โรงพยาบาลใกล้ฉัน หน้าที่สำคัญของโรงพยาบาล และการแยกประเภท

โรงพยาบาลใกล้ฉัน น่าจะเป็นคีย์เวิร์ดที่หลายๆคนเสิร์ชในช่วงเวลาที่เร่งรีบ และต้องการหาโรงพยาบาลในวินาทีเร่งด่วน วันนี้เราเลยพาคุณมาทำความรู้จักโรงพยาบาลกันให้มากขึ้น ว่าโรงบาลเนี่ยมันมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่นะ รวมไปถึงประเภท และแผนกต่างๆในโรงพยาบาลที่มีเยอะจนนับไม่ไหว รู้จักกับสิทธิ UCEP อะไรใช้ได้เมื่อไหร่ ถ้าอยากรู้ไปอ่านกันเลย!

ประกันสังคมโรงพยาบาลใกล้ฉัน เปลี่ยนง่ายๆได้ด้วยตัวเอง!

สารบัญ




โรงพยาบาลแห่งแรกของไทย คือ

ถ้าให้เล่าย้อนไปแล้ว จริงๆการแพทย์แผนปัจจุบันนั้นเข้ามามีบทบาทในสยาม ตั้งแต่สมัยอยุธยาเลย ซึ่งเข้ามาพร้อมกับการติดต่อการค้ากับชาวต่างชาติ และการเข้ามาเผยแพร่ของศาสนาคริสต์ แตเราเริ่มมีโรงพยาบาลแห่งแรก ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า (รัชกาลที่ 5) ซึ่งโรงพยาบาลแรกของไทยเราก็คือ ‘โรงพยาบาลศิริราช’ นั่นเอง ซึ่งเดิมใช้ชื่อว่า โรงศิริราช โดยได้ก่อตั้งในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2429 ให้การรักษาแพทย์แผนโราญและปัจจุบัน รวมไปถึงมีการรับนักเรียนแพทย์และพยาบาล

ต่อมาในปี 2457 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ก่อตั้ง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่รัชกาลที่ 5 ซึ่งจะเป็นทั้งโรงพยาบาลและสภากาชาดไทย อย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน และรวมไปถึง คณะแพทย์ศาตร์ของมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ จากการสร้างโรงพยาบาลศิรราชนั้นก็ก่อให้เกิดโรงพยาบาลใกล้ฉันอื่นๆ ตามมาอีกมากมายในภายหลัง

โรงพยาบาลศิริราช
โรงพยาบาลศิริราช

หน้าที่โรงพยาบาล

โรงพยาบาลจัดเป็นสถานพยาบาลอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งหน้าที่ของโรงพยาบาล คือ การทำหน้าที่ส่งเสริมในเรื่องของสุขอนามัยและการควบคุมและป้องกันโรค ให้การตรวจและรักษาโรค รวมถึงเตรียมพร้อมการรักษาผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน ให้แก่ประชาชน และชุมชนในระแวกนั้นๆ

วางแผนครอบครัวที่โรงพยาบาลเตรียมความพร้อมก่อนมีลูก

โรงพยาบาลมีกี่ประเภท?

โรงพยาบาลสามารถแบ่งได้หลัก 4 ประเภท คือ

โรงพยาบาลโรคทั่วไป (General hospital)

โรงพยาบาลโรคทั่วไป คือ โรงพยาบาลสำหรับรักษาโรคทั่วไป ซึ่งเป็นประเภทที่เราสามารถพบเห็นได้บ่อย โดยโรงพยาบาลชนิดนี้จะมีทั้งแบบที่รัฐบาลก่อตั้งขึ้นและทั้งของเอกชน ซึ่งโรงพยาบาลประเภทนี้หาเป็นเอกชนจะมีเตียงผู้ป่วยอยู่ที่ 100 – 400 เตียง/แห่ง ส่วนโรงพยาบาลรัฐอาจมีจำนวนแตกต่างกันตามงบประมาณ

โรงพยาบาลรักษาโรคเฉพาะทาง (Specialized hospital)

