ยงจากอาการของแต่ละโรคดังนี้
- โรคติดเชื้อในกระแสเลือดจะมีอาการคือ ไข้สูง และอาจมีภาวะความดันโลหิตต่ำด้วย
- โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเจ้านิวโคคอคคัสจะมีอาการคือ ไข้สูงซึมและอาจมีอาการชัก รวมถึงรู้สึกระคายเคืองที่เยื่อหุ้มสมอง
- โรคปอดบวม จะมีอาการไข้าสูง ไอ และเหนื่อยหอบ
ตอบคำถามตามข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนไอพีดี
สามารถป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสสายพันธุ์ตามที่บรรจุไว้ในวัคซีนซึ่ง มีประสิทธิภาพป้องกันอยู่ที่ประมาณร้อยละ 80
ชนิดของวัคซีนเด็ก 2-6 เดือน จะมีให้เลือกใช้สองชนิดคือ
- วัคซีนไอพีดีชนิด 10 สายพันธุ์ (Syn forix) ราคาถูกกว่าชนิด 13 สายพันธุ์
- วัคซีนไอพีดีชนิด 13 สายพันธุ์ (Prevnar13) จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันไอพีดีได้มากกว่าวัคซีนชนิด10 สายพันธุ์เล็กน้อย มีประสิทธิภาพในการช่วยป้องกันโรคหูชั้นกลางอักเสบได้
การรับวัคซีนเด็ก 2-6 เดือน ไอพีดี จำนวนครั้งในการให้วัดซีนไอพีดีขึ้นกับอายุที่เริ่มฉีดวัคซีนและชนิดของวัคซีนที่เลือกใช้ดังนี้
- ให้ครั้งแรก เมื่ออายุ 2-6 เดือน แนะนำให้ฉีด 4 ครั้ง เรียกว่า การฉีดแบบ 3+1
- ให้ครั้งแรก เมื่ออายุ 6-12 เดือน แนะนำให้ฉีด 3 ครั้ง
- ให้ครั้งแรก เมื่ออายุ 1-2 ปี แนะนำให้ฉีด 2 ครั้ง
- ให้ครั้งแรก เมื่ออายุ 2-5 ปี แนะนำให้ฉีด 1 ครั้งหากเลือกฉีดวัคซีนชนิด 13 สายพันธุ์ และฉีด 2 ครั้งหากเลือกฉีดวัคซีนชนิด 10 สายพันธุ์
เด็กที่อายุมากกว่า 5 ปีไม่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนไอพีดี เนื่องจากมีโอกาสในการติดเชื้อน้อยมาก ยกเว้นเด็กมีโรคประจำตัวบางอย่างที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไอพีดี แนะนำว่าให้ฉีดวัคซีนชนิด 13 สายพันธุ์ได้แม้จะมีอายุมากกว่า 5 ปีก็ตาม
หากต้องการที่จะประหยัดค่าวัคซีนไอพีดี จะไม่แนะนำให้รอเวลาให้เด็กมีอายุที่มากขึ้นเพื่อลดจำนวนครั้งในการฉีดวัคซีน เพราะเด็กอาจจะปวยเป็นไอพีดี ซึ่งพบบ่อยในเด็กเล็กก่อนที่จะได้รับวัคซีน แนะนำให้ลดจำนวนครั้งในการฉีดวัคซีนลงที่เรียกว่าการฉีดแบบ 2+1 โดยลดจำนวนครั้งในการฉีดวัคซีนไอพีดีในช่วงขวบปีแรกจาก 3 ครั้งเป็น 2 ครั้ง และฉีดกระตุ้นอีก 1 ครั้งหลังเด็กอายุ 1 ปีแทนจะดีกว่า
วัคซีนเด็ก 6-12 เดือน ที่จำเป็นสำหรับทารก
เด็กทารกที่อยู่ในช่วงอายุครึ่งปีหลังนี้วัคซีนเด็ก 6-12 เดือน จะมีทั้งหมด 2 ตัว ได้แก่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนหัดขหัดเยอรมัน-คางทูม แต่ก็จะมีกรณีที่ 2-6 เดือนไม่ได้ฉีดวัคซีนบางตัวสามารถฉีดวัคซีนเด็ก 6-12 เดือนแทนได้
วัคซีนเด็ก 6-12 เดือน สำหรับเด็กที่รับวัคซีนช่วง 2-6 เดือนไม่ครบ
- วัคซีนโรต้า หากเด็กยังไม่ได้รับวัคซีนโรต้ามาก่อนไม่สามารถให้วัคซีนเด็ก 6-12 เดือนได้ เนื่องจากวัคซีนโรต้าครั้งแรกจำเป็นต้องให้ก่อนเด็กอายุ 4 เดือน ส่วนเด็กที่เคยได้รับมาแล้วแต่ยังได้รับไม่ครบ 2 หรือ 3 ครั้ง สามารถให้วัคซีนครั้งต่อไปได้ในช่วงอายุ 6-8 เดือน โดยวัคซีนโรต้าครั้งสุดท้ายต้องให้แล้วเสร็จก่อนเด็กอายุ 8 เดือน
- วัคซีนไอพีดี ถ้าเคยได้รับมาก่อนสามารถให้ต่อไปในช่วงอายุดังกล่าวจนครบจำนวนครั้งซึ่งขึ้นกับอายุครั้งแรกที่ได้รับวัคซีน หากไม่เคยได้รับวัคซีนเด็กไอพีดีมาก่อนสามารถเริ่มต้นได้ โดยลดจำนวนครั้งลงเหลือ 3 ครั้งสำหรับวัคซีนไอพีดีทั้ง 2 ชนิด
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza vaccine)
เหตุผลที่วัคซีนเด็ก 6-12 เดือนจำเป็นต้องได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่โดยเฉพาะเด็ก 6 เดือนจนถึง 2 ปี เพราะไข้หวัดใหญ่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศ และยังพบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งส่วนมากเป็นเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ปี และเด็กที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง มีความเสี่ยงในการเกิดโรครุนแรง พบภาวะแทรกซ้อนทางปอดได้บ่อย ซึ่งอาจมีความรุนแรงถึงขั้นทำให้เด็กเสียชีวิตได้
