การตรวจครรภ์ด้วยชุดตรวจครรภ์ เป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็ว สามารถทำได้ด้วยตัวเองที่บ้าน อย่างไรก็ตาม การตรวจครรภ์ด้วยชุดตรวจครรภ์ก็อาจให้ผลบวกลวงได้ ซึ่งมีปัจจัยที่อาจทำให้เกิดผลบวกลวงในการตรวจครรภ์ได้ คุณผู้หญิงหลายท่านอาจมีความกังวลว่าตรวจครรภ์ 2 ขีด ท้องไหม? หรือตรวจครรภ์ 1 ขีด แต่ประจำเดือนไม่มา แท้ที่จริงแล้ว มันอาจจะเป็นผลบวกลวงได้ ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิด ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้
ตรวจเร็วเกินไป
โดยปกติแล้ว การตรวจด้วยชุดตรวจครรภ์จะมีความแม่นยำสูงสุดหลังจากการปฏิสนธิประมาณ 14 วันขึ้นไป หากคุณแม่มีอาการคล้ายจะตั้งครรภ์ แล้วรีบตรวจเลยอาจจะเกิดผลลบปลอมได้ ไม่ว่าจะวิธีไหน ๆ ก็ตาม ดังนั้นแล้วเพื่อใม่ให้ผลการตรวจครรภ์คลาดเคลื่อน ควรรอ 10-14 หลังจากการมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุด แล้วค่อยตรวจครรภ์
เหตุผลที่ไม่ควรตรวจครรภ์เร็วเกินไป เนื่องจากว่าการปฏิสนธิยังไม่สมบูรณ์ รวมไปถึงระดับฮอร์โมนต่าง ๆ ยังปรับตัวไม่ได้ และไม่คงที่ ทั้งนี้หากประจำเดือนคลาดเคลื่อนไปจากเดิม 7 วันขึ้นไป แนะนำให้ตรวจครรภ์ทันที
ใช้ปัสสาวะที่ไม่เข้มข้น
ปัสสาวะครั้งแรกของวันจะมีฮอร์โมน hCG เข้มข้นที่สุด หากใช้ปัสสาวะในช่วงอื่น ๆ อาจให้ผลเป็นลบปลอมได้ รวมไปถึงการใช้ปัสสาวะที่มีความเจือจางเกินไป ฮอร์โมนต่าง ๆ ในปัสสาวะก็จะลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้ที่ตรวจครรภ์ ไม่สามารถหาค่าที่แท้จริงของฮอร์โมน hCG ได้ ผลการตรวจเลยอาจจะไม่จริงเสมอไป ไม่ว่าจะเป็นลบ หรือบวก
ดังนั้นแล้ว เวลาที่ดีที่สุดในการตรวจครรภ์ ก็คือ “ช่วงเวลาเช้า” ของทุกวัน เพราะว่าปัสสาวะของคุณแม่จะมีความเข้มข้นสูง ฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกายก็อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้การตรวจครรภ์ ก็จะมีความแม่นยำสูงขึ้นไปด้วย
ชุดตรวจครรภ์หมดอายุ
ชุดตรวจครรภ์มีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปี หากใช้ชุดตรวจครรภ์ที่หมดอายุ อาจให้ผลบวกลวงได้
โดยการใช้ที่ตรวจครวจครรภ์ ควรตรวจสอบวันหมดอายุก่อนการใช้งานทุกครั้ง เพราะสารเคมีบางอย่างอาจจะทำให้ได้รับผลการตรวจครรภ์คลาดเคลื่อนไปจากเดิมได้ รวมไปถึงควรเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง อย่าเก็บไว้ที่ชื้นจัด หรือร้อนจัดเด็ดขาด และเมื่อแกะที่บรรจุภัณฑ์ออกมาแล้ว ควรใช้ทันที อ่านวิธี คำแนะนำให้ถี่ถ้วนก่อนใช้
ทั้งนี้การตรวจด้วยชุดตรวจครรภ์ เป็นเพียงการตรวจครรภ์เบื้องต้นเท่านั้น ไม่สามารถรับรองผลที่แม่นยำได้ คำแนะคำที่ดีที่สุด ควรไปพบแพทย์ และตรวจด้วยการอัลตราซาวด์เพื่อยืนยันการตั้งครรภ์แบบ 100%
ปัจจัยภาวะทางการแพทย์บางอย่าง
อาจจะมีภาวะทางแพทย์บางอย่างมาเกี่ยวข้อง รวมไปถึงโรคต่าง ๆ เช่น โรคไต โรคตับ หรือโรคไทรอยด์ เหล่านี้อาจทำให้ระดับฮอร์โมน hCG ในร่างกายสูงขึ้น
รวมไปถึงปัจจัยบางอย่าง เช่น เนื้อรกมีภาวะโซเมอิก เกิดจากเนื้อรกที่มีโครโมโซมผิดปกติไปจากเดิม การมีโรคมะเร็ง หรือมีก้อนเนื้องอกก็เกี่ยวข้องโดยตรง เพราะซลล์มะเร็ง จะมีการแบ่งตัวที่ผิดปกติ ซึ่งจะทำให้ลักษณะโครโมโซมผิดปกติตามไปด้วย และไปรบกวนสารพันธุกรรมของทารกได้ และข้อผิดพลาดอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ก็ทำให้มีผลบวกลวงได้ ไม่ว่าจะเป็น ขั้นตอนการเก็บเลือด การวิเคราะห์ที่ไม่มีความแม่นยำมากพอ ฯลฯ ทั้งนี้ควรเข้าปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพื่อหาวิธีแก้ไขได้ทันควัน
รับประทานยาบางชนิด
การรับประทานยา หรือการรักษาอย่างต่อเนื่อง ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้มีบุตรยาก เช่น ยารักษาภาวะมีบุตรยาก ยารักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ยารักษาโรคมะเร็ง อาจทำให้ระดับฮอร์โมน hCG ในร่างกายสูงขึ้น
เนื่องจากสารเคมีบางอย่าง เมื่อรับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก ๆ และต่อเนื่อง จนเข้าไปสะสมในร่างกาย ทำให้ระบบการสืบพันธุ์เสื่อมลงอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้มีบุตรยาก ไม่ว่าจะเป็นยาในกลุ่มไอบูโพรเฟน และกลุ่มยาบำบัดอาการทางจิตประสาท ถ้ารับประมาณอย่างต่อเนื่อง ก็อาจจะเข้าไปรบกวนวงจรการตกไข่ของผู้หญิงได้
ยังไม่นับยาเสพติดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตกไข่ของผู้หญิงโดยตรง รวมไปถึงวิธีรักษาทางการแพทย์ต่าง ๆ ที่ส่งผลให้มีบุตรยาก เช่น การทำเคมีบำบัด ที่ส่งผลให้รังไข่เสื่อมการทำงานลง
ผลบวกลวงในการตรวจครรภ์อาจเกิดจากปัจจัยหลายประการ หากตรวจแล้วผลเป็นบวก ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจยืนยันการตั้งครรภ์อย่างละเอียด ถึงอย่างนั้นหากคุณรู้ตัวว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ ควรรู้เทคนิคดูแลตัวเองในช่วงการตั้งครรภ์ เพื่อให้ทั้งคุณแม่ และลูกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงทั้งก่อนคลอด และหลังคลอด