โรงพยาบาลรักษาโรคเฉพาะทาง คือ โรคพยาบาลที่รักษาเฉพาะโรค ซึ่งโรงพยาบาลนี้จะจำแนกย่อยๆไปตามสาขาโรค การรักษาในโรงพยาบาลชนิกนี้จะที่ซับซ้อน โดยจะรักษาในโรคหลักๆตามชนิดของโรงพยาบาลนั้นๆ ที่เราสามารถพบได้บ่อย เช่น

  • โรงพยาบาลโรคผิวหนัง
  • โรงพยาบาลจิตเวช
  • โรคพยาบาลตา หู คอ จมูก
  • โรงพยาบาลทรวงอก
  • โรงพยาบาลแม่และเด็ก
  • สถาบันมะเร็ง
  • โรงพยาบาลทันตกรรม
โรงพยาบาลรักษาโรคมะเร็ง
โรงพยาบาลรักษาโรคมะเร็ง

โรงพยาบาลแยกประเภทผู้ป่วย (Special patient hospital)

โรงพยาบาลแประเภทนี้จะแตกต่างจากโรงพยาลทั่วๆไป คือ จะมีการแยกประเภทของผู้ป่วยออกจากผู้ป่วยทั่วไป โดยแยกผู้ป่วยโดยข้อจำกัดบางอย่าง เช่น โรงพยาบาลเด็ก เพราะในเด็กบางรายอาจมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายอาจต้องแยกไปที่โรงพยาบาลประเภทนี้ หรือ โรงพยาบาลสงฆ์ ที่มีข้อจำกัดมากการรักษาในโรงพยาบาลชนิดแยกประเภทจะค่อนข้างสะดวกกว่า

โรงพยาบาลสำหรับเด็ก
โรงพยาบาลสำหรับเด็ก

โรงพยาบาลที่ก่อตั้งขึ้นจากมูลนิธิการกุศล (Non-profit hospital)

เป็นโรงพยาบาลที่ทำการรักษาโดยที่ไม่มีการแสวงหาผลกำไร โดยที่โรงพยาบาลชนิดนี้จะมีการรับเงินจากผุ้ป่วยพิเศษและเงินสนับสนุนของมูลนิธิต่างๆ เพื่อใช้ในการดำเนินการโรงพยาบาลให้อยู่ได้ ซึ่งโรงพยาบาลชนิดนี้จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล




โรงพยาบาลมีแผนกอะไรบ้าง?

แผนกของโรงพยาบาลใกล้ฉัน แบ่งเป็น 16 แผนก ได้แก่

  • 1. แผนกผู้ป่วยใน (Invasive Patient Department หรือ IPD)

สำหรับผู้ป่วยในกรณีที่ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องเข้าพักในโรงพยาบาล หรือก็คือการแอทมิท (admit) เพื่อรักษาหรือติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ใน 24 ชั่วโมง

ผู้ป่วย OPD ที่พักในโรงพยาบาล
ผู้ป่วย OPD ที่พักในโรงพยาบาล
  • 2. แผนกผู้ป่วยนอก (Out-Patient-Department : OPD)

สำหรับผู้ป่วยที่เข้ามารับการตรวจและรักษาทั่วไป ที่ไม่ได้มีอาการป่วยร้ายแรง หรืออยู่ในขั้นวิกฤติและสามารถกลับบ้านได้ตามปกติ

การตรวจสุขภาพโดยทั่วไป สำหรับผู้ป่วยนอก
การตรวจสุขภาพโดยทั่วไป สำหรับผู้ป่วยนอก
  • 3. แผนกจิตเวช (Psychology Department)

แผนกที่ตรวจรักษาโรคเฉพาะทางด้านจิตเวทต่างๆ ทางด้านจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นอาการจากความเครียด พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพล่า หรือผู้มีอาการนอนไม่หลับ

ปรึกษาแพทย์ที่แผนกจิตเวช
ปรึกษาแพทย์ที่แผนกจิตเวช
  • 4. แผนกฉุกเฉินและอุบัติเหตุ ( Emergency room หรือ Er)