ตอบคำถามตามข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่
สามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ประมาณร้อยละ 50-80 หากวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่นำมาใช้ มีสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ตรงกับเชื้อไวรัสที่ระบาดในปีนั้นๆ จะทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูง
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ มีให้เลือกใช้ 2 ชนิด คือ
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด 3 สายพันธุ์ ซึ่งประกอบด้วย เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A จำนวน 2 สายพันธุ์และเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด B จำนวน 1 สายพันธุ์
- วัดซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด 4 สายพันธุ์ ซึ่งประกอบด้วย เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A จำนวน 2 สายพันธุ์ และเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด B 2 สายพันธุ์
หากเปรียบเทียบกันจะพบว่า วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด 4 สายพันธุ์มีประสิทธิภาพที่สูงกว่าเล็กน้อย คุณสามารถตัดสินใจเองได้ สำหรับการเลือกวัคซีนเด็ก 6-12 เดือน แต่แน่นอนว่าราคา 4 สายพันธุ์จะมีราคาที่สูงกว่า
มีน้อยมากส่วนใหญ่เป็นอาการเฉพาะที่ซึ่งมักจะไม่รุนแรง อาการข้างเคียงที่รุนแรงคือ อาการทางระบบประสาทที่เรียกว่า ‘กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain Barre Syndrome)’ ซึ่งพบได้น้อยมาก
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ควรฉีดทุกปี เนื่องจากการระบาดของวัคซีนของโรคไข้หวัดใหญ่มีความแตกต่างกันในแต่ละปี เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 9 ปี หากฉีดวัคซีนครั้งแรกในชีวิต จะต้องรับการฉีด 2 เข็มห่างกัน 1 เดือน จากนั้นฉีดปีละครั้ง ส่วนเด็กอายุมากกว่า 9 ปี และผู้ใหญ่ฉีดครั้งแรกเข็มเดียวและฉีดปีละครั้งเช่นกัน
เกร็ดความรู้
รู้หรือไม่ว่า ในอดีตจะไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับคนที่มีอาการแพ้ไข่ แต่ในปัจจุบันสามารถให้ได้แม้จะมีการแพ้ไข่แบบรุนแรง แต่หลังฉีดควรได้รับการเฝ้าระวังและสังเกตอาการนาน 30 นาทีหลังได้รับวัคซีน
วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม (MMR – Measles, Mumps and Rubella vaccine)
หากไม่ได้รับวัคซีนเด็ก 6-12 เดือน หากเด็กเล็กที่ป่วยเป็นโรคหัดก็มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนทางปอดได้บ่อยและทำให้เสียชีวิตได้ ส่วนคางทูมก็พบบ่อยในเด็กเล็กเช่นกันซึ่งจะพบในเด็กที่รับวัคซีนไม่ครบสองครั้ง และโรคคางทูม พบได้ไม่บ่อยส่วนใหญ่เป็นเด็กที่ไม่ได้รับวัดซีนคางทูมมาก่อน
ตอบคำถามตามข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม
ถือว่าเป็นวัดซีนรวมซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคหัด โรคหัดเยอรมัน และโรคคางทูมได้ดีพอสมควร แต่ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสทั้ง 3 ชนิดอาจคงอยู่ไม่นาน จึงมีควาจำเป็นต้องให้วัคซีนซ้ำหลายครั้ง
วัดซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูมมีความปลอดภัยสูง อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนคือ
- อาการไข้
- เป็นผื่น
ซึ่งมักเกิดขึ้นหลังจากได้รับวัคซีนแล้วประมาณ 5-7 วันและหายไปได้เอง
แนะนำให้ฉีดจำนวน 2 ครั้งในเด็ก
- ครั้งที่ 1 สำหรับเด็กอายุ 9-12 เดือน (เด็กทารกซึ่งเป็นวัคซีนเด็ก 6-12 เดือน)
- ครั้งที่ 2 สำหรับเด็กอายุ 2 ขวบครึ่ง (เด็กเล็ก)
วัคซีนเด็ก 1-4 ปี ที่จำเป็นสำหรับเด็กเล็ก