เป็นแผนกที่ค่อนข้างวุ่นวายเนื่องจากต้องมีการเตรียมพร้อมรับผู้ป่วยตลอดเวลา ซึ่งผู้ป่วยในแผนกนี้มักเป็นผู้ป่วยวิกฤติที่อาจมาจากอุบัติเหตุและโรคประจำตัว ที่ต้องได้รับการรักษาในทันที

ผู้ป่วยวิกฤติ ที่ต้องเข้าห้องฉุกเฉิน
ผู้ป่วยวิกฤติ ที่ต้องเข้าห้องฉุกเฉิน
  • 5. แผนกรังสีวิทยา (Radiology Department)

แผนกนี้จะเน้นการตรวจโดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ เช่น เครื่องเอ็กซเรย์ (X-rays) หรือเครื่องอัลตร้าซาวน์ (Ultrasound)

การอธิบายผลการเอ็กซเรย์โดยแพทย์ในโรงพยาบาล
การอธิบายผลการเอ็กซเรย์โดยแพทย์ในโรงพยาบาล
  • 6. แผนกผู้ป่วยหนัก หรือผู้ป่วยวิกฤติ (Intensive Care Unit หรือ ICU)

จะเป็นแผนกที่รับผู้ที่ป่วยหนักเข้าขั้นวิกฤต หรือผุ้ที่เพิ่งผ่านการผ่าตัด ที่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเสียชีวิต เนื่องด้วยปัญหาจากอวัยวะบางส่วนที่ไม่สามารถทำงานได้เองตามปกติ อาจต้องมีการใช้เครื่องมือช่วย เช่น เครื่องช่วยหายใจ

ห้องไอซียู โดยทั่วไปของโรงพยาบาลใกล้ฉัน
ห้องไอซียู โดยทั่วไปของโรงพยาบาลใกล้ฉัน
  • 7. แผนกห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Laboratory Department)

เป็นแผนกที่ให้บริการในการตรวจผลต่างๆในร่างกายผ่านการตรวจเลือด ปัสสาวะ อุจจาระสารคัดหลั่ง ชิ้นเนื้อ เพื่อหาความผิดปกติต่างๆภายในร่างกาย ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในการช่วยวินิจฉัยการของโรค หรือบางกรณีอาจเป็นแค่การมาตรวจผลเพื่อยืนยัน

การตรวจเช็คผลเลือดในแล็บโรงพยาบาล
การตรวจเช็คโดยผลเลือด ในแล็บโรงพยาบาล




  • 8. แผนกเภสัชกรรม (Pharmacy Department)

แผนกนี้จะมีหน้าที่ในการจัดยา หาซื้อยา อุปกรณ์ทางการแพทย์และเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาล และเป็นผู้คอยจ่ายยาให้ผู้ป่วย โดยจะต้องมีเภสัชกรที่มีความรู้ในด้านนี้เพื่อการจ่ายยาที่ถูกต้องและปลอดภัยแก่คนไข้

แผนกเภสัชกรรมในโรงพยาบาล
แผนกเภสัชกรรมในโรงพยาบาล
  • 9. แผนกศัลยกรรม (Surgical Department)

แผนกนี้จะรับผิดชอบในส่วนของการตรวจวินิจฉัยโรคและการผ่าตัดต่างๆ โดยการมีศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่างๆ เช่น การตัดชิ้นเนื้อ มะเร็งทรวงอก ไส้ติ่ง เป้นต้น

การผ่าตัดในแผนกศัลยกรรม
การผ่าตัดในแผนกศัลยกรรม
  • 10. แผนกวิสัญญี (Anesthesia Department)

แผนกนี้จะมีหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลในส่วนของยาสลบ สำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด โดยจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก

การทำงานของแผนกวิสัญญี
การทำงานของแผนกวิสัญญี
  • 11. แผนกสูตินรีเวช (Obstetrics Department)

เป็นแผนกที่ว่าด้วยเรื่องของผู้หญิง อย่าง การฝากครรภ์ การคุมกำเนิด วางแผนครอบครัว การตรวจภายใน และความผิดปกติอื่นๆในเพศหญิง

เจ้าหน้าที่สูตินรีเวชในโรงพยาบาล
เจ้าหน้าที่สูตินรีเวชในโรงพยาบาล
  • 12. แผนกกุมารเวช (Pediatrics Department)

จะเป็นแผนกที่ให้บริการเกี่ยวกับสุขภาพของเด็กเล็กไปจนถึงช่วงวัยรุ่น โดยบริการสำคัญๆ เช่น การบริการฉีดวัคซีนตามช่วงวัย พัฒนาการเด็ก โรคในเด็ก

ผู้ป่วยเด็กในแผนกกุมารเวช
ผู้ป่วยเด็กในแผนกกุมารเวช
  • 13. แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู (Physical Therapy)

หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของกายภาพบำบัด จะเน้นไปทางด้านการดูแลร่างกาย และการฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วย โดยจะมีการบำบัดรักษาที่เหมาะสมตามอาการของแต่ละบุคคล

การทำกายภาพบำบัดผู้ป่วยในโรงพยาบาล
การทำกายภาพบำบัดผู้ป่วยในโรงพยาบาล
  • 14. แผนกอายุรกรรม (Medicine Department)

เป็นแผนกที่ตรวจและรักษาโรคทั่วไป โดยการรักษาจะใช้ยา โดยผู้ป่วยในแผนกนี้อาจเป็นผู้ที่มีอาการป่วย หรือโรคเรื้อรัง เช่นโรคหัวใจ เบาหวาน เป็นต้น

การตรวจความดันโลหิตที่แผนกอายุรกรรมในโรงพยาบาล
การตรวจความดันโลหิตที่แผนกอายุรกรรมในโรงพยาบาล
  • 15. แผนกหู คอ จมูก (Otolaryngology Department)

ตามชื่อเลยแผนกนี้จะเน้นตรวจที่บริเวณหู คอ จมูก ทุกชนิด เช่น ตรวจอาการหูอื้อ,  ปัญหาทางด้านสายตา ,ภูมิแพ้ ,ไซนัส เป็นต้น เราจะเรียกแพทย์ในแผนกนี้ว่า แพทย์โสตศอนาสิก

แพทย์โสตศอนาสิก ในโรงพยาบาล
แพทย์โสตศอนาสิก ในโรงพยาบาล
  • 16. แผนกจักษุ (Ophthalmology Department)

จะเน้นการตรวจวินิจฉัยเกี่ยวกับบริเวณดวงตาเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสายตา การมองเห็น เช่น ผู้มีสายตาสั้น สายตาเอียง ตาพร่า

การตรวจวัดสายตาที่โรงพยาบาล
การตรวจวัดสายตาที่โรงพยาบาล




โรงพยาบาลรัฐกับเอกชน แตกต่างกันอย่างไร?

ห้องพักผู้ป่วยในโรงพยาบาล
ห้องพักผู้ป่วยในโรงพยาบาล
  • โรงพยาบาลรัฐ

คือ โรงพยาบาลที่ทางรัฐบาลจัดตั้งขึ้นมา ในการดูแลของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้บริการประชาชาชน ซึ่งค่าใช้จ่ายในการรักษาของโรงพยาบาลรัฐจะมีราคาที่ถูกกว่าโรงพยาบาลเอกชน และพร้อมรองรับผู้ป่วยจำนวนมาก จึงทำให้การรอรับบริการค่อนข้างใช้เวลานาน ซึ่งหากใครที่ไม่อยากรอนานอาจเลือกใช้บริการคลินิกพิเศษแทนได้ ซึ่งจะเปิดทำการนอกเวลาราชการ แต่อาจมีราคาค่าบริการที่สูงกว่า

  • โรงพยาบาลเอกชน

เป็นโรงพยาบาลที่ดำเนินการและจัดตั้งโดยเอกชน ซึ่งอาจมีค่าบริการสูง ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลนั้นๆ แต่ก็จะมีความสะดวกตรงที่ผู้ใช้บริการอาจไม่แออัดเท่ากับสถานพยาบาลของทางภาครัฐ เหมาะกับคนที่มีงบพอประมาณและต้องการความรวดเร็ว นอกจากนี้บางโรงพยาบาลอาจมีอุปกรณ์ที่พร้อมกว่า เนื่องจากมีงบประมาณในการลงทุนที่มากกว่า




สิทธิการรักษาพยาบาลมีอะไรบ้าง?