วัคซีนเด็ก 1-4 ปี จะมีบางรายการที่เป็นรายการใหม่ และบางรายการจะเป็นการฉีดครั้งที่ 2 ซึ่งการฉีดวัคซีนครั้งที่ 2 นี้ก็เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันกรณีที่วัดชีนครั้งแรกไม่ได้ผล และอีกเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสสูงขึ้น หลังระดับภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัดซีนครั้งแรก ลดลงจนถึงระดับที่ไม่สามารถป้องกันโรคได้ และกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันมีระดับสูงอยู่ได้นาน โดยวัคซีนเด็ก 1-4 ปีขั้นพื้นฐานที่ควรได้รับ ได้แก่
วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน และโปลิโอ
วัคซีนเด็ก 1-4 ปี ชนิดนี้เป็นวัคซีนชนิดรวมโรค โดยเด็กในช่วงอายุนี้จะต้องทำการฉีดวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน ร่วมกับการหยอดวัคซีนโปลิโอ ซึ่งเป็นวัคซีนเด็กขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กอายุ 1 ปี 6 เดือน และอายุ 4-6 ปี
วัคซีนเด็ก 1-4 ปี ชนิดรวมซึ่งเป็นวัคซีนเสริมที่ใช้แทนวัคซีนเด็ก 1-4 ปี พื้นฐาน ได้แก่
วัคซีนเด็ก 1-4 ปี ชนิดรวมเพื่อใช้แทนวัคซีนคอตืบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดเต็มเซลล์ และวัคซีนโปลิโอชนิดหยอด ได้แก่
- วัคชีนรวม 5 โรค ได้แก่ วัคซีนคอตีบ -บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไม่มีเซลล์-โปลิโอชนิดฉีด-ฮิบ (DTaP-IPV-Hib) สำหรับเด็กอายุ 1 ปี 6 เดือน มีชื่อการค้าว่า Infanrix-IPV-Hib และ Pentaxim
- วัดซีนรวม 4 โรค ได้แก่ วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไม่มีเซลล์-โปลิโอชนิดฉีด (DT aP-IPV) สำหรับเด็กอายุ 1 ปี 6 เดือน และ 4-6 ปี มีชื่อการค้าว่า Infanrix-IPV และ Tetraxim
- วัดซีนรวม 3 โรค ได้แก่ วัคซีนดอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไม่มีเซลล์สูตรผู้ใหญ่ (Tdap) สำหรับเด็กอายุ 4-6 ปี มีชื่อการค้าว่า Boostrix
ตอบคำถามตามข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน และโปลิโอ
คำตอบข้อนี้ต้องแบ่งเป็น 2 กรณี คือ
- เด็กอายุขวบครึ่งต้องการฉีดวัคซีนเสริมเพื่อใช้แทนวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดเต็มเซลล์และวัคซีนโปลิโอชนิดหยอด สามารถเลือกฉีดวัคซีนรวม 4 โรคหรือวัคซีนรวม 5 โรคก็ได้
- กรณีที่เด็กอายุขวบครึ่งไม่เคยได้รับวัดซีนฮิบมาก่อน ควรเลือกฉีดวัคซีนรวม 5 โรคเพื่อให้ได้รับวัคซีนฮิบ 1 ครั้งซึ่งเพียงพอสำหรับเด็กที่เริ่มฉีดวัดซีนฮิบลำช้าเมื่ออายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปและ Adace
หากเด็กอายุ 4 ปีต้องการฉีดวัคซีนเสริม เพื่อใช้แทนวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดเต็มเซลล์และวัคซีนโปลิโอชนิดหยอด ควรเลือกฉีดวัคซีนรวม 3 โรค สูตรผู้ใหญ่ที่มีชื่อว่า วัคซีนทีแด๊ป (Idap) หรือวัคซีนรวม4โรคก็ได้ วัคซีนทีแด๊ปมีราคาถูกกว่า แต่ต้องหยอดวัคซีนโปลิโอด้วย เพราะวัคซีนทีแดปไม่มีวัคซีนโปลิโอชนิดฉีดเป็นส่วนผสม
วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (JE – Japanese encephalitis vaccine)
วัคซีนเด็ก 1-4 ปี ควรได้รับการฉีดอีกตัวคือ วัคซีนไข้สมองอีกเสบจี เพราะเป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กโรคนี้เกิดจากพาหะนำโรคอย่างยุงรำคาญ เป็นโรคที่มีความรุนแรงมาก ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตและมีความพิการทางสมองได้
วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นแตกต่างจากชนิดเชื้อตายอย่างไร
วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นจะมีประสิทธิภาพกว่าวัคซีนชนิดเชื้อตายที่มีใช้แต่เดิมดังนี้
- วัดซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็น สร้างภูมิคุ้มกันได้รวดเร็ว ระดับภูมิคุ้มกันสูง และภูมิคุ้มกันคงอยู่ได้นาน ทำให้ประสิทธิภาพของชนิดเชื้อเป็นเหนือกว่าวัคซีนชนิดเชื้อตาย
- วัดซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็น ปลอดภัยมากกว่าวัคซีนชนิดเชื้อตาย ที่เพาะเลี้ยงไวรัสในสมองของหนู ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนทางสมองหลังรับวัคซีน
- วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นแนะนำให้ฉีด 2 ครั้งสำหรับเด็ก ส่วนวัคซีนชนิดเชื้อตายแนะนำให้ฉีด 3 ครั้ง จึงมีความสะดวกกว่าและเป็นที่ยอมรับมากกว่า
ตอบคำถามตามข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนไข้สมองอักเสบเจีอี
วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็น มี 2 ชนิด ซึ่งวัคซีนทั้งสองชนิดมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ใกล้เคียงกัน แต่ระยะห่างในการฉีดวัคซีนต่างกันคือ
- วัคซีนที่เพาะเลี้ยงไวรัสในเชลล์ไตของหนูแฮมสเตอร์ (CDJEVax) การฉีดวัคซีนครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 3-12 เดือน
- วัคซีนชนิดที่เพาะเลี้ยงไวรัสในเซลล์วีโร (Imojev) การฉีดวัคซีนครั้งที่ 2 ห่างกัน 1-2 ปีสำหรับวัคซีน Imojev
วัคซีนเด็ก 1-4 ปี วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นแนะนำให้ฉีด 2 ครั้ง
- ครั้งที่ 1 สำหรับเด็กอายุ 9 เดือนขึ้นไป
- ครั้งที่ 2 เพื่อกระตุ้นช้ำ ห่างจากครั้งแรก 1 ปี
สามารถฉีดครั้งแรกในเด็กอายุ 9 เดือนขึ้นไป ซึ่งภาครัฐจะจัดสรรและแนะนำให้ฉีดวัดซีนครั้งแรกเมื่ออายุ 1 ปี 6 เดือน พร้อมกับวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนครั้งที่ 4 และครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 2 ปี 6 เดือนพร้อมกับวัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูมครั้งที่ 2 เพื่อความสะดวกในการให้บริการวัคซีน
วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นนั้นมีความปลอดภัยสูง ผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นอาการเฉพาะที่บริเวณฉีดวัคซีนเท่านั้น ซึ่งวัคซีนชนิดเชื้อเป็น ไม่มีผลข้างเคียงระยะยาวทางสมอง แบบที่พบในวัคซีนชนิดเชื้อตายที่เพาะเลี้ยงไวรัสในสมองหนู
เกร็ดความรู้
ในปัจจุบันมีวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อตายแบบใหม่ ที่ทำการเพาะเลี้ยงไวรัสในเชลล์วีโร ซึ่งปลอดภัยกว่าวัคชีนชนิดเชื้อตายที่เพาะเลี้ยงไวรัสในสมองหนู ใช้แทนเชื้อเป็นจำนวน 3 ครั้ง สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องที่ไม่ควรได้รับวัดชีนเชื้อเป็น เช่น ผู้ติดเชื้อHIV
วัคซีนอีสุกอีใส (Varicella Vaccine/Chickenpox Vaccine)
หลายคนคงสงสัยว่าวัคซีนด็ก 1-4 ปี นี่ต้องฉีดวัคซีนอีสุกอีสัยด้วยหรอ เพราะปกติอีสุกอีสัยก็มักหายได้เอง แต่มีการตรวจพบว่าเด็กเล็กที่ป่วยเป็นโรคอีสุกอึใสบางราย อาจมีอาการรุนแรงและพบภาวะแทรกซ้อนได้ด้วย เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนทางผิวหนัง ปอดบวม สมองอักเสบ เพราะแบบนั้นปัจจุบันแพทย์จึงไม่อยากให้เด็กติดอีสุกอีใสจามธรรมชาติ
ตอบคำถามตามข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนอีสุกอีใส
วัคซีนอีสุกอีใสป้องกันโรคประมาณร้อยละ 95 หลังฉีดวัดซีนครั้งที่ 2 ซึ่งไม่ป้องกันโรคได้ 100 เปอร์เซนต์ สามารถเป็นโรคอีสุกอีใสได้ หากเด็กเป็นมักมีอาการไม่รุนแรง เพราะวัคซีนช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้
ควรให้เด็กฉีดวัดซีนอีสุกอีใส เพราะบางครั้งโรคอีสุกอึใสในเด็กอาจมีอาการรุนแรง มีการแพร่กระจายเชื้อในครอบครัว ในโรงเรียนได้
วัคซีนอีสุกอีใสเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป แนะนำว่าควรฉีด 2 ครั้ง และครั้งที่ 2 ฉีดเมื่อเด็กอายุ 4-6 ปี หรือจะฉีดห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 1-3 เดือนก็ได้
ไม่จำเป็น เพราะวัคซีนอีสุกอีใสทุกยี่ห้อจะมีคุณสมบัติและกระบวนการผลิตที่ใกล้เคียงกัน จึงสามารถเลือกฉีดวัคซีนอีสุกอีใสยี่ห้อไหนก็ได้
วัคซีนอีสุกอีใสมีความปลอดภัยสูงในเด็กและมีผลข้างเคียงหลังฉีดวัดซีนน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นอาการเฉพาะที่ เด็กบางคนอาจมีไข้และผื่นได้ซึ่งส่วนใหญ่ เกิดตามหลังฉีดวัคซีนนาน 5-7 วัน
วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ (HBA – Hepatitis A Vaccine)
การฉีดวัคซีนเด็ก 1-4 ปี ตัวนี้ถือว่าสำคัญไม่แพ้ตัวอื่นๆเลย เพราะไวรัสตับอักเสบเอนั้นสามารถปนเปื้อนในอาหารได้ ซึ่งแน่นอนว่าเด็กๆจะต้องรับประทานทุกวัน ทำให้มีโอกาสรับความเสี่ยง ได้ เพราะฉะนั้นเด็กเล็กจึงควรได้รับวัคซีน ถึงแม้ว่าในเด็กเล็กอาการป่วยจะไม่ได้รุนแรงเท่าเด็กโตก็ตาม
อาการของไวรัสตับอักเสบเอ
หากไม่ได้รับวัคซีนเด็ก 2-6 เดือน อาจทำให้ลูกของคุณต้องรับความเสี่ยงจากอาการของแต่ละโรคดังนี้
- มีอาการไข้
- เบื่ออาหาร
- คลื่นไส้อาเจียน
- เป็นดีซ่าน (มีตา,ตัวเหลือง)
ตอบคำถามตามข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนตับอักเสบเอ
วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรคตับทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
ควรฉีด หากไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายควรแนะนำให้เด็กไทยฉีดวัคซีนตับอักเสบเอ เพราะทำให้เด็กเล็กติดเชื้อลดลง การติดเชื้อจึงมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในเด็กโตซึ่งจะมีอาการรุนแรง
วัคซีนชนิดเชื้อตาย และวัคซีนชนิดเชื้อเป็น แตกต่างกันตามอายุที่เริ่มฉีด วิธีการฉีด จำนวนครั้งในการฉีด และราคา
ไม่จำเป็น สามารถเปลี่ยนไปใช้วัคซีนยี่ห้ออื่นได้เพราะวัคซีนทุกยี่ห้อมีคุณสมบัติใกล้เคียงกันมาก
วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอเป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัยสูง พบอาการข้างเคียงโดยเฉพาะ อาการไข้หลังฉีดวัดซีนน้อยมาก
วัคซีนเด็กโตควรได้รับมีอะไรบ้าง
วัดซีนเด็กโตชนิดพื้นฐาน ได้แก่ วัดซีนคอตืบ-บาดทะยักสูตรผู้ใหญ่ และวัคซีนเอชพีวี (วัคซีนเด็กโต ที่ควรเริ่มฉีดในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5) และวัคซีนเด็กโตตัวสุดท้ายคือวัคซีนโควิด 19
วัคซีนเด็กโตกรณีที่วัยเด็กได้รับวัคซีนไม่ครบ
วัคซีนเด็กโตกรณีไม่เคยได้รับวัคซีนหรือไม่แน่ใจว่าเคยได้รับในอดีต ทางที่ดีควรพาลูกไปรับวัคซีนตามที่ขาดตามนี้ ได้แก่
-
1. วัคซีนตับอักเสบบี
คนเกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนตับอักเสบบี เพราะทางภาครัฐมีนโยบายในการฉีดวัคซีนตับอักเสบบีให้กับทารกแรกเกิดทุกคน คนที่เกิดก่อนปี พ.ศ. 2535 และไม่เคยได้รับวัคซีนตับอักเสบบีมาก่อน ควรทำการตรวจเลือดเพื่อดูระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบีก่อน ถ้ายังไม่มีภูมิคุ้มกันแนะนำให้ฉีดวัคซีน
-
2. วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี
คนเกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี เพราะภาครัฐมีนโยบายในการฉีดวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อตายให้กับเด็กทุกคน หรือจะฉีดวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นกระตุ้นซ้ำ เพื่อให้ระดับภูมิคุ้มกันสูงอยู่นานก็ได้ ส่วนคนที่เกิดก่อนปี พ.ศ. 2544 และไม่เคยได้รับวัดซีนไข้สมองอักเสบเจอีมาก่อน สามารถฉีดวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นจำนวน 1-2 ครั้ง
-
3. วัคซีนอีสุกอีใส
วัคซีนเด็กโตในเด็กที่ไม่เคยป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสหรืองูสวัด และวัคซีนเด็กโตในเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนอีสุกอีใสมาก่อน แนะนำว่าควรได้รับการฉีดวัคซีนอีสุกอีใสด้วย
-
4. วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ
เด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอชนิดเชื้อตายมาก่อน ควรได้รับการฉีดวัคซีนเด็กโตตับอักเสบเอซนิดเชื้อตาย โดยต้องฉีดเข้ากล้ามเนื้อจำนวน 2 ครั้ง หรือวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอชนิดเชื้อเป็น โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนังเพียงครั้งเดียว
หากเคยวัคซีนเด็กมาแล้วในอดีตต้องฉีดกระตุ้นซ้ำอีกหรือไม่?
แม้ว่าวัคซีนเด็กโตบางจะเคยได้รับวัคซีนมาก่อนแล้วในวัยเด็ก แต่วัคซีนบางชนิดควรได้รับการกระตุ้นอีกครั้งสำหรับวัยเด็กโต หรือด้วยเหตุผลอื่นๆเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้มีระดับที่สูงเพียงพอในการป้องกันโอกาสการป่วยนั่นเอง โดยวัคซีนที่ควรฉีดกระตุ้น ได้แก่
1. วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม ควรพิจารณาฉีดกระตุ้น 1 ครั้งสำหรับวัคซีนเด็กโตและผู้ใหญ่
2. วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นครพิจารณาฉีดกระตุ้น 1 ครั้ง สำหรับวัคซีนเด็กโตและผู้ใหญ่
3. วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก หรือวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน สูตรผู้ใหญ่ ควรฉีดกระตุ้น 1 ครั้งสำหรับวัคซีนเด็กโตและผู้ใหญ่ คนมีแผลซึ่งมีความเสี่ยงต่อโรคบาดทะยัก และคนท้อง
วัคซีนเด็กโตที่ควรฉีด ควรมีวัคซีนไข้หวัดใหญ่หรือไม่?
วัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นวัคซีนที่ไม่ใช่วัคซีนเด็กโต แต่เป็นวัคซีนที่ควรฉีดกระตุ้นทุกปีเนื่องจากมีการระบาดในทุกปี รวมถึงมีสายพันธุ์ที่ไม่แน่นอน การฉีดจะช่วยโอกาสป่วยรุนแรงและแพร่เชื้อ เป็นวัคซีนพื้นฐานสำหรับคนอ้วน หญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังบางอย่าง ส่วนเด็กโต บางครั้งหน่วยงานรัฐจะมีบริการให้ฉีดได้ฟรี ส่วนผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงไม่มีความเสี่ยงอาจมีค่าใช้จ่ายในการฉีดกระตุ้น
วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก สูตรผู้ใหญ่ และวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน สูตรผู้ใหญ่ (ทีแด๊ป)
เดี๋ยวนี้มีคนป่วยเป็นคอตีบสูงขึ้น ซึ่งผู้ป่วยมักไม่ได้รับวัคซีนครบตามวัย หรือเด็กโตและผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ฉีดกระตุ้นวัคซีนบาดทะยักแต่กรณีนี้จะพบได้น้อยมากเพราะปัจจุบันมักได้รับวัคซีนครบตั้งแต่ตั้งครรภ์แล้ว แต่ไอกรนนั้นพบมากขึ้นในปัจจุบัน ผู้ป่วยจะเป็นเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน หรือรับแล้วแต่ยังไม่ครบ 3 ครั้ง ซึ่งส่วนมากติดจากผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เป็นวัคซีนเด็กโตตั้งแต่อายุ 10 ขึ้นไปควรฉีด
ตอบคำถามวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก สูตรผู้ใหญ่ และวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน สูตรผู้ใหญ่
- วัดซีนคอตีบ-บาดทะยักสูตรผู้ใหญ่ ไม่เสียค่าใช้จ่าย เพราะเป็นวัคซีนพื้นฐานที่ภาครัฐมีบริการให้
- วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนสูตรผู้ใหญ่หรือวัคซีนทีแด๊ป ผู้รับวัคซีนต้องเสียค่าใช้จ่ายด้วยตนเอง เป็นวัคซีนเสริมที่สามารถนำมาใช้แทนวัคซีนคอตีบ-บาดทะยักสูตรผู้ใหญ่ โดยเพิ่มเติมวัคซีนไอกรนชนิดไม่มีเซลล์เข้าไปเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไอกรน
มีให้เลือกใช้ 2 ชนิด
- แบบที่1 บรรจุเชื้อไอกรนในปริมาณน้อย (Tdap) มีชื่อการค้าว่า Boostrix และ Adacel ส่วน
- แบบที่2 เป็นวัคซีนแบบใหม่ที่บรรจุเชื้อไอกรนในปริมาณที่สูงกว่า (Tdap) มีชื่อการค้าว่า Boostagen ซึ่งทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไอกรนในระดับที่สูงกว่าและคงอยู่นานแต่วัคซีนมีราคาสูงกว่าวัคซีนแบบแรก
นอกจากนั้นยังมีวัคซีนไอกรนชนิดไม่มีเซลล์อย่างเดียว (aP) มีชื่อเรียกทางการค้าว่า Pertagen ให้เลือกใช้เพื่อลดอาการข้างเคียงเฉพาะที่จากวัคซีนคอตีบ และวัคซีนบาดทะยัก
ทั้งสองชนิดมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคตามเชื้อที่บรรจุสูง
วัคซีนคอตีบ-บาดทะยักสูตรผู้ใหญ่ และวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนสูตรผู้ใหญ่ มีความปลอดภัย ไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรง อาการข้างเคียงที่พบบ่อยคือ อาการปวดบวมแดง ณ ตำแหน่งที่ฉีดวัคซีนซึ่งมักพบหลังฉีดวัคซีน 1-2 วัน และหายไปได้เองภายใน 3-4 วัน
วัคซีนเอชพีวี (HPV – Human Papillomavirus Vaccine)
จากสถิติในปัจจุบันพบว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในสาวไทย และอาจอันตรายถึงชีวิต แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนเด็กโตที่มีอายุ 11 ปีขึ้นไป หรือประมาณชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 วัคซีนนี้จะฉีดได้ทั้งเด็กผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งทางรัฐจะมีให้ฉีดได้ฟรีในเด็กผู้หญิง ส่วนเด็กผู้ชายและผู้ใหญ่ไม่มีความเสี่ยง อาจต้องมีค่าใช้จ่ายเพราะถือเป็นวัคซีนเสริม
ตอบคำถามตามข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนมะเร็งปากมดลูก
เพื่อให้วัดซีนมีประโยชน์สูงสุดควรฉีดวัคซีนก่อนการมีเพศสัมพันธ์ โดยฉีดวัคซีนจำนวน 3 ครั้งห่างกัน 1-2 เดือน และ 6 เดือน เด็กอายุ 9-15 ปีสามารถลดจำนวนครั้งในการฉีดวัคซีนเหลือ 2 ครั้งห่างกัน 6 เดือน คนที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วสามารถฉีดวัคซีนเอชพีวีได้ แต่อาจได้รับประโยชน์น้อยกว่าคนที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์
วัคซีนเอชพีวีมีให้เลือกใช้ 3 ชนิด คือ
- วัคซีนเอชพีวีชนิด 2 สายพันธุ์ (Cervarix) มีสารเร่งภูมิคุ้มกันซึ่งทำให้ภูมิคุ้มกันที่
เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนมีระดับสูง (สายพันธุ์ 16 และ 18) - วัคซีนเอชพีวีชนิด 4 สายพันธุ์ (Gardasil 4) สามารถป้องกันโรคหูดบริเวณทวารหนัก และอวัยวะเพศได้ด้วย แต่มีราคาสูงกว่าวัคซีนชนิด 2 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ 6, 11, 16 และ 18)
- วัคซีนเอชพีวีชนิด 9 สายพันธุ์ (Gardasil 9) พัฒนามาจากชนิด 4 สายพันธุ์ ซึ่งจะมีประสิธิภาพสูงกว่า (สายพันธุ์ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58)
วัคซีนเอชพีวีมีความปลอดภัยสูง มักไม่พบอาการข้างหรือผลข้างเคียงที่รุนแรง อาการข้างเคียงที่พบบ่อยคืออาการเจ็บปวดขณะทำการฉีดวัคซีน
วัคซีนคอตีบ-บาดทะยักสูตรผู้ใหญ่ และวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนสูตรผู้ใหญ่ มีความปลอดภัย ไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรง อาการข้างเคียงที่พบบ่อยคือ อาการปวดบวมแดง ณ ตำแหน่งที่ฉีดวัคซีนซึ่งมักพบหลังฉีดวัคซีน 1-2 วัน และหายไปได้เองภายใน 3-4 วัน
เกร็ดความรู้
การป้องกันมะเร็งปากมดลูกอีกวิธีหนึ่งก็คือ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติบริเวณปากมดลูกก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูก ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วหรือมีอายุเกิน 30-40 ปี ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรคและรักษาให้หายขาดโดยเร็ว
วัคซีนไข้เลือดออก (Dengue Vaccine)
ไข้เลือดออกนั้นเป็นโรคที่มีการระบาดในทุก 3-5 ปีในไทย ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการหนักและรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต การให้วัคซีนเด็กโตที่มีอายุ 9 ปีขึ้นไปจึงมีความสำคัญเป้นอย่างมาก
แล้วอาการของไข้เลือดออก และไข้หวัดใหญ่มีความแตกต่างกันอย่างไร?
- ผู้ป่วยไข้เลือดออก อาจมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่โดยเฉพาะใน 2 วันแรกผู้ป่วยทั้งสองโรคจะมีไข้สูงร่วมกับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ทำให้ยังบอกไม่ได้ชัดเจนจากอาการของผู้ป่วยว่าเป็นโรคอะไร ต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการอาจช่วยสนับสนุนว่าผู้ป่วยเป็นโรคอะไร แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
- ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ จะมีอาการ เช่น มีน้ำมูก ไอ ในขณะที่ผู้ป่วยไข้เลือดออกมักไม่ค่อยมีอาการหวัด แต่จะมีอาการของระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และเบื่ออาหาร เป็นต้น
ตอบคำถามตามข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนไข้เลือดออก
จากผลการวิจัยหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยพบว่า วัคซีนไข้เลือดออก สามารถป้องกันโรคได้ (65%) หรืออย่างน้อยก็ช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ (80%) และช่วยลดความจำเป็นในการรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล (90%)
เพราะ โรคไข้เลือดออกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกีซึ่งมี 4 ชนิด จึงสามารถพบผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกได้หลายครั้ง
ผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อนจะมีภูมิคุ้มกันในการป้องกันการติดเชื้อแต่ไม่ครบทั้ง 4 ชนิด วัคซีนจะช่วยกระตุ้นระดับภูมิคุ้มต่อเชื้อไวรัสเดงกีให้ครบทั้ง 4 ชนิด แต่หากไม่เคยติดเชื้อมาก่อน วัคซีนอาจสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสเดงก็ในระดับที่ไม่สูงนัก และอาจไม่ครบทั้ง 4 ชนิด วัคซีนไข้เลือดออกจึงมีประโยชน์น้อยกว่าในคนที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน
คนที่เคยติดเชื้อไวรัสเดงกีมาก่อนหรือมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสเดงกีอยู่บ้าง ได้แก่
- มีประวัติเคยป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก
- มีอายุมากกว่า 15-20 ปี ซึ่งน่าจะเคยติดเชื้อไวรัสเดงก็โดยไม่มีอาการหรือไม่ทราบว่าเคยป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก
วัคซีนโควิด 19 (Covid 19 Vaccine)
อีกหนึ่งวัคซีนเด็กโตที่ขาดไม่ได้ก็คือเจ้าวัคซีนโควิด-19 เพราะเป็นวัคซีนที่มีผลต่อสภานการณ์ในปัจจุบันมากๆ ถึงแม้ว่าตอนนี้จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นแต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ เนื่องจากเด็กโตมักใช้เวลาอยู่นอกบ้านเป็นส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน หรือสถานกวดวิชา บวกกับปัจจุบันที่ผู้ป่วยก็ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นตลอดเวลานั่นเอง
ตอบคำถามตามข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนไข้เลือดออก
สามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่ 5-11 ปี ซึ่งวัคซีนตัวนี้จะเป็นชนิดสำหรับเด็ก
วัคซีนโตเด็กอายุ 5-11 ปี จะใช้ปริมาณ 10 ไมโครกรัม
มีแต่ส่วนมากไม่รุนแรง เช่น เจ็บ บวม แดง ร้อน บริเวณที่ฉีดวัคซีน มีไข้ ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เป็นต้น เมื่อทานยาตามอาการก็หายได้ ส่วนบางกรณีที่มีผลข้างเคียงแบบรุนแรงได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นเพียง 1 ในล้านคนเท่านั้น และมีเพียงส่วนน้อยมากที่มีการเสียชีวิต
เริ่มฉีดวัคซีนเด็กตั้งแต่ตอนไหนถึงจะดี
การเริ่มฉีดวัคซีนเด็กสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่ช่วงแรกเกิดเลย เนื่องจากในร่างกายของทารกนั้นยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันอย่างเต็มที่ได้ การฉีดวัคซีนจะเปรียบเสมือนเกราะป้องกันโรคร้ายให้ลูกของคุณนั่นเอง
หากคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่วงแผนจะมีลูกเราขอแนะนำให้คุณทำการฝากครรภ์ด้วยเพื่อที่ระหว่างการตั้งครรภ์ตัวคุณแม่เองจะได้รับการดูแล และคำแนะนำที่จำเป็นขณะตั้งครรภ์ไปจนถึงหลังคลอด ซึ่งทางแพทย์จะมีการแนะนำการเริ่มวัคซีนเด็ก ที่ลูกน้อยควรได้รับให้ครบตามช่วงเวลาค่ะ เวลาไปรับบริการฉีดวัคซีนก็อย่าลืมพกสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก ไปด้วยทุกครั้ง ใครที่มีลูกน่าจะรู้จักเจ้าสมุดสีชมพูเล่มนี้ ซึ่งจะมีข้อมูลตั้งแต่ฝากครรภ์, วิธีการดูแลลูกน้อย รวมถึงบันทึกการฉีดวัคซีนของลูกน้อยเลยค่ะ
รู้จักสมุดสีชมพูหรือสมุดสุขภาพแม่และเด็ก
จบกันไปแล้วนะคะกับการฉีดวัคซีนเด็ก หวังว่าหลายคนคงได้ความรู้ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนเด็กตามแต่ละช่วงวัย และสำหรับใครที่วางแผนมีน้องสามารถใช้สิทธิบัตรทองในการฝากครรภ์คุณภาพได้ด้วยนะ หากต้องการเปลี่ยนสิทธิบัตรทองดูได้ที่นี่เลย