3 สิทธิการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาล
3 สิทธิการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาล
  • 1. สิทธิประกันสังคม

เป็นสิทธิการรักษาพยาบาลในกรณีมีการเจ็บป่วย หรือประสบอุบัติเหตุ พิการ และเสียชีวิต ที่จัดทำโดยสำนักงานประกันสังคม ซึ่งผู้ประกันตนจะสามารถเข้ารับบริการในโรงพยาบาลตามที่ได้ทำการลงทะเบียนไว้ ซึ่งสิทธินี้ไม่ได้จำกัดแค่สำหรับคนทำงาน แต่บางครั้งอาจรวมไปถึงผู้ที่เคยทำงานประจำแต่ยังส่งประกันต่อก็มีสิทธิใช้ประกันสังคม

  • 2. สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า

หรือที่เรียกสั้นๆว่า สิทธิบัตรทอง เป็นสิทธิสำหรับปรัชาชนชาวไทย ที่มีบัตรประชาชนและไม่ได้มีสิทธิประกันสังคม สิทธิราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสวัสดิการอื่นๆของรัฐ โดยคุณสามารถใช้สิทธินี้เพื่อรับการตรวจ รักษา ป้องกันโรค ได้ในสถานพยาบาล โรงพยาบาลใกล้ฉัน หรือคลินิกที่คุณเลือก

  • 3. สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการ

สิทธินี้เป็นสิทธิสำหรับผู้ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานรัฐ โดยสิทธิที่ได้รับจะครอบคลุมตั้งแต่ตัวผู้ถือสิทธิ บิดา มารดา ภรรยา และบุตร โดยสามารถใช้สิทธินี้เพื่อเบิกค่ารักษาในโรงพยาบาลรัฐได้

รักษาฉุกเฉิน 72 ชั่วโมง (UCEP) ที่โรงพยาบาลห้ามปฏิเสธ

สิทธิ UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients) เป็นสิทธิการรักษาในกรณีวิกฤติ ที่สามารถรับการรักษาในโรงพยาบาลใกล้ฉันทุกโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นรัฐหรือเอกชน โดยไม่มีค่าใช้จ่ายจนกว่าผู้ป่วยจะพ้นวิกฤติและสามารถทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้ ในช่วงเวลา 72 ชั่วโมง ซึ่งเป็นสิทธินี้เป็นสิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐ สอบถามเพิ่มเติม สายด่วน สปสช. 1330

อาการของผู้ป่วยที่เข้าข่าย UCEP

อาการของผู้ป่วยที่เข้าข่าย UCEP
อาการของผู้ป่วยที่เข้าข่าย UCEP
  • ผู้ป่วยมีที่หมดสติ ไม่รู้สึกตัว หรือไม่มีการหายใจ
  • ผู้ป่วยที่มีอาการซึมลง ตัวเย็น เหงื่อแตก
  • ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกแบบเฉียบพลัน หรือรุนแรง
  • ผู้ป่วยที่หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง มีการหายใจที่ติดขัด
  • ผู้ป่วยที่มีอาการเสี่ยงเกี่ยวกับการหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบการทำงานสมองที่สามารถส่งผลต่อชีวิต
  • ผู้ป่วยที่มีอาการแขนขาอ่อนแรง ชาครึ่งซีก พูดได้ไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือมีอาการชักอย่างต่อเนื่อง

อาการเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน หากคุณเจ็บป่วย หรือไม่สบายลองมองหาโรงพยาบาลใกล้ฉัน ที่ตอบโจทย์กับคุณ และอย่าลืมใช้สิทธิการรักษาในมือของคุณในการรักษาด้วยล่ะ เดี๋ยวนี้มีสถานพยาบาลที่ตอบโจทย์ต่อกลุ่มคนมากขึ้นเพราะฉะนั้นไม่ต้องกังวลนะคะ




กลับสู่สารบัญ

This